svasdssvasds

BNK48: One Take ตีแผ่หัวใจที่ยิ่งใหญ่ แต่ไร้จุดหมายในการเล่าเรื่อง

BNK48: One Take ตีแผ่หัวใจที่ยิ่งใหญ่ แต่ไร้จุดหมายในการเล่าเรื่อง

BNK48: One Take สารคดีเรื่องที่ 2 ของวง BNK48 ที่ลงฉายบน เน็ตฟลิกซ์ เล่าเรื่องผ่านมุมมองของสมาชิกในวงทั้งรุ่นที่ 1 รุ่น 2 และเหล่าแฟนคลับ

ในปี 2018 BNK48 วงไอดอลหญิงชื่อดังของไทย ที่มีผลงานเพลงฮิตติดหูไปทั่วบ้าน ทั่วเมืองอย่าง Koisuru Fortune Cookie คุกกี้เสี่ยงทาย ได้สร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการเพลงไทยและวัฒนธรรมในการฟังเพลงที่แปลกใหม่ ในนิยามของ "idol you can meet" ด้วยความโด่งดังและการให้ความสนใจของสังคมเป็นอย่างมาก

ความยอดนิยมจึงกลายเป็นไอเดียสร้างสารคดีของ BNK48 ชื่อว่า "BNK48: Girls Don't Cry" กำกับโดย นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ เล่าเรื่องราวของสมาชิกรุ่น 1 ทั้ง 26 คน

หนังสารคดี BNK48: Girls Don't Cry เข้าชิงรางวัลสารคดียอดเยี่ยมจากเวทีสุพรรณหงส์ และยังได้เข้าฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ทั่วโลก 

ในปีนี้ BNK48 ได้ปล่อยสารคดีเรื่องที่ 2 ออกมาชื่อว่า One Takeกำกับโดย โดนัท มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล นักแสดงเจ้าบทบาทที่เรารู้จักกันอย่างดี แต่เดิมที่จะเข้าฉายในช่วงเดือนเมษายนนี้ วิกฤตไวรัส โควิด 19 ระบาด ทำให้หนังเปลี้ยนไปเผยแพร่ใน Netflix 

[youtube https://www.youtube.com/watch?v=8mXDwrosgR0]

BNK48: One Take เป็นสารคดีที่นำเสนอแง่มุมต่างๆ ของสมาชิกในวง BNK48 รุ่น 1 รุ่น 2 ผู้บริหารในไทยและญี่ปุ่น รวมถึงเหล่าแฟนคลับ พูดถึงการเดินทางของวง หลังจากที่ผ่านพ้นปรากฏการณ์ดังเป็นพลุแตกของวง จากเพลง คุกกี้เสี่ยงทาย หลังจากนั้น BNK48 เปิดออดิชั่น สมาชิกรุ่นที่ 2 ผ่านแง่มุมต่างๆ มากมาย ทั้งความสุข ความทุกข์ สมหวัง ผิดหวัง แรงกดดันที่มีระหว่างรุ่น 1 และรุ่น 2 โดยใช้เหตุการณ์ การเลือกตั้งเซ็มบัตสึ BNK48 ประจำซิงเกิลที่ 6 เป็นจุดศูนย์กลางของเรื่อง

หลังจากได้รับชม คงต้องบอกว่า รู้สึกผิดหวังอยู่พอสมควรสำหรับเรื่องนี้ เพราะเนื้อเรื่องค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกับสารคดี Girls Don't Cry ซึ่งซ้ำกับแนวทางเดิม พูดง่ายๆ คือ การดู one take ก็เหมือนกับการมาดู Girls Don't Cry ซ้ำอีกรอบ แต่เพิ่มเติมคือ มีสมาชิกรุ่น 2 มาเล่าเรื่องด้วยเท่านั้นเอง

ข้อเสียอีกอย่างคือ การเล่าเรื่องที่ไม่มีเป้าหมาย เล่าโดยที่ไม่แน่ใจว่าผู้กำกับจะนำเสนออะไรกันแน่ รวมทั้งฟุตเทจที่ร้อยเรียงกันซึ่งบางจุดก็ไม่ได้สำคัญกับเรื่อง

ต้องบอกว่า One Take น่าจะเป็นสารคดีที่ได้เปรียบกว่า Girls Don't Cry เพราะเวลาถ่ายทำเยอะกว่า สามารถเก็บฟุตเทจ ได้หลายๆ เหตุการณ์ แต่กลับเจาะจงเฉพาะการซ้อมในเธียเตอร์ ซึ่งไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น

แต่ในส่วนข้อดี คือ ถึงแม้การเล่าเรื่องจะทุลักทุเล แต่สารคดี ยังเลือกกลุ่มคนหลายๆ กลุ่มมาสัมภาษณ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร แฟนคลับ ถึงวง BNK48 ในแง่ทุนนิยม สังคม วัฒนธรรม ทำให้สารคดียังมีทิศทางที่แตกต่างออกไปได้อยู่พอสมควร และประเด็นเกี่ยวข้องกับการมาของสมาชิกรุ่น 2 ที่สร้างผลกระทบด้านลบของสมาชิกรุ่น 1 หลายๆ คนเลยทีเดียว

BNK48: One Take ตีแผ่หัวใจที่ยิ่งใหญ่ แต่ไร้จุดหมายในการเล่าเรื่อง

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ชื่นชอบ BNK48 หรือไม่ ก็อยากให้ลองดูสารคดีเรื่องนี้ ถึงจะนำเสนอไม่ได้น่าประทับใจ แต่หนังยังพูดถึงความเป็นวัยรุ่น ที่มันเหนื่อยกว่าคนอื่นๆ กดดันกว่าคนอื่นๆ เพราะทุกๆ คนในวง คือ คู่แข่งของกันและกัน

 

 

 

 

related