svasdssvasds

“หลวงศรียศ” และ ตระกูล “บุนนาค” ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (1)

“หลวงศรียศ” และ ตระกูล “บุนนาค” ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (1)

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า ปรากฏการณ์ “บุพเพสันนิวาส” และ “อุ่นไอรัก” ได้จุดประกายและปลุกจิตวิญญานของ “ชาตินิยม” ในหัวใจประชาชนคนไทยทั้งชาติให้ระลึกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยในอดีต ไม่ว่าจะเป็นทั้งอาหารการกิน การละเล่น ศิลปะวรรณกรรมต่างๆและการแต่งกายให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งอย่างมีสีสัน

โดยเฉพาะละครบุพเพสันนิวาส… ละครไทยเรตติ้ง 16 บวก (ทั่วประเทศ) จากการประมวลผลของบริษัทวัดเรตติ้งสากล เอซี เนลสัน ซึ่งแปลความได้ว่ามีประชากรจำนวน กว่า 10 ล้านคนดูละครเรื่องนี้พร้อมกันเฉลี่ยในทุกๆนาทีระหว่าง เวลา 2 ทุ่ม 20 นาที ถึง 4 ทุ่ม 50 นาที ทุกวันพุธและพฤหัส

นวนิยายมีชื่อเรื่องนี้แต่งโดย “รอมแพง” หรือ คุณจันทร์ยวีร์ สมปรีดา นักประพันธ์ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

เธอมีผลงานมาแล้วมากกว่า 20 งานเขียน... และส่วนใหญ่เป็นนวนิยายแนวรักตลก โดยมีเอกลักษณ์ทั้งสำนวนภาษา และบทพรรณาโวหารที่บรรยายสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในสมัยนั้นๆ อย่างมีเสน่ห์

ชื่อนามปากกา คือชื่อที่เธอใช้ตามชื่อตัวละคร “รอมแพง” ในเรื่อง เวียงกุมกามของทมยันตี แปลว่า "ผู้เป็นที่รัก" หรือ "หญิงผู้เป็นที่รัก"

“หลวงศรียศ” และ ตระกูล “บุนนาค” ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (1)

เนื้อเรื่องของ “บุพเพสันนิวาส” ย้อนอดีตไปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือราวปี พ.ศ.2125 และได้รวบรวมตัวละครมากมายที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ อาทิเช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ) เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) และอื่นๆอีกมากมาย มาร้อยเป็นเรื่องราว

หนึ่งในนั้นคือ “หลวงศรียศ” หรือ “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ข้าหลวงไทยเชื้อสายเปอร์เซีย มีบิดาคือ พระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) มารดาชื่อ ท่านชี เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) และมีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ซึ่งคือต้นตระกูล “บุนนาค” ที่เดินทางมาจากอิหร่าน

“หลวงศรียศ” และ ตระกูล “บุนนาค” ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (1)

จากข้อมูลประวัติศาสตร์ ช่วงที่ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่นั้น เป็นช่วงที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เรืองอำนาจและมีความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในราชอาณาจักรมาก จึงได้รับภารกิจลงไปเจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมะละกาที่เมืองปัตตาเวีย

ด้วยความสนใจในประวัติศาสตร์ ด้วยความภาคภูมิใจในวงศ์ตระกูล ด้วยแรงกระตุ้นจากปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสและด้วยความสงสัยแต่เยาว์วัยว่า “เราคือบุนนาค สายไหนหนอ?” … “ต้นตระกูลเราเป็นใคร?” ... “ทำไมจึงมีคนมากมายนามสกุลเหมือนเรา?” ...จึงทำให้ผมศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจังเพื่อลำดับสาแหรกของตนเองให้ได้ซึ่งผมจะลำดับให้ผู้อ่านผ่านบทประพันธ์หลายเรื่องตั้งแต่ บุพเพสันนิวาส สู่ พันท้ายนรสิงห์ สู่ ศรีอโยธยา ยาวสู่ทวิภพ ในตอนต่อไป…

คอลัมน์ ฉาย บุนนาค หน้า 18 ฉบับ 3352 ระหว่างวันที่ 29-31 มี.ค. 2561

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : ฐานเศษรฐกิจ

related