svasdssvasds

ย้อนรอยมหากาพย์ คดี GT200 "ไม้ล้างป่าช้า"

ย้อนรอยมหากาพย์ คดี GT200 "ไม้ล้างป่าช้า"

เป็นเวลาเกือบ 10 ปีที่เครืี่องตรวจหาวัตถุระเบิด GT200 ของไทย ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าใครต้องรับผิดชอบกับงบประมาณที่ต้องสูญเสียไป ซึ่งเครื่อง GT200 เครื่องนี้ถูกนำเข้ามาในไทยในช่วงที่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เริ่มเกิดความไม่สงบและได้รับความนิยมไปในหลายหน่วยงาน จนมีการสั่งซื้อมากถึง 1,398 เครื่อง ป็นเงินกว่า 1,134 ล้านบาท

เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด หรือที่รู้จักกันในชื่อ GT200 เพราะอุปกรณ์ตัวนี้ ถูกหน่วยงานราชการกว่า 15 หน่วยงาน การจัดซื้อจากด้วยวิธีพิเศษนำเข้ามาใช้ในราชการไทย เมื่อช่วงปี 2550 - 2552 ผ่านบริษัทโกลบอลฯ โดยตรง หรือผ่านบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ที่เป็นนายหน้าให้กับบริษัทโกลบอลฯ ในประเทศไทย พร้อมกับเครื่อง Alpha 6 รวมกันถึง 1,398 เครื่องเป็นเงินกว่า 1,134 ล้านบาท โดยเจ้าเครื่องนี้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถตรวจพบอาวุธ กระสุน และวัตถุระเบิดหลายครั้ง จนเป็นที่เชื่อมั่นของผู้ใช้งาน

กระทั่งปลายปี 2552 อุปกรณ์ดังกล่าวถูกสังคมตั้งคำถามจนถูกนำไปตั้งเป็นกระทู้ในห้องกอหว้าของเว็บไซต์พันทิป ขณะที่สื่อมวลชนเองก็เริ่มสงสัย ในประสิทธิภาพ เพราะเครื่อง GT200 มีการทำงานผิดพลาดจนทำให้เกิดระเบิดข้างโรงแรมเมอร์ลิน จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 และตลาดสด จ.ยะลา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2552 นำไปสู่การเรียกร้องให้พิสูจน์การทำงาน GT200 “ด้วยวิทยาศาสตร์”

ย้อนรอยมหากาพย์ คดี GT200 "ไม้ล้างป่าช้า"

ซึ่งการเดินหน้าหาความจริง ก็เดินควบคู่กับไปกับ นักวิทยาศาสตร์อย่าง “นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์” อาจารย์คณะวิทยาศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาแฉประสิทธิภาพการใช้งาน พร้อมเปรียบเทียบว่า อุปกรณ์ดังกล่าไม่ต่างอะไรกับ "ไม้ล้างป่าช้า" เพราะไม่มีหลักการวิทยาศาสตร์อะไรรองรับในการทำงาน ทำให้รัฐบาลในขณะนั้นสั่งให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานของ GT200

ย้อนรอยมหากาพย์ คดี GT200 "ไม้ล้างป่าช้า"

ขณะที่กองทัพ ซึ่งเป็นหน่วยงานความมั่นคงที่สั่งซื้ออุปกรณ์นี้ออกมาใช้ ก็ยังออกมายืนยันเสียหนักแน่นว่าเครื่องมือดังกล่าวใช้งานได้จริง จนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ออกมาแถลงว่า ผลการทดสอบ GT200 จำนวน 20 ครั้ง ปรากฏว่าหาวัตถุระเบิดได้ถูกต้องเพียง 4 ครั้ง ซึ่งางสถิติไม่ต่างอะไรจากการ “เดาสุ่ม” และสั่งให้ทุกหน่วยงานยกเลิกการจัดซื้อโดยทันที

แต่ในฐานะ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ขณะนั้น ทำให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ยังยืนกรานเชื่อมั่นในเครื่อง GT200 โดยอ้าง “ประสบการณ์” จากการใช้งานของเจ้าหน้าที่ แต่สุดท้ายก็ต้องกลับลำ ยอมรับในความไร้ประสิทธิภาพ พร้อมออกปากเตือนกำลังพล จนส่งผลให้เครื่อง GT200 ถูกปลดประจำการจากกองทัพ และหันมาใช้ “เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์” และ “สุนัขทหาร” แทน

ย้อนรอยมหากาพย์ คดี GT200 "ไม้ล้างป่าช้า"

ทำให้ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่ได้จัดซื้อ GT200 อาทิ ทหาร ตำรวจ ศุลกากร ไปจนถึงสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ร้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เข้ามาตรวจสอบเอาผิดกับผู้จัดซื้อ GT200 รวมถึง Alpha 6 รวม 12 คดี ตั้งแต่ปี 2555

ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้รับคดีนี้ไว้เป็นคดีพิเศษ โดยแบ่งคดีเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือการทุจริตการจัดซื้อ และกลุ่มที่สอง คือเอาผิดกับเอกชนฐานฉ้อโกงหรือลวงขาย ซึ่งคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตการจัดซื้อทั้งหมด ดีเอสไอได้ส่งไปให้กับ ป.ป.ช. ตั้งแต่ปลายปี 2558 แต่ก็ยังไม่มีมติใดออกมา

กระทั้งวันที่ 19 ตุลาคม 2560 อัยการได้ส่งฟ้องต่อศาลแขวงดอนเมือง และในวันนี้ (28 มี.ค.) ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง

related