svasdssvasds

“เปิดแผนรักษาโควิด” สธ.จัด 3 กลุ่ม รักษาป่วย “เล็กน้อย-ปานกลาง-รุนแรง”(มีคลิป)

กระทรวงสาธารณสุข จัด 3 กลุ่ม “อาการเล็กน้อย-ปานกลาง-รุนแรง” รักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ด้านอธิบดีกรมการแพทย์ระบุ โควิด19 เป็นโรคอุบัติใหม่

วันนี้(24 มี.ค.63)นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงแนวทางการรักษา ผู้ป่วยโควิด-19ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับอาการคือ อาการ น้อย อาการปานกลาง และ อาการรุนแรง

 

นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า ในระดับผู้ป่วยที่มีอาการน้อย จะมีไข้อยู่ 2-3 วัน เอกซเรย์ปอดแล้ว ปกติ แพทย์จะทำการรักษาตามอาการเป็นหลัก ในทุกรายที่ป่วยติดเชื้อ จะต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ดูอาการอย่างน้อย 5-7 วัน หากอาการดีขึ้น จะมีการพิจารณาย้ายผู้ป่วย ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานที่พักที่รัฐจัดเตรียมไว้ให้ และเมื่อพักรักษาตัวครบ14วัน แพทย์จะอนุญาติให้กลับบ้าน

 

ส่วนคนไข้กรณีที่มีอาการปานกลาง หรือ มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย เช่น มีเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคปอด คนไข้กลุ่มนี้จะถูกรักษาโดยการให้ยา แบ่งเป็น สูตรยาต้านไวรัสเอดส์2ชนิด ร่วม และยาควอโรคริน เป็นหลัก โดยจะให้นอนโรงพยาบาลจนครบ14วัน คนไข้ดีขึ้น จนปอด ปกติ เมื่อผลแล็บเป็นลบ ก็จะอนุญาตให้กลับบ้าน

 

ในส่วนของคนไข้กรณีอาการรุนแรง แพทย์จะยังคงให้ยาต้านไวรัสเอดส์ ยาฟาวิลิราเวียร์ ร่วมกับ ยาชนิดอื่น พร้อมใช้เครื่องช่วยหายใจ ร่วมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการพยุงอาการ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลจนกว่าอาการจะดีขึ้น ไม่มีการเคลื่อนย้ายไปที่อื่น

 

ทั้งนี้ไวรัสโควิด-19 นับเป็นโรคอุบัติใหม่ ที่พึ่งเกิดขึ้น 3เดือน ยังไม่มีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน สูตรยาที่คิดค้นขึ้นมามาจากข้อมูลผลการรักษาในหมู่คนมาก

“ขอทำความเข้าใจว่า การรักษา ยังคงเป็นรายงานศึกษาวิจัย ที่กรมการแพทย์ออกแนวทางการรักษา ไม่ได้ออกเอง แต่ได้ทำร่วมกับ หน่วยงานทีเกี่ยวข้อง เช่น ราชวิทยาลัย อายุรแพทย์ และ สมาคอารุเวชช์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย”นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าว

 

ในวันนี้(24 มี.ค.63)เริ่มมีการเริ่มย้ายผู้ป่วยอาการน้อย กลุ่มแรก ไปยังสถานที่พักที่เตรียมไว้ให้ นอกเหนือโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ ปอดเริ่มดี ซึ่งระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ที่สถานที่พัก จะมีบุคลกรทางการแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย แพทย์ จะไม่ค่อยเข้ามาดูแลบ่อย เพื่อลดการสัมผัสผู้ป่วย และลดการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยแพทย์จะไปดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนักกว่า

 

ขณะที่ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว เช่น เบาหวาน ความดัน โรคอ้วน โรคหัวใจ จะยิ่งทำให้ ความรุนแรงของโรคโควิด-19 รุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงขอเน้นย้ำ ให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตัวเอง 3 อ. คือ ออกกำลังกาย อาหารสุขภาพ อารมณ์ ร่วมกับ กินร้อน ช้อนกลางประจำตัว หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย.

related