svasdssvasds

ฟังชัด ๆ จากรองปลัดพม.ไขข้อสงสัยกลุ่มเปราะบางคือใคร ทุกคำถาม มีคำตอบ(มีคลิป)

รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ไขข้อสงสัย ตอบทุกคำถาม ใครจัดอยู่ในกลุ่มเปราะบางของสังคม ได้รับผลกระทบอย่างไรจากวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด 19 และรัฐบาลต้องช่วยเหลืออย่างไรถึงจะแก้ไขความลำบากได้

นางพัชรี อารยะกุล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้กล่าวถึงกลุ่มเปราะบางในสังคมไทยว่า โดยปกติแล้วกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ยากลำบากเดือดร้อนอยู่แล้วแทบจะดูแลตัวเองไม่ได้ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคนในครอบครัวซึ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลจากลูกหลานบุตรหลานหรือผู้พิการก็เช่นเดียวกัน

เมื่อเกิดภาวะโควิดเกิดขึ้นตัวเขาเหล่านี้อาจจะไม่ได้กระทบโดยตรงซึ่งอาจจะมีกระทบโดยตรงบ้างเช่นผู้สูงอายุที่ยังทำงานอยู่หรือผู้พิการที่ได้รับจ้างให้เข้าทำงาน แต่สำหรับคนที่ต้องอาศัยบุตรหลานในการดูแลเมื่อบุตรหลานหรือลูกตกงานรายได้ที่เคยส่งให้ผู้สูงอายุเคยส่งให้กับผู้พิการ

ก็จะประสบปัญหาทันที

ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะได้รายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุเบี้ยยังชีพคนพิการหรือเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ซึ่งเบี้ยเหล่านั้นไม่ได้จำนวนมาก ไม่สามารถใช้ยังชีพเป็นหลักได้ อาจใช้เป็นแค่เงินส่วนหนึ่งที่พอจะประทังชีพได้1-2อาทิตย์

นางพัชรีกล่าวต่อว่าสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ทางพม.ดูแล ลำดับแรกคือผู้สูงอายุซึ่งอายุ60ปีขึ้นไปกลุ่มที่สองคือผู้พิการทุกประเภท กลุ่มเด็กเด็กแรกเกิดจนถึง6ขวบซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังดูแลตัวเองไม่ได้กลุ่มคนเรร่อนซึ่งจะเห็นว่าบางคนที่เรร่อนมีปัญหาด้านสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ กลุ่มขอทานเพราะเขาอาจตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ชาวเขาชนเผ่า ชาวเล

ในที่นี่อาจรวมถึงกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศหรืออาจจะรวมถึงผู้ขายบริการทางเพศเพราะคนส่วนมากอาจจะมองไม่เห็นว่าพวกเขามีความยากลำบากในการดำรงชีวิตอยู่อย่างไรกลุ่มคนเหล่านี้จึงอาจจะตกหล่นแต่พวกเขาก็เป็นกลุ่มที่ตกงานในภาวะแบบนี้

ฉะนั้นถึงกลุ่มเปราะบางบางคนจะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐแล้วทั้งจะเป็นการช่วยเหลือ5พันบาทเงินของทางเกษตรภาคการเกษตรอีก5พันหรือแม้แต่คนที่ทำงานประกันสังคมแต่คนกลุ่มนี้การดูแลตัวเองยากลำบากมากๆ

“คุณเดินได้คุณสามารถที่จะไปไหนก็ได้แต่คนพิการกว่าจะเดินสักก้าวหนึ่งเขาก็เดินยากลำบากมากหรือผู้สูงอายุลองมาเป็นผู้สูงอายุดูเราเป็นคนปกติเราเดินตัวตรงผู้สูงอายุจะเดินหลังค่อมผู้สูงอายุเข่าอะไรก็เป็นไปไม่ได้เพราะฉะนั้นคนกลุ่มนี้เป็นคนที่ยากลำบากจริงๆเพราะฉะนั้นอยากให้ทุกคนมองคนกลุ่มนี้ว่าเขาขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการของรัฐว่าอาจจะเข้าถึงยากไปถึงยาก”นางพัชรีกล่าว

รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กล่าวทิ้งท้ายว่า ถ้าหากมีอะไรที่จะช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ได้อยากให้มองว่าเขาเป็นกลุ่มที่ยากลำบากกว่าคนปกติเพราะฉะนั้นการช่วยเหลือควรจะมากกว่ามากวว่าปกติที่ช่วยเหลือในกลุ่มทั่วๆไปเพราะอย่างน้อยที่สุดคนเหล่านี้อาจจะเป็นพ่อเป็นแม่ของคุณหรืออาจจะเป็นญาติของคุณถ้ารัฐบาลจะช่วยเหลือก็ขอให้มองคนกลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มที่ยากก็ขอให้ช่วยมากกว่ากลุ่มคนปกติ

related