svasdssvasds

ไฟเขียว! ร่างพ.ร.บ.สกัดโอนกำไรบริษัทแม่-ลูก

ไฟเขียว! ร่างพ.ร.บ.สกัดโอนกำไรบริษัทแม่-ลูก

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ไฟเขียว! ร่างพ.ร.บ.สกัดโอนกำไรบริษัทแม่-ลูก ---4 ม.ค.61 --- เมื่อวานนี้ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นครั้งแรกของปี 2561 ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ และพ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ได้ร่วมแถลงว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer pricing) ของกระทรวงการคลัง  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้เสนอคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปสนช.) พิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ต่อไป ไฟเขียว! ร่างพ.ร.บ.สกัดโอนกำไรบริษัทแม่-ลูก โดยร่างพ.ร.บ.นี้ มีสาระสำคัญคือ 1. กำหนดโทษปรับในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน มิได้จัดทำหรือยื่นรายงาน เอกสารหรือหลักฐาน ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือยื่นรายงาน หรือเอกสารหรือหลักฐาน โดยแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุอันสมควร 2. กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ให้ได้จำนวนรายได้ที่พึงได้รับและรายจ่ายที่พึงได้จ่าย เสมือนว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้รับและได้จ่ายตามนั้น เพื่อใช้คำนวณกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี หรือเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี 3. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน จัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกำหนด และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นรายการภายในกำหนดเวลา 4. กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดี อาจส่งหนังสือแจ้งความแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ให้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างกันตามที่อธิบดีประกาศกำหนดภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายงานข้อมูล 5. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกินจำนวนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบล้านบาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรการระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี 6. กำหนดให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชี เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
related