svasdssvasds

ดีแทค-เอไอเอส แบ่งเค้ก 2 ใบอนุญาตคลื่น1800 จบที่ 25,022 ล้าน

ดีแทค-เอไอเอส แบ่งเค้ก 2 ใบอนุญาตคลื่น1800 จบที่ 25,022 ล้าน

กสทช. จัดประมูลคลื่นความถี่1800เมกะเฮิรต์ ซึ่งมีผู้ประกอบการ 2 รายเข้าร่วมประมูล ล่าสุดการประมูลได้เสร็จสุดลงแล้ว

ดีแทค-เอไอเอส แบ่งเค้ก 2 ใบอนุญาตคลื่น1800

วันนี้ (19 ส.ค.61) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดประมูลคลื่น 1800 MHz ณ สำนักงาน กสทช. ซอยพหลโยธิน 8 กรุงเทพฯ  ซึ่งการประมูลครั้งนี้มี 2 ค่ายโทรศัพท์ คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค หรือ AWN และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต หรือ DTN เข้าร่วมประมูล โดยการประมูลเริ่มตั้งแต่เวลา 10 .00 น. แบ่งระยะเวลา คือ 15 นาที สำหรับการประมูล และอีก 5 นาที สำหรับการประมวลผลและรายงานผล ซึ่งการประมูลครั้งนี้ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 1 ชั่วโมง 15 นาที

ช่วงการประมูลในรอบแรกทั้ง2 ค่าย ได้ใช้สิทธิ์เสนอราคาเริ่มต้นที่ 12,486 ล้านบาท จากนั้นในรอบที่ 2 ทั้ง 2 ค่าย ได้เสนอราคาเพิ่มขึ้นรอบละ 25 ล้านบาทตามราคาประมูลที่ กสทช.กำหนด ส่วนในรอบที่ 3 และ 4 ไม่มีการเสนอราคาเพิ่ม ทำให้ราคาจบลงที่ 12,511 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต ส่งผลให้ราคาประมูล ทั้ง 2 ใบอนุญาตอยู่ที่ 25,022 ล้านบาท ไม่รวมภาษี

สำหรับบรรยากาศในช่วงเช้าที่ผ่านมาคณะผู้บริหาร จาก บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หรือ AWN และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต หรือ DTN เดินทางมาด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม เดินเข้าห้องรับรอง เพื่อร่วมพิธีการจับลูกบอลเลือกห้องประมูล เพื่อ​ประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz

ในช่วงเวลาประมาณ 10 .00 น. พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการ กสทช. ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี พร้อมกล่าวว่า หน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เพื่อดูแลคุณภาพและบริการของผู้บริโภค ซึ่งหากไม่มีการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ให้มีความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ ก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนประเทศไปสู่ยุค Thailand 4.0 ได้ สำหรับการประมูลในครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของประเทศไทย ที่มีการจัดการประมูลก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการและการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลที่ผลักดันให้ประเทศไทยมีโครงข่าย 5 G ภายในปี 2563 จะต้องมีการวางโครงสร้าง 3 ด้านอย่างเป็นรูปธรรม โดยต้องมีคลื่นความถี่ หรือ SPECTUM ให้เพียงพอ ปัจจุบันไทยมีแค่ 420 เมกะเฮิรตช์ ถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก มีโครงสร้างที่สามารถรองรับข้อมูลได้จำนวนมหาศาล

ซึ่งผู้ประกอบการโทรคมนาคม ต้องวางโครงข่ายร่วมกันมากขึ้น โดยปัจจุบัน มีผู้ประกอบการทำเพียงแค่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 30 เท่านั้น ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น และด้านสุดท้าย ไทยต้องมีระบบโครงข่ายแบบชาญฉลาด รองรับ 5 G ซึ่งปัจจุบันไทย มีผู้ใช้งานระบบ 3 G และ 4 G รวม 120 ล้านเลขหมาย มีฐานข้อมูลเพิ่มขึ้น จากไตรมาส 4 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 11%และในไตรมาสแรกปี 2561 เพิ่มขึ้น 63%

โดย กสทช. ตั้งเป้าในปี 2563 ว่าไทยจะเริ่มใช้ระบบ 5G ได้ ซึ่งหากประเทศไทยล่าช้าจะทำให้ญเสียเม็ดเงินด้านเศรษฐกิจ เป็นจำนวนหลายเเสนล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ถึง 3 ล้านล้านบาท ในปี 2573 หรือคิดเป็น 80% ของงบประมาณแผ่นดิน

related