svasdssvasds

นายกฯ สั่งเร่งแก้คุณภาพน้ำปลาส่งออก

นายกฯ สั่งเร่งแก้คุณภาพน้ำปลาส่งออก

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยัน สหรัฐไม่ได้ห้ามนำเข้าน้ำปลาไทยทั้งหมด ตามที่เป็นข่าว เรื่องนี้ได้สอบถาม นายสินธิรัตน์ สนธิจิรวงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในที่ประชุม ครม. มีเพียง 2 บริษัท ซึ่งมีปัญหาขั้นตอนการผลิต และมีการหารือเรื่องนี้ มา 5 ปีแล้ว นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ เตือนไปหลายครั้งแล้ว ก็ต้องไปปรับแก้กระบวนผลิตให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่ระหว่างการประสานงานเพื่อแก้ปัญหา

นายกฯ สั่งเร่งแก้คุณภาพน้ำปลาส่งออก

 นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้เปิดเผยว่า USFDA ได้ทำการสุ่มตรวจสินค้าเกษตรจากทั่วโลกตามปกติรวมถึงสินค้าน้ำปลาจากประเทศไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า น้ำปลาไทยถูกจัดอยู่ในบัญชี Import alert #16-120 เพียง 4 บริษัทเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ทาง USFDA เสร็จสิ้นและสามารถนำเข้าไปยังสหรัฐฯได้ตามปกติแล้ว

นายกฯ สั่งเร่งแก้คุณภาพน้ำปลาส่งออก

กรณีที่เป็นประเด็น มีเพียงบริษัทเดียว ที่ถูกกักกัน แต่ไม่ได้ถูกห้ามนำเข้า โดยบริษัทได้ส่งข้อมูลชี้เเจงเพิ่มเติมให้ทาง USFDA ประเด็นที่ต้องชี้แจงในครั้งนี้คือเรื่องกระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ คาดว่าจะใช้เวลาในการชี้แจงข้อมูลแล้วเสร็จภายใน 3 เดือนหลังจากนี้ ประเทศไทยผลิตและส่งออกน้ำปลาไปทั่วโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกต่อปีประมาณ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2560 ตลาดหลักในการส่งออกของไทยยังคงเป็นสหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออกระหว่างมกราคม - กันยายน 2561 มากถึง 8.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกมากถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกจากทั่วโลก

นายกฯ สั่งเร่งแก้คุณภาพน้ำปลาส่งออก

 นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า อย.กำกับดูแลการผลิตน้ำปลาที่ผลิตในประเทศไทย ทั้งก่อนจำหน่ายและหลังจำหน่ายสู่ท้องตลาดอย่างเข้มงวด เมื่อปี 2560 อย. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม โบทูลินัม และสารพิษโบทูลินัม ในตัวอย่างน้ำปลา 48 ตัวอย่าง ซึ่งไม่พบทั้งสารทั้งสองชนิด จึงขอให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำปลาที่ผลิตจากผู้ผลิตในประเทศ

 

 

related