svasdssvasds

รองผู้ว่าฯ ลงตรวจโรงงานน้ำปลาตราปลาหมึก

รองผู้ว่าฯ ลงตรวจโรงงานน้ำปลาตราปลาหมึก

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

จากกรณีที่สหรัฐอเมริกาจัดให้บริษัท โรงงานน้ำปลาไทย (ตราปลาหมึก) จํากัด เข้าไปอยู่ในบัญชี Import Alert และกักสินค้าจากการนําเข้าชั่วคราว โดยระบุว่า กระบวนการผลิตน้ำปลาอาจจะก่อให้เกิดสาร Histamine เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อาหาร และ สารพิษจากเชื้อแบคทีเรีย - คลอสทริเดียม โบทูลินัม ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

รองผู้ว่าฯ ลงตรวจโรงงานน้ำปลาตราปลาหมึก

ล่าสุด นาย ประจินต์ ธารศิริสิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วย พันเอกจิระโรจน์ กองวารี รองผู้อำนวยการกอ.รมน.จังหัดสมุทรสงคราม (ฝ่ายทหาร) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานน้ำปลาตราปลาหมึก ที่ ต.บางจะเกร็ง อ.เมืองจ.สมุทรสงคราม ซึ่งทางผู้ผลิตได้เปิดวีดิทัศน์ขั้นตอนการผลิตต่างๆ ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะได้ชม จากนั้นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้พาเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าชมขั้นตอนการผลิตโดยไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้าบันทึกภาพ

รองผู้ว่าฯ ลงตรวจโรงงานน้ำปลาตราปลาหมึก

 ด้านตัวแทนจากโรงงานเปิดเผยว่า สำหรับประเด็นที่สหรัฐต้องการคือ การให้พิสูจน์สารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ เนื่องจากมีการใช้ปลาขนาดเล็กทำให้ไม่สามารถชำแหละไส้ปลาออกได้ ซึ่งกลัวว่าสารจะตกค้างอยู่ในลำไส้และต้องการให้ต้มก่อน ซึ่งทางโรงงานเองได้ใช้วิธีทำการผ่านการพาสเจอร์ไรส์ที่อุณภูมิ 85 องศาเซลเซียส ถือว่าเพิ่มมาจากเมื่อก่อนที่ใช้เพียง 70 องศาเซลเซียส คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ขณะเดียวกันได้ส่งบุคลากรไปศึกษาจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน เพื่อมาปรับปรุงโรงงานเช่นกัน

รองผู้ว่าฯ ลงตรวจโรงงานน้ำปลาตราปลาหมึก

 ด้าน นายประจินต์ ธารศิริสิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า สหรัฐฯไม่ได้ห้ามนำน้ำปลาจากประเทศไทยเข้าประเทศทั้งหมด เพียงแต่กักกันแค่ล็อตเดียว เพื่อรอเอกสารยืนยันความปลอดภัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนด โดยประเด็นแรกที่ FDA สุ่มตรวจว่า น้ำปลามีสารทำให้เกิดมะเร็งต้องมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ หรือต้องผ่านกระบวนการต้ม ซึ่งเรื่องนี้ผู้ผลิตได้ทำการปรับปรุงโดยใช้วิธีพาสเจอร์ไรซ์น้ำปลาด้วยอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส ตามที่ FDA ต้องการแล้ว

รองผู้ว่าฯ ลงตรวจโรงงานน้ำปลาตราปลาหมึก

 ส่วนประเด็นที่ 2 ที่ส่วนใหญ่ใช้ปลากะตักซึ่งมีขนาดเล็ก แต่ก็มีบางส่วนมีขนาดเกิน 5 นิ้ว ซึ่งมีไส้ที่มีเชื้อโรคคลอสทริเดียม โบทูลินัม กรณีนี้ทางโรงงานได้ปรับปรุงให้มีปลากระตัก 118 ตัว จะมีปลาตัวใหญ่ไม่เกิน 3 ตัวตามมาตรฐานของ FDA ซึ่งทางโรงงานได้จัดทำเอกสารชี้แจงเสร็จเรียบร้อยแล้ว รอกระบวนการแปลส่งไปยัง FDA สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้จังหวัดไม่ได้เข้ามาจับผิด เพียงแต่นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อให้บริษัทสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ต่างชาติรับได้ เพื่อร่วมมือกันส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศให้เข้มแข็งต่อไป

related