svasdssvasds

เงินมาจากไหน?? 8.2 หมื่นล้าน ช่วย 4 มาตรการรัฐแจกเงิน

เงินมาจากไหน?? 8.2 หมื่นล้าน ช่วย 4 มาตรการรัฐแจกเงิน

4 มาตรการช่วยเหลือล่าสุด ใช้เงินจาก “กองทุนประชารัฐ” (เป็นเงินจากงบประมาณแผ่นดินเป็นรายปี 3,600 พันล้านบาท/เดือน) และเติมเข้าไปเพิ่มตามนโยบายของรัฐ อีก 8.2 หมื่นล้าน

  1. กลุ่มข้าราชการบำนาญ  25,259 ล้านบาท

      - เป็นการเพิ่มเงินบำนาญ 559 ล้านบาท จำนวน 52,700 คน

      -  เพิ่มเงินบำเหน็จดำรงชีพ 24,700 ล้านบาท ให้ 155, 094 คน

     2. กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 4,420 ล้านบาท

   -  ช่วยค่าเดินทางไปโรงพยาบาล 3,500 ล้านบาท จำนวน 3.5 ล้านคน คนอายุ 65 ปี ให้ 1 พันบาท ครั้งเดียว

  -  ช่วยค่าเช่าบ้าน 920 ล้านบาท จำนวน 2.3 แสนคน (ผู้สูงอายุที่ไม่มีบ้านอยู่อาศัยเป็นของตัวเอง มีมาตรการช่วยบรรเทา ให้ค่าเช่าบ้าน 400 บาทให้คนอายุ 60 ปีขึ้นไปมี 2.2 แสนคน ให้ 10 เดือน ธ..61-..62

   3. กลุ่มผู้ถือบัตรคนจน 34,250 ล้านบาท

    - ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ 2.7 หมื่นล้านบาท จำนวน 8.2 ล้านครัวเรือน (ให้ 10 เดือน ธ..61-..62)       

     -  ช่วยค่าใช้จ่ายปลายปี  7,250 ล้านบาท จำนวน 14.5 ล้านครัวเรือน (คนละ 500 บาทครั้งเดียว + เก็บตกคนถือบัตรเข้ามาใหม่ 3.1 ล้านคน ได้รับส่วนนี้เช่นกัน)

   4. กลุ่มชาวสวนยางพารา 18,000 ล้านบาท

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อธิบายว่า  ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน หากเป็นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ใช้งบฯกองทุนประชารัฐ (ที่ได้จากงบประมาณแผ่นดิน) ส่วนที่ช่วยผู้สูงอายุและข้าราชการเกษียณอายุเป็นงบประมาณแผ่นดินเป็นการจัดสรรของกรมบัญชีกลาง

ผู้อำนวยการ สศค. เสริมว่า อย่างไรก็ตาม ส่วนผู้สูงอายุ มีการใช้เงินบำเหน็จดำรงชีพ จากหลักเกณฑ์เดิม ถ้าขรก.เสียชีวิตก่อน ทายาทจะเป็นผู้ได้รับเงินตกชีพ 30 เท่าของเงินบำนาญ เมื่อย้อนกลับมามองกันว่าคนเกษียณที่มีอายุยืนยาว ไม่มีสิทธิใช้เงินก้อนนี้ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ นำออกมาครึ่งหนึ่ง 15 เท่าออกมาให้คนเกษียณเป็น 2 ช่วง อายุ 60 รับไปครึ่งหนึ่ง ไม่เกิน 2 แสนบาท อายุ 65 รับไปอีกส่วน ไม่เกิน 2 แสนบาท รวมทั้งหมดไปเกิน 4 แสน คือ 15 เท่าของเงินบำนาญที่ได้รับรายเดือน เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และมีการขยายหลักเกณฑ์อีกให้ 15 เท่าที่เหลือก็ยังอยู่ ขยับลิมิตขึ้นไปเป็น 5 แสน คนที่มีเงินบำนาญค่อนข้างสูง จะมีลิมิตที่ 5 แสน แสนสุดท้ายไปเบิกตอนอายุ 70 ปี

ทั้งนี้ บำเหน็จดำรงชีพ ขรก.บำนาญ ซึ่งแตกมาจากบำเหน็จตกทอด แบ่งมาใช้ก่อน รับเงินช่วงอายุ 60 ปี 65 ปี และมาเพิ่มมาอายุ 70 ปีเท่ากับ1 แสนบาท ไปช่วยขรก.บำนาญที่ไม่ได้เงินเต็ม 1 หมื่นให้ได้เต็มจำนวน 10,000 บาท รวมแล้ว 25,529 ล้านบาท เป็นงบฯแผ่นดิน เป็นส่วนของกรมบัญชีกลางดูแล จัดสรร

นายลวรณ ชี้แจงถึงกองทุนประชารัฐ ที่ช่วยคนจน ผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นการจัดสรรปีงบประมาณมาใส่ เงินใช้ทุกเดือน ประมาณ 3.6 พันล้าน/เดือน (ประมาณ 4หมื่นล้าน/ปีเป็นเงินโยกไปไว้ในบัตร เมื่อมีมาตรการใหม่ก็เติมเงิน 38,000 ล้าน 4 มาตรการนี้เข้าไป

ส่วนหนึ่งไม่ได้ให้ถาวร คนถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต้องมาพัฒนาอาชีพให้สามารถสร้างรายได้ เมื่อพ้นความยากจน หลุดการใช้บัตรคนจน หลังพัฒนาคุณภาพชีวิต หลุดออกไป เพราะการใช้เงินงบประมาณ มีจำกัด และต้องทำให้มาตรการมีความคุ้มค่า ส่วนผู้สูงอายุ 8 ล้านคน เป็นผู้มีรายได้น้อย 4.6 ล้านคน อีก 3.4 ล้านคนแก่ตามอายุ จากนี้ต้องมีการทบทวนหลักเกณฑ์ดูแลดีๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ยอมสละสิทธิ์ ให้รัฐนำงบฯไปใช้ในส่วนอื่น

related