svasdssvasds

ครม.ไฟเขียวดาวเทียมต่างชาติให้บริการในไทย มีสิทธิดูแลสื่อและเนื้อหา

ครม.ไฟเขียวดาวเทียมต่างชาติให้บริการในไทย มีสิทธิดูแลสื่อและเนื้อหา

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แนวทางดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการดาวเทียมวงโคจรประจำที่ (Geostationary – Satellite Orbit: GSO) ตามมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายการพิจารณาอนุญาตให้ดาวเทียมต่างชาติให้บริการในประเทศ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ

 

โดยมีการอนุญาตให้ นโยบายการพิจารณาอนุญาตให้ดาวเทียมต่างชาติให้บริการในประเทศ ทั้งนี้มีเนื้อหาที่สำคัญคือ ประเทศไทยมีสิทธิกำกับดูแลเรื่องสื่อและเนื้อหา (Reversed Rule of Origin) ผู้รับใบอนุญาตต้องระงับการเผยแพร่เนื้อหาเมื่อได้รับแจ้งว่าเนื้อหาขัดกับกฎหมาย (Notice and Take down) ดาวเทียมต่างชาติต้องเคารพและปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องในการกำหนดความรับผิดของตัวกลาง (Intermediary Liability) และ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการให้สิทธิดาวเทียมต่างชาติให้บริการในประเทศไทย (Landing Rights Fee) ในอัตราที่ไม่ด้อยไปกว่าค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิข่ายงานดาวเทียมในนามประเทศไทย รวมถึงค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามกฎหมาย ทั้งนี้ จะได้มีการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อรองรับต่อไป

นโยบายอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทใดประเภทหนึ่ง ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติเป็นการชั่วคราว (ad hoc) ต้องเป็นการดำเนินการตามภารกิจข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

1. ภารกิจของพระราชวงศ์

2. ภารกิจเกี่ยวกับภัยภิบัติแห่งชาติ

3. ภารกิจเกี่ยวกับความมั่นคงทางทหาร

4. ภารกิจเกี่ยวกับสาธารณสุขและการศึกษา

5. ภารกิจถ่ายทอดกิจกรรมสำคัญของชาติหรือระหว่างประเทศ

6. ภารกิจเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

7. ภารกิจซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนกับรัฐบาล

8. ภารกิจซึ่งเป็นการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสาธารณะ และสังคมที่สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัลจะต้องกำหนดเงื่อนไขที่แน่นอนอย่างน้อย ได้แก่ ระยะเวลา เริ่มต้นและสิ้นสุด พื้นที่การบริการ และบริการหรือเนื้อหาที่ใช้ช่องสัญญาณนั้น รวมถึงเสียค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง

สำหรับระยะเวลาการใช้บังคับนั้น ให้กระทรวงดิจิทัลฯ ทำหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายและนโยบายนี้ ก่อนที่ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

มีผลใช้บังคับ และเมื่อร่างพระราชบัญญัติฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

related