svasdssvasds

"คมนาคม" เร่งยื่นอุทธรณ์ "โฮปเวลล์" ก่อนถึงเส้นตาย

"คมนาคม" เร่งยื่นอุทธรณ์ "โฮปเวลล์" ก่อนถึงเส้นตาย

กระทรวงคมนาคม ยืนยันสู้คดีโฮปเวลล์ มอบอัยการยื่นอุทธรณ์ก่อน 20 ก.ย.นี้ คาดหยิบกรณีด่วนบูรพาวิถีชนะฟ้อง ฟันปมสัญญาเลินเล่อทำให้รัฐเสียประโยชน์

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางแก้ปัญหาความเสียหายของรัฐในโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (โฮปเวลล์) เผยว่า ขณะนี้คณะทำงานได้รวบรวมข้อมูลที่พอจะเป็นหลักฐานในการยื่นอุทธรณ์สู้คดีอีกครั้ง ซึ่งได้หารือร่วมกันกับสำนักงานอัยการสูงสุดมาตลอด ส่วนขั้นตอนยื่นอุทธรณ์หลังจากนี้ ถือเป็นหน้าที่ของทางอัยการที่จะดำเนินการ

"คมนาคม" เร่งยื่นอุทธรณ์ "โฮปเวลล์" ก่อนถึงเส้นตาย

"การอุทธรณ์เป็นส่วนที่ทางอัยการจะรับผิดชอบ เพราะกระทรวงคมนาคมมอบอำนาจให้ก่อนหน้านี้แล้ว ที่ผ่านมาเราทำงานร่วมกันมาตลอด เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดประกอบการพิจารณา แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นในลักษณะใด เพราะเป็นเรื่องของคดี คาดว่าอัยการจะยื่นอุทธรณ์ก่อนวันที่ 20 ก.ย.นี้ ส่วนความมั่นใจเรื่องหลักฐานสู้คดี ไม่สามารถตอบได้ เพราะถือเป็นดุลยพินิจของศาล"

"คมนาคม" เร่งยื่นอุทธรณ์ "โฮปเวลล์" ก่อนถึงเส้นตาย

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมยื่นคำร้องยังศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้พิจารณาคดีโฮปเวลล์ใหม่ โดยศาลตัดสินเมื่อวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา มีคำสั่งไม่รับคำร้อง ซึ่งอัยการมีหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม แจ้งว่าหากต้องการอุทธรณ์เพิ่ม จะต้องเร่งพิจารณาข้อมูลให้แล้วเสร็จ เพื่อยื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดวันที่ 20 ก.ย.นี้ แต่คาดว่าอัยการจะอุทธรณ์วันที่ 18 ก.ย.นี้ โดยวันที่ 19 ก.ย.2562 จะครบ 180 วันที่จะต้องชำระเงินชดเชยตามคำพิพากษา

"คมนาคม" เร่งยื่นอุทธรณ์ "โฮปเวลล์" ก่อนถึงเส้นตาย

สำหรับการประชุมของคณะทำงานก่อนหน้านี้ มีการพิจารณาสู้คดีโฮปเวลล์ หยิบยกประเด็นทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐจากการทำสัญญาที่เหมือนเลินเล่อทำให้รัฐเสียผลประโยชน์มาพิจารณา เพราะอาจทำให้เป็นโอกาสในการสู้คดีอีกครั้ง โดยคณะทำงานอ้างอิงความน่าจะเป็นดังกล่าวจากกรณีทางด่วนบูรพาวิถีที่รื้อรายละเอียดสัญญาตั้งแต่ต้น เพื่อให้เห็นพยานแวดล้อมจนสุดท้ายให้ศาลเชื่อได้ว่าเรื่องดังกล่าวต้องเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรมใหม่ ทั้งนี้หากตรวจสอบพบข้อมูลของการทำสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการตั้งใจหรือเสมือนเลินเล่อให้รัฐเสียประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วน ซึ่งถ้าสอบเจอลักษณะนี้ไม่ใช่แค่หลักฐาน แต่เป็นการตรวจสอบภาพแวดล้อมทั้งหมดของโครงการ เช่น ผู้ร่างสัญญาทำไมมีเพียง 8 แผ่น การปรับปรุงสัญญา การกำหนดเวลาสิ้นสุด พิรุธต่างๆ ซึ่งถ้ารื้อข้อมูลทั้งหมดมาดูละเอียดจะชี้ให้ศาลเห็นได้ว่าทุจจิตโดยมิชอบ

สำหรับกรณีบูรพาวิถี ที่คณะทำงานฯ ต้องการนำรูปแบบการสู้คดีมาเป็นแนวทางสู้คดีโฮปเวลล์ พบว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ถูกฟ้องจากบริษัทต่างชาติขอเรียกค่าเสียหายทั้งหมด 8,000 ล้านบาท ในเรื่องนี้อณุญาโดตตุลาการมีคำวินิจฉัยให้ กทพ.จ่ายและถ้าไม่ยอมจ่ายจะทำให้เอกชนฟ้อง กพท. โดยเมื่อไปสู่ศาลปรากฏว่าศาลแพ่งชั้นต้น (ยังไม่มีศาลปกครอง) พิพากษาให้จ่าย 1 หมื่นล้านบาท (เงินต้นรวมดอกเบี้ย)

"คมนาคม" เร่งยื่นอุทธรณ์ "โฮปเวลล์" ก่อนถึงเส้นตาย

หลังจากนั้น อัยการจึงตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ซึ่งในคราวแรกมีแนวทางชดใช้เงินเอกชน เพราะคำนึงถึงดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นแต่ละวัน แต่คณะทำงานไม่เห็นด้วย โดยมองว่าหากสู้คดีต่อไปในชั้นศาลฎีกาอาจชนะ จึงรวบรวมข้อมูลตรวจสอบคุณสมบัติของอนุญาโตตุลาการที่เป็นคณะของอัยการผู้ตรวจสอบสัญญา และคณะของเจ้าหน้าที่ กทพ.ซึ่งพบว่า เจ้าหน้าที่รัฐหลายรายได้เอื้อประโยชน์ให้บริษัทต่างชาติ คณะทำงานจึงนำข้อมูลนี้เสนอศาลและมีคำพิพากษายกฟ้อง

related