svasdssvasds

"จุรินทร์" เปิดประชุม ABIS 2019 ปลุกเอกชนรับมือดิจิทัล ปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

"จุรินทร์" เปิดประชุม ABIS 2019 ปลุกเอกชนรับมือดิจิทัล ปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ เปิดงาน ASEAN Businesses and Investment Summit 2019 สนับสนุนภาคเอกชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขีดความสามารถ พัฒนาทุนมนุษย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาเซียนในยุค 4.0

ก่อนการเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 และการประชุมผู้นำที่เกี่ยวข้องจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการวันนี้ (3 พ.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน ASEAN Businesses and Investment Summit 2019 ของภาคเอกชนจัดขึ้นวันที่สอง เป็นกิจกรรมคู่ขนาน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี (ฮอลล์6)

"จุรินทร์" เปิดประชุม ABIS 2019 ปลุกเอกชนรับมือดิจิทัล ปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

นายจุรินทร์ กล่าวถึงแนวคิดการเพิ่มขีดความสามารถอาเซียน 4.0 “Empowering ASEAN 4.0” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ภาคเอกชนโดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียกำหนดขึ้นว่า ขอชื่นชมภาคเอกชนที่ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาประชาคมอาเซียนไปสู่ยุค 4.0 หรือยุคดิจิทัล ซึ่งนับว่าเป็นวาระที่สำคัญและเหมาะสมกับช่วงเวลานี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันคงไม่สามารถรปฏิเสธได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้ในทุกที่และทุกเวลาและทำให้การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้อย่างไร้ขัดจำกัดเทคโนโลยีเอไอ และหุ่นยนต์ที่ก้าวเข้ามาทดแทนแรงงาน

"จุรินทร์" เปิดประชุม ABIS 2019 ปลุกเอกชนรับมือดิจิทัล ปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้า การบริการ การบริโภค และการผลิต ก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ก็ส่งผลให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ปรับตัวไม่ทันต้องทยอยปิดตัวลงในทุกภูมิภาคของโลก

"จุรินทร์" เปิดประชุม ABIS 2019 ปลุกเอกชนรับมือดิจิทัล ปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

“ หากมองกลับมายังภูมิภาคอาเซียน จะเห็นว่าตอนนี้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่แล้ว มีมูลค่าสูงถึง 7.2 หมื่นล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต คือ การขยายตัวของชนชั้นกลาง การเพิ่มขึ้นของประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งการปรับตัวของเอสเอ็มอีในภูมิภาคที่หันมาใช้ดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น” นายจุรินทร์ กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรป และจีน มีสัดส่วนถึงร้อยละ 35 27 และ 16 ของจีดีพี ตามลำดับแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจดิจิทัล ในอาเซียนยังมีโอกาสเจริญเติบโตอีกมาก โดยการศึกษาจากสามบริษัทชั้นนำของโลก อย่าง กูเกิล เทมาเส็ก และเบน แอนด์ โค พบว่าในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือในปี 2568 เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน จะถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าตัวโดยมีมูลค่าสูงถึง 2.4 แสนล้านดอลลาร์

related