svasdssvasds

KPMG แนะเจ้าของธุรกิจขนาดย่อม ใช้หลักการ 3Rs สู้วิกฤติโควิด 19

KPMG แนะเจ้าของธุรกิจขนาดย่อม ใช้หลักการ 3Rs สู้วิกฤติโควิด 19

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 ในประเทศไทย มี่ถึงแม้จะมียอดผู้ติดเชื้อลดลงเป็นระยะเวลาหลายวัน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะนิ่งนอนใจได้ ยิ่งกลับเจ้าของธุรกิจยิ่งต้องระวัง เพราะเมื่อไรที่หาแนวทางดำเนินธุรกิจในช่วง โควิด 19 นี้ อาจจะมองไม่เห็นหนทาง นี่อาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกก็ได้

โควิด 19 เป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วงรุนแรงกว่าทุกครั้ง คุณศศิธร พงศ์อดิศักดิ์ หัวหน้าสายงาน Private Enterprise และกรรมการบริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีข้อเสนอแนะต่อเจ้าของธุรกิจขนาดย่อมหรือ SMEs ในการบริหารจัดการวิกฤติโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพด้วยหลักการ 3Rs

  1. Revive Cash Flows คือการบริหารกระแสเงินสดให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยแบ่งกลยุทธ์เป็นสามส่วน (ก) การเพิ่มกระแสดเงินสดขาเข้า โดยการให้ส่วนลดเพื่อจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ชำระเงินได้เร็วขึ้น การขายสินค้าคงเหลือที่ค้างสต๊อกด้วยการจัดโปรโมชั่นพิเศษเพื่อแปลงสินค้าเป็นเงินสดให้เร็ว (ข) การลดกระแสเงินสดขาออก โดยการเจรจายืดหนี้กับเจ้าหนี้ การขอผ่อนผันการจ่ายค่าเช่ากับผู้ให้เช่าสถานที่ การเลื่อนโครงการหรือค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นน้อยกว่าออกไปก่อน (ค) การเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ธนาคาร เพื่อขอยืดชำระหนี้ พักดอกเบี้ย รวมถึงการขอวงเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง รวมถึงการพิจารณาประโยชน์ที่จะได้รับจากมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ที่ภาครัฐได้ออกมา ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนกำหนดชำระหนี้ให้ SMEs และวงเงินสินเชื่อหรือการสนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (Soft loans) สำหรับ SMEs
  2. Reimagine Business Model คือการปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับวิกฤติโควิด โดยกิจการสามารถทำโปรโมชั่นขายสินค้าเป็นชุดที่เล็กลง ไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น หรือการเปลี่ยนจากการขายสินค้าเงินสดมาเป็นการขายผ่อน หรือเปลี่ยนเป็นการเช่าสินค้า หรือการให้ลูกค้าจ่ายเงินค่าบริการล่วงหน้าในราคาพิเศษโดยลูกค้าสามารถกลับมาใช้บริการได้ข้ามปี หรือนำสินค้ามาขายผ่านช่องทางอื่นๆ เช่นการขายออนไลน์ เหล่านี้คือตัวอย่างการปรับรูปแบบธุรกิจให้เหมาะกับสภาวะตลาดปัจจุบัน
  3. Retain People คือการรักษาพนักงานไว้เพราะคนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด โดยกิจการควรมีการตกลงร่วมกับพนักงานในการบริหารชั่วโมงทำงานที่ลดลง พิจารณาการจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานอย่างเหมาะสม หรือมีการจัดโครงการแบ่งกำไรจากการขายสินค้าให้กับพนักงานเพื่อชดเชยรายได้ที่พนักงานขาดไป รวมถึงการให้พนักงานได้รับการฝึกอบรมผ่านสื่อออนไลน์เพื่อ Reskill หรือ Upskill พนักงานจะมีใจรักองค์กรมากขึ้นซึ่งสร้างผลดีในระยะยาวและสร้างความแข็งแกร่งของกิจการ ให้พร้อมต่อสู้เมื่อวิกฤตการณ์โควิด-19 ได้ถูกควบคุมแล้ว

ในบทสรุปทิ้งท้าย คุณศศิธร ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “กิจการควรพลิกวิกฤติโควิด-19 ให้เป็นโอกาส โดยการเปลี่ยนองค์การให้ทำงานกระชับขึ้น มีการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจด้วยไอเดียใหม่ๆ และมีการดูแลพนักงานอย่างเหมาะสม ทั้งนี้กิจการสามารถนำหลักการ 3Rs ไปประยุกต์ใช้เพื่อฝ่าวิกฤติครั้งนี้ และผลักดันให้กิจการเดินหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน”

related