svasdssvasds

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ประชาชน กว่า 61 % ระบุ รายได้แย่ลง ช่วงวิกฤตโควิด-19

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ประชาชน กว่า 61 % ระบุ รายได้แย่ลง ช่วงวิกฤตโควิด-19

นิด้าโพล เผยผลสำรวจเรื่อง “การบริโภคอาหารในช่วงโควิด - 19” ประชาชน 61.51 % ระบุ รายได้แย่ลง ช่วงโควิด-19 มีเพียง 1.49 % ระบุดีขึ้น

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การบริโภคอาหารในช่วงโควิด - 19”

ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,273 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการบริโภคอาหารในช่วงโควิด - 19

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ประชาชน กว่า 61 % ระบุ รายได้แย่ลง ช่วงวิกฤตโควิด-19

จากการสำรวจเมื่อถามถึงรายได้ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.51 ระบุว่า แย่ลง รองลงมา ร้อยละ 37.00 ระบุว่า เหมือนเดิม และร้อยละ 1.49 ระบุว่า ดีขึ้น

ส่วนความเพียงพอต่อการใช้จ่ายของรายได้ในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 17.91 ระบุว่า เพียงพอ ร้อยละ 16.03 ระบุว่า ค่อนข้างเพียงพอ ร้อยละ 33.46 ระบุว่า ไม่ค่อยเพียงพอ ร้อยละ 32.13 ระบุว่า ไม่เพียงพอเลย และร้อยละ 0.47 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความกังวลต่อเงิน/รายได้ หรือทรัพยากร สำหรับการบริโภคอาหารที่จำเป็นพบว่า ร้อยละ 21.13 ระบุว่า มีความกังวลมาก ร้อยละ 38.18 ระบุว่า ค่อนข้างมีความกังวล ร้อยละ 23.80 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกังวล ร้อยละ 16.65 ระบุว่า ไม่มีความกังวลเลย และร้อยละ 0.24 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามผลกระทบต่อเงิน/รายได้ หรือทรัพยากรในการหาซื้อหรือจัดหาอาหารเพื่อการบริโภค จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค –19พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.86 ระบุว่า บริโภคได้ตามปกติ รองลงมา ร้อยละ 35.43 ระบุว่า บริโภคอาหารครบทุกมื้อ แต่จำกัดชนิดอาหาร เพื่อประหยัดเงิน

ร้อยละ 17.44 ระบุว่า งดบริโภคอาหารดี มีคุณค่าและมีราคา เพื่อประหยัดเงิน ร้อยละ 13.75 ระบุว่า ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 8.01 ระบุว่า งดอาหารบางมื้อ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ได้บริโภคอาหารทั้งวันเพราะไม่มีเงิน และร้อยละ 0.24 ระบุว่า ทั้งครัวเรือนไม่มีอาหารเหลือเพราะไม่มีเงิน

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ประชาชน กว่า 61 % ระบุ รายได้แย่ลง ช่วงวิกฤตโควิด-19

สำหรับการไปรับอาหารแจกฟรีตามสถานที่ต่างๆ หรือไปรับอาหารจากตู้ปันสุข พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.19 ระบุว่า ไม่เคยไปรับ ขณะที่ ร้อยละ 16.81 ระบุว่า เคยไปรับ

ด้านการเคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.89 ระบุว่า ไม่เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้

ขณะที่ ร้อยละ 35.11 ระบุว่า เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ โดยในจำนวนของผู้ที่เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.07 เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ของตนเอง และร้อยละ 32.20 ระบุว่า เคยร่วมแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ของหน่วยงาน/องค์กร/สมาคม

ทั้งนี้ เมื่อสอบถามผู้ที่เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด –19  เกี่ยวกับมูลค่าของสิ่งของ อาหาร หรือเงินที่แจก พบว่า ร้อยละ 62.30 ระบุว่า มูลค่าไม่เกิน 1,000 บาท

ร้อยละ 23.25 ระบุว่า มูลค่า 1,001 – 5,000 บาท ร้อยละ 3.16 ระบุว่า มูลค่า 5,001 – 10,000 บาท  ร้อยละ 2.25 ระบุว่า มูลค่า 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 3.17 ระบุว่า มูลค่า 20,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 5.87 ระบุว่า ไม่ระบุ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการได้รับเงินช่วยเหลือ/เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 จากรัฐบาล พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.42 ระบุว่า ไม่เคยรับ ขณะที่ ร้อยละ 46.58 ระบุว่า เคยรับ

โดยในจำนวนของผู้ที่เคยได้รับเงินช่วยเหลือ/เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด- 19 จากรัฐบาล ส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.01ระบุว่า เคยรับเงินเยียวยาเดือนละ5,000 บาท ผ่านโครงการเราไม่ทิ้งกัน รองลงมา ร้อยละ 37.77 ระบุว่าเคยรับเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท

สำหรับกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 2.53ระบุว่า เคยรับเงินเยียวยาจากสำนักงานประกันสังคมและร้อยละ 1.69 ระบุว่าเคยรับเงินเยียวยาสำหรับกลุ่มคนที่มีความเปราะบางทางสังคม เช่น เด็กแรกเกิด ผู้พิการ และคนชรา

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ประชาชน กว่า 61 % ระบุ รายได้แย่ลง ช่วงวิกฤตโควิด-19

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.95 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.45 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.54 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.78 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.28 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.00 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.00 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 8.01 มีอายุ 16 – 25 ปี ร้อยละ 16.42 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 19.25 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.03 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.29 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

ตัวอย่างร้อยละ 94.66 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.30 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.02 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.02 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 24.12 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.01 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.01 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.86 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 31.11 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.09 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.38 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.37 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.03 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.02 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 9.74 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.04 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.72 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 21.37 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 19.32 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 10.06 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.04 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 ระบุว่า ประกอบอาชีพพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 0.55 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 9.11 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 36.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.14 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 8.25 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 5.50 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 11.39 ไม่ระบุรายได้

ภาพโดย Pavel Sternberg จาก Pixabay

related