svasdssvasds

นัยยะล้ำลึก ในห้วงดนตรีกริ่งรถไฟญี่ปุ่น

นัยยะล้ำลึก ในห้วงดนตรีกริ่งรถไฟญี่ปุ่น

ข่าวนี้จะตอกย้ำว่า ญี่ปุ่นทำอะไรละเอียดจริงๆ เพราะขนาดกริ่งเตือนรถไฟออก ยังมีเรื่องราว และความเอาใจใส่มาก เพราะแต่ละสถานีแต่ละเมือง มีเสียงกริ่งที่แตกต่าง และเสน่ห์แฝงที่เมื่อรู้แล้ว น่ารักจริงๆ

ใครเคยขึ้นรถไฟญี่ปุ่น มักจะคุ้นหูกับเสียงกริ่งดัง ก่อนประตูรถไฟจะปิดดี คนญี่ปุ่นมีชื่อเรียงเสียงกริ่งนี้ด้วย ว่า”ฮัสชะ เมโรดี” หรือทำนองรถไฟออก

นัยยะล้ำลึก ในห้วงดนตรีกริ่งรถไฟญี่ปุ่น

และผู้อยู่เบื้องหลังฮัสชะ เมโรดี ก็คือนายมิโนรุ มูไกยะ นักดนตรีที่ผลงานของเขา มีคนเล่นซ้ำไปมามากที่สุดคนหนึ่งในโลก เพราะดังไปทั่วญี่ปุ่น ทุกวัน และทั้งวัน แม้ว่าคนฟังจะไม่สังเกตก็ตาม

[caption id="attachment_234894" align="aligncenter" width="1604"] นัยยะล้ำลึก ในห้วงดนตรีกริ่งรถไฟญี่ปุ่น มิโนรุ มูไกยา นักประพันธ์เสียงกริ่งรถไฟญี่ปุ่น "ดนตรีสำหรับท่วงทำนองของรถไฟ มีไว้เพื่อความปลอดภัย เวลาที่ผู้โดยสารฟังหรือได้ยินทำนองรถไฟเหล่านี้ พวกเขาจะรู้ว่าประตูยังไม่ปิด แต่เหมือนเป็นเสียงเตือนครั้งสุดท้าย"[/caption]

[caption id="attachment_234900" align="aligncenter" width="1604"] นัยยะล้ำลึก ในห้วงดนตรีกริ่งรถไฟญี่ปุ่น มิโนรุ มูไกยา นักประพันธ์เสียงกริ่งรถไฟญี่ปุ่น "เวลาเดินทางจากโอซากาไปเกียวโต เราต้องเคารพต่อวัฒนธรรของเกียวโตด้วย ดังนั้น เสียงจำเป็นที่จะเป็นดนตรีแบบญี่ปุ่น เสียงแบบนี้ เหมือนบอกให้ผู้โดยสารใช้ชีวิตต่อไป ให้พวกเขากลับไปบ้าน หรือไปโรงเรียน ไปท่องเที่ยวชมสิ่งต่างๆ และอื่นๆอีกมากมาย "[/caption]

หนึ่งในสถานีที่ ทำนองรถไฟออกของมูไกยะสะดุดหูมากที่สุด คือ ชานชาลาที่ 3 และ 4 ของสถานีชิบูยะในกรุงโตเกียว สถานีที่คนแน่นที่สุดอันดับ 3 ของโลก บางคนขึ้นรถไฟบ่อย จนจำเสียงจิงเกิ้ลนี้ได้ขึ้นใจ

นัยยะล้ำลึก ในห้วงดนตรีกริ่งรถไฟญี่ปุ่น

นัยยะล้ำลึก ในห้วงดนตรีกริ่งรถไฟญี่ปุ่น

มิโนรุ มูไกยะ อายุ 61 ปีแล้ว เขาเคยเป็นนักเล่นคีบอร์ด ดนตรีแจ๊ส แต่ดูเหมือนจะมีชื่อเสียงจากการประพันธ์เสียงกริ่งรถไฟมากกว่า แถมแต่งไปมากจนจำไม่ได้แล้วว่า แต่งไปเท่าไหร่แล้ว ซึ่งอันที่จริง เขาประพันธ์ ฮัสชะ เมโรดี ไปมากถึง 170 ชิ้นแล้ว ความใส่ใจในผลงานของมูไกยะ คำนึงถึงคุณลักษณะของสถานีที่จะใช้เพลงด้วย ถ้าโตเกียวก็จะเสียงแบบหนึ่ง ถ้าเป็นเกียวโต จะดูเป็นเสียงแบบเครื่องดนตรีญี่ปุ่นมากหน่อย

กริ่งเตือนรถไฟออก ดังเพียง 7 วินาที เป็น 7 วินาที ที่ผู้โดยสารจะมีโอกาสเข้าไปในรถไฟ เจ้าหน้าที่เองก็ต้องช่วยให้เต็มที่ เพราะมีความตรงต่อเวลาของรถไฟเป็นเดิมพัน ส่วนจิงเกิ้ลกริ่งรถไฟนี้ ก็เป็นวิธีเพื่อให้ดูเป็นมิตรกับผู้โดยสาร รวมถึงสร้างความคุ้นชินด้วย

นัยยะล้ำลึก ในห้วงดนตรีกริ่งรถไฟญี่ปุ่น

ฮัสชะ เมโลดี ผสมผสานความชอบสองอย่างของเขา คือ ดนตรีและรถไฟเข้าด้วยกัน / มูไกยะสนใจในรถไฟมาตั้งแต่เด็ก เมื่อครั้งที่ได้เห็นรถไฟหัวกระสุนชินคันเซ็น ขบวนแรก แล่นเข้าสถานีโตเกียว ก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 1964

นัยยะล้ำลึก ในห้วงดนตรีกริ่งรถไฟญี่ปุ่น

แต่เคล็ดลับที่หลายคนอาจไม่เคยรู้คือ ทำนองกริ่งของแต่ละสถานี เมื่อนำมารวมกัน จะกลายเป็นบทเพลงได้เพลงหนึ่งเลยด้วย จึงไม่แปลกที่จะมีชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย เป็นแฟนพันธุ์แท้กริ่งรถไฟทั่วญี่ปุ่นด้วย

related