svasdssvasds

อคติ-เหยียดหยาม ด้านมืดสังคมเกาหลีใต้ต่อคนเกาหลีเหนือ

อคติ-เหยียดหยาม ด้านมืดสังคมเกาหลีใต้ต่อคนเกาหลีเหนือ

ท่าทีประนีประนอม การประชุมผู้นำ การประการระงับทดสอบอาวุธสงครามของเกาหลีเหนือ ทำให้คาบสมุทรเกาหลีดูสงบขึ้น เรื่องการรวมชาติสองเกาหลี กลายเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง แต่ในความเป็นจริงนั้น ชาวเกาหลีเหนือที่ลี้ภัยมาเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ได้และถูกมองเป็นพลเมืองชั้นสอง เป็นปัญหาใหญ่กว่าการผนวกสองเกาหลีเสียอีก

[caption id="attachment_243006" align="aligncenter" width="1602"] อคติ-เหยียดหยาม ด้านมืดสังคมเกาหลีใต้ต่อคนเกาหลีเหนือ จู ซอง ฮยอน ศาสตราจารย์สาขาการศึกษาทางทหาร มหาวิทยาลัยจอนจู "ผมเคยทำงานทีร้านอาหารแห่งหนึ่ง แต่ได้ค่าแรง เพียงแค่ครึ่งเดียวของชาวเกาหลีใต้ ทั้งที่ผมทำงานนานกว่า ผมพยายามหางานพาร์ทไทม์ แต่ถูกปฎิเสธ ทันทีที่ผู้ว่าจ้างรู้ว่าผมมาจากเกาหลีเหนือ"[/caption]

ตอนที่ นายทหารเกาหลีเหนือ จู ซอง ฮยอน ข้ามเขตปลอดทหาร ฝ่ากับระเบิด และหอตรวจการที่วางกำลังเข้มงวด เข้ามาในเกาหลีใต้ เขาหวังว่าจะพบชีวิตใหม่ที่ดี ชีวิตที่เขาได้ยินจากเครื่องขยายเสียงของเกาหลีใต้ ที่ติดอยู่บริเวณพรมแดน ป่าวประกาศถึงเสรีภาพและความมั่งคั่ง แต่สิ่งที่เขาไม่คาดคิดคือ ชาวเกาหลีใต้มองคนเกาหลีเหนือ เป็นคนป่าเถื่อน ไร้อารยธรรมและต่ำต้อย

จู ซอง ฮยอน ไปสัมภาษณ์งานที่ไหนก็ไม่มีใครรับ แม้แต่งานทักษะต่ำอย่างในร้านอาหาร ทันทีที่เขาเอ่ยสำเนียงแข็งๆ และบอกว่าเป็นคนเกาหลีเหนือ แต่เขาฟันฝ่าอุปสรรคนานับประการ ดัดสำเนียงของตนเอง นำรายได้ไปเรียนต่อในเวลาว่าง จนได้วุฒิปริญญาเอกด้านการรวมชาติศึกษา ถือเป็นชาวเกาหลีเหนือคนแรกที่ได้ปริญญาสาขานี้ และตอนนี้ เขาได้เขียนหนังสือตีแผ่สังคมว่า ผู้ลี้ภัย คนแปรพักตร์เกาหลีเหนือ ต้องเผชิญกับอะไรบ้างในเกาหลีใต้

อคติ-เหยียดหยาม ด้านมืดสังคมเกาหลีใต้ต่อคนเกาหลีเหนือ

นับแต่สิ้นสุดสงครามเกาหลีในปี 1953 เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ ติดต่อกันน้อยมาก การประชุมระหว่างผู้นำสองเกาหลี ที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็ถือเป็นครั้งที่ 3 เท่านั้น แต่ก่อนนั้น ช่วงปี 1970 และ1980 ผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือ ได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษ

แต่เมื่อเข้าช่วงปี 1990 เกิดภัยแล้งครั้งใหญ่ในเกาหลีเหนือ คนเสียชีวิตหลายแสนคน และอีกจำนวนมากกลายเป็นคลื่นผู้อพยพเข้ามาในเกาหลีใต้ ตั้งแต่นั้น ทัศนคติต่อคนเกาหลีเหนือเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะด้วยทักษะของคนเกาหลีเหนือที่ไม่เหมาะกับสังคมการทำงานยุคใหม่ พวกเขาหางานหาเพื่อนได้ยาก ชาวเกาหลีใต้จำนวนไม่น้อย มองคนเกาหลีเหนือด้วยสายตาเหยียดหยาม และจับผิด ส่งผลให้การว่างงานในชาวเกาหลีเหนือผู้แปรพักตร์สูงถึง 7 เปอร์เซ็นต์ มากเกือบเป็น 2 เท่า จากอัตราเฉลี่ยชาวเกาหลีใต้

อคติ-เหยียดหยาม ด้านมืดสังคมเกาหลีใต้ต่อคนเกาหลีเหนือ

อคติ-เหยียดหยาม ด้านมืดสังคมเกาหลีใต้ต่อคนเกาหลีเหนือ

ชาวเกาหลีเหนือในเกาหลีใต้กว่า 20 เปอร์เซ็นต์ กลายเป็นเหยื่อของการฉ้อโกง โจรกรรม และอื่นๆ บางคนสูญเงิน 6 แสนบาทที่รัฐบาลมอบให้เพื่อใช้ตั้งตัวไปกับมิจฉาชีพ / ผลสำรวจของรัฐบาลพบว่า ชาวเกาหลีเหนือกว่า 1 ใน 4 อยากกลับบ้าน แต่สิ่งที่ จู ซอง ฮยอน หดหู่กว่านั้นคือ ไม่น้อยที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง

อย่างจู ซอง ฮยอนนั้น แม้จะจบมาสูง แต่ถูกปฎิเสธงานกว่า 100 ครั้ง เพราะสถานะผู้แปรพักตร์ชาวเกาหลีเหนือ แต่พอปิดบังความจริง กลับได้เข้ารอบสัมภาษณ์ และมีบริษัทมาเสนองานให้

อคติ-เหยียดหยาม ด้านมืดสังคมเกาหลีใต้ต่อคนเกาหลีเหนือ

ในหนังสือของเขา เล่าถึงทหารเกาหลีเหนือ 9 คน รวมเขาด้วย ที่หนีข้ามพรมแดนมาเกาหลีใต้นับแต่ปี 2000 กรณีล่าสุดนั้น กลายเป็นพาดหัวข่าวใหญ่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน กับการหนีฝ่ากระสุนปืน แต่ที่หลายคนไม่รู้คือ ชีวิตของทหารแปรพักตร์หลังจากนั้น...2 คนถูกจำคุกฐานใช้ยาเสพติดและฆาตกรรม...1 คนติดเหล้าและตายจากมะเร็งปอด...คนที่สี่ทุพพลภาพ เพราะถูกรถชน ระหว่างแจกใบปลิวหน้าสถานบันเทิง...อีกคนย้ายไปต่างประเทศ...เรื่องราวเหล่านี้ คือด้านมืดของสังคมเกาหลีใต้ ที่จะกลายเป็นความท้าทายใหญ่ หากเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้จะรวมชาติกันจริง

อคติ-เหยียดหยาม ด้านมืดสังคมเกาหลีใต้ต่อคนเกาหลีเหนือ

related