svasdssvasds

ยมทูตโลกโซเชียล...เมื่อ “ข่าวปลอม” ฆ่าคนในอินเดีย

ยมทูตโลกโซเชียล...เมื่อ “ข่าวปลอม” ฆ่าคนในอินเดีย

ในโลกยุคเทคโนโลยี ข่าวปลอมกลายเป็นเครื่องมือ ที่เปลี่ยนความคิดผู้คน สร้างอิทธิพลทางการเมือง และในบางประเทศอย่างอินเดีย กลายเป็นแรงผลักดันให้คน เป็นฆาตกร ฆ่าคนได้อย่างเลือดเย็น เราไปติดตามภัยสังคมใหม่นี้กัน

วันที่ 8 มิถุนายน วันธรรมดาที่กลายเป็นวันแห่งโชคชะตาของหนุ่มอินเดีย 2 คน...นิโลตพัล ดาส นักดนตรี การศึกษาดี วัย 29 ปี และเพื่อน อาพิจีต นาธ อายุ 30 ปี จากเมืองกูวาฮาตี รัฐอัสสัม ที่กำลังขับรถในแถบชนบท

ยมทูตโลกโซเชียล...เมื่อ “ข่าวปลอม” ฆ่าคนในอินเดีย

พวกเขาไม่รู้เลยว่า หมู่บ้านที่พวกเขากำลังขับรถผ่าน กำลังเกิดข่าวปลอมว่า พวกเขาเป็นนักค้ามนุษย์ ที่ชอบลักพาตัวเด็ก...ข่าวปลอมที่เผยแพร่บน “วอทสแอป” และผู้คนที่หลงเชื่อ รวมตัวกันเป็นศาลเตี้ย เพื่อจะลงโทษนิโลตพัล และอาพิจีต ผู้บริสุทธิ์

การรุมสังหารด้วยท่อนไม้ไผ่ มีดด้ามยาว ก้อนหิน เคียวเกี่ยวข้าว ที่บันทึกภาพเป็นวิดีโอ แล้วเผยแพร่ความเลือดเย็นบนโลกโซเชียล

ยมทูตโลกโซเชียล...เมื่อ “ข่าวปลอม” ฆ่าคนในอินเดีย

ยมทูตโลกโซเชียล...เมื่อ “ข่าวปลอม” ฆ่าคนในอินเดีย

ครอบครัวของนิโลตพัล ใจสลายกับการตายของบุตรชาย อย่างไร้เหตุผล...โต๊ะวางโทรทัศน์ในบ้าน แปรเปลี่ยนเป็นแท่นบูชาลูกชายหัวแก้วหัวแหวน

ยมทูตโลกโซเชียล...เมื่อ “ข่าวปลอม” ฆ่าคนในอินเดีย

ยมทูตโลกโซเชียล...เมื่อ “ข่าวปลอม” ฆ่าคนในอินเดีย

[caption id="attachment_307212" align="aligncenter" width="1919"] ยมทูตโลกโซเชียล...เมื่อ “ข่าวปลอม” ฆ่าคนในอินเดีย โกภาล จันทรา ดาส พ่อของเหยื่อ อายุ 68 ปี[/caption]

แม้แต่พระเยซูคริสต์ ก็ไม่ได้เผชิญการสังหารที่โหดเหี้ยมแบบนี้ ลูกของผมถูกฆ่า เด็กทั้งสองตายอย่างทรมาน ผมจินตนาการสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย

ช่วง 2 เดือนมานี้ ข่าวปลอมถึงขบวนการลักพาตัว กระจายอย่างกว้างขวางในเฟชบุ๊คและวอทสแอปในอินเดีย และมีผู้ตกเป็นเหยื่อศาลเตี้ยแล้วกว่า 20 คน...รัฐบาลพยายามสร้างความตระหนักรู้ บางพื้นที่ถึงกับตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต แต่ก็ยับยั้งกระแสข่าวปลอมที่โหมหนักไม่ได้มาก

ยิ่งเป็นแถบชนบท ที่ข่าวสารเข้าถึงได้ยาก สังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งที่ชาวบ้านปักใจเชื่อ แบบไร้ข้อสงสัย

ยมทูตโลกโซเชียล...เมื่อ “ข่าวปลอม” ฆ่าคนในอินเดีย

แม้อินเทอร์เน็ตจะเข้าถึงชนบทอินเดียเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ แต่อัตราการเข้าถึงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับสมาร์ทโฟนที่ราคาถูกเริ่มต้นที่ 3,500 บาท ทำให้ตอนนี้ ชาวอินเดียกว่า 500 ล้านคน เข้าถึงอินเทอร์เน็ตแล้ว

ความไม่รู้ ขาดความเข้าใจเรื่องข่าวปลอม ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกล กลายเป็นเหยื่อ ที่บางครั้ง ก็ผันตัวเป็นฆาตกรไม่รู้ตัว...ความรู้สึกของคนอินเดียบางคนต่อเหตุสลดนี้ คือ สักวันความตายอาจมาถึงตนเอง หรือบุคคลอันเป็นที่รักได้แบบไม่รู้ตัว จากข่าวปลอมระบาด

related