svasdssvasds

"ฮุนเซ็น" เมินอียูใช้มาตรการการค้ากดดัน แก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน

"ฮุนเซ็น" เมินอียูใช้มาตรการการค้ากดดัน แก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน

สมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเมินการกดดันของสหภาพยุโรป หรืออียู หลังประกาศว่าจะมีมาตรการทางการค้าต่อกัมพูชากรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน

สหภาพยุโรปประกาศเตือนเมื่อวันศุกรที่แล้วว่า กัมพูชาอาจจะเสียสิทธิพิเศษทางการค้าในการเข้าตลาดอียู โดยได้เริ่มทบทวนมาตรการปลอดภาษีนำเข้าสำหรับกัมพูชาเป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งหมายความว่า หากไม่มีการปรับปรุงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน สินค้าประเภทเครื่องนุ่มห่ม น้ำตาล และสินค้าส่งออกอื่นๆของกัมพูชาเสี่ยงจะต้องเผชิญภาษีนำเข้าสู่ตลาดอียูภายใน 12 เดือนข้างหน้านี้ นอกจากนี้อียูยังระบุว่า กำลังพิจารณามาตรการคว่ำบาตรทางการค้าต่อเมียนมาด้วย จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอรส์รายงานว่า วันนี้สมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวระหว่างร่วมประชุมระดับภูมิภาคที่ประเทศญี่ปุ่นว่า "กัมพูชาต้องเข้มแข็งในการปกป้องอธิปไตยของตนเอง ไม่ว่าจะมีการใช้มาตรการอะไรกดดันก็ตาม"

สมเด็จฮุนเซ็นยังย้ำด้วยว่า "อย่านำอธิปไตยและความสงบสุขของชาติไปแลกกับความช่วยเหลือ" แต่เขาไม่ได้แจงรายละเอียดว่าหากสิทธิพิเศษทางภาษีจากอียูถูกยกเลิก จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของประเทศอย่างไร

ทั้งนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่าน อียูเตือนกัมพูชาว่าจะสูญเสียสถานะพิเศษทางการค้าหลังพรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งทั่วไป โดยไม่มีฝ่ายค้านลงชิงชัย เพราะพรรคกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นฝ่ายค้านหลัก ถูกศาลสั่งยุบพรรค ในขณะที่แกนนำพรรคบ้างก็ถูกจับกุมตัว หรือไม่ก็ลี้ภัยไปต่างประเทศ

รอยเตอรส์รายงานว่า สถิติของอียูพบว่า ในปีที่แล้ว กัมพูชานั้นส่งออกสินค้าไปอียูรวมมูลค่าแปดพันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 2.7 แสนล้านบาท โดยมีสินค้าสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า เป็นอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่มของกัมพูชาจ้างงานจ้างงานประชาชนมากกว่าแปดแสนคน และ 40% ของจีดีพีของประเทศมาจากการส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าว โดยมีอียูและสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกหลัก

 

 

related