svasdssvasds

2019 จับตาญี่ปุ่นเมื่อถึงคราเปลี่ยนแผ่นดิน

2019 จับตาญี่ปุ่นเมื่อถึงคราเปลี่ยนแผ่นดิน

ในปี 2019 ญี่ปุ่นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะทรงสละราชสมบัติ และให้เจ้าฟ้าชายนารุฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์แทน การผลัดแผ่นดินของญี่ปุ่นครั้งนี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

2019 จับตาญี่ปุ่นเมื่อถึงคราเปลี่ยนแผ่นดิน

ในปี 2019 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่น เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ จะทรงสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน ปี 2019 และราชบัลลังค์ญี่ปุ่นจะถูกส่งต่อไปยังเจ้าฟ้าชายนารุฮิโตะ มกุฏราชกุมาร หลังทรงครองราชย์มายาวนานถึง 30 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบัน พระองค์ทรงมีพระชนมายุ 85 พรรษา รวมทั้งมีพระพลานามัยที่ไม่สู้แข็งแรงนัก

รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการสละราชสมบัติ เนื่องจากตามกฎมณเฑียรบาล พระมหากษัตริย์ไม่สามารถสละราชสมบัติได้ พระองค์จะต้องครองราชบัลลังค์จนสวรรคต และยังไม่เคยมีการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 200 ปีที่ผ่านมา จึงมีการใช้กฎหมายฉบับพิเศษ เพื่อรับรองการสละราชสมบัติในครั้งนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น พระราชพิธีสละราชบัลลังค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ จะเกิดขึ้นในวันที่ 30 เมษายนที่พระราชวังอิมพีเรียล ถัดจากนั้นเพียงหนึ่งวันคือในวันที่ 1 พฤษภาคม พระราชพิธีราชาภิเษกจะเกิดขึ้น เพื่อส่งมอบราชบัลลังค์ให้แก่เจ้าฟ้าชายนารุฮิโตะ

2019 จับตาญี่ปุ่นเมื่อถึงคราเปลี่ยนแผ่นดิน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นคือ ลำดับผู้มีสิทธิ์ครองราชบัลลังค์แห่งญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไป รัชทายาทลำดับที่หนึ่งจะกลายเป็นเจ้าชายฟูมิฮิโตะ ซึ่งจะทรงกลายเป็นมกุฏราชกุมารแทน และรัชทยาทลำดับที่สองคือเจ้าชายฮิซาฮิโตะ

อีกหนึ่งสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นมากพอสมควรนั่นก็คือ นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ยุคเมจิเริ่มขึ้นที่สมเด็จพระจักรพรรดิ์พระองค์ใหม่จะทรงขึ้นครองบัลลังค์ ในขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิ์พระองค์ก่อนยังทรงมีชีวิตอยู่ แม้ว่ารัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นจะห้ามไม่ให้ราชวงศ์ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่ก็ยังคงมีความเป็นกังวลว่า อาจเกิดความขัดแย้งทางอำนาจจากจักรพรรดิ์พระองค์ใหม่และจักรพรรดิ์พระองค์เก่า ซึ่งแน่นอนว่ามีการหารือกันเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม สำนักพระราชวงศ์แถลงว่า สมเด็จพระจักรพรรดิ์อากิฮิโตะทรงส่งสัญญาณมาแล้วว่าพระองค์ทรงตั้งใจที่จะส่งมอบพระราชกรณียกิจทั้งหมดให้แก่พระจักรพรรดิ์พระองค์ใหม่

2019 จับตาญี่ปุ่นเมื่อถึงคราเปลี่ยนแผ่นดิน

อีกหนึ่งสิ่งที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคือปฏิทินของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ยังคงใช้ปฏิทินตามปีการครองราชย์ของจักรพรรดิ์ ซึ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิ์อากิฮิโตะ จะเรียกกันว่ารัชศกเฮเซ ซึ่งคำว่าเฮเซนี้มีความหมายว่า สงบสุขทุกสารทิศ รัชศกเฮเซนี้เริ่มขึ้นในปี 1989 ปีที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ และในวันที่ 1 มกราคม 2562 รัชศกเฮเซได้เข้าสู่ปีที่ 31 แล้ว แต่หลังจากที่พระจักรพรรดิ์พระองค์ใหม่ขึ้นครองราช รัชศกก็จะเปลี่ยนไป เหมือนเมื่อครั้งอดีตพระจักรพรรดิ์

บางคนมองว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะคล้ายๆกับวายทูเคในปี 2000 เลยทีเดียว แต่จะไม่รุนแรงเท่าครั้งนั้นเพราะปัจจุบันเทคโนโลยีไอทีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น โดยคาซุโนริ อิชิ โฆษกของไมโครซอฟท์ ประจำญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงรัชศก แต่ถึงกระนั้นก็ไม่น่าจะมีความวุ่นวายใหญ่โตเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

จุนโซ มาโตบะ อดีตข้าราชการผู้เป็นส่วนหนึ่งของการถวายชื่อรัชศกแด่สมเด็จพระจักรพรรดิ์อากิฮิโตะเมื่อปี 1989 เปิดเผยว่า ชื่อรัชศกแต่ละชื่อจะถูกนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ และแม้แต่ชื่อที่เคยถวายไป แต่ไม่ผ่านการพิจารณา ก็จะถูกเสนอใหม่อีกไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกหนึ่งงานท้าทายของทางการญี่ปุ่นในเวลานี้

อีกหนึ่งความท้าทายของรัฐบาลญี่ปุ่นเวลานี้คือการเตรียมงาน ซึ่งทางการตั้งใจจะจัดพระราชพิธีราชพิเศษตามแบบอย่างในปี 1989 แต่จะลดขนาดลง ทั้งจำนวนแขกและการจัดงาน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และไม่กินเวลานานเกินไปสำหรับสมเด็จพระจักรพรรดิ์อากิฮิโตะ โดยงบประมาณในการจัดงานนั้นจะอยู่ที่ราว 12,300 ล้านเยน หรือประมาณ ล้านบาท 3,600 ล้านบาท

related