svasdssvasds

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

ในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา เทคโนโลยีหลายด้านบนโลกได้ถูกพัฒนาต่อยอดมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นนวัตรกรรมยานยนต์ไปจนถึงเทคโนโลยีด้านอวกาศ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าที่จะปูทางไปสู่การพัฒนาอีกขั้นในปี 2019 นี้

นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านยานยนต์

เริ่มกันที่นวัตกรรมด้านยานยนต์ หลายปีที่ผ่านมามีข่าวคราวการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติมาอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าการที่เราจะได้เห็นรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติออกมาโลดแล่นบนท้องถนนแบบจริงจังจะใกล้เข้ามาทุกที เพราะปี 2018 ที่ผ่านมาในงานมหกรรมแสดงรถยนต์แห่งอเมริกาเหนือ ที่จัดขึ้นในเมืองดีทรอยต์ ประเทศสหรัฐฯ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ โอโตโนมัส ไดร์ฟวิ่ง โซลูชั่น ประกาศจะทำให้รถยนต์ไร้คนขับเป็นรถยนต์ที่นำออกมาขายได้จริงเร็วๆ นี้ หลังจากมีรถตัวอย่างถูกนำมาทดลองใช้จริงในสหรัฐฯ แล้ว

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

นอกจากนี้ยังมีบริษัทผู้ผลิตจากสวีเดน ที่นำเสนอรถขนสินค้าแบบไร้คนขับอีกด้วย ขณะที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังอย่าง ฟอร์ด ก็ได้ทำการทดสอบการขับขี่รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติไปในปี 2018 ก่อนการผลิตเต็มรูปแบบจะเริ่มต้นขึ้นในอีกไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า

แน่นอนว่า นอกจากการพัฒนาระบบเทคโนโลยีของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติให้ใช้ได้จริงแล้ว การเตรียมการในปัจจัยอื่นๆ เพื่อรองรับการใช้งานเทคโนโลยีนี้จริงๆ บนท้องถนนก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

โดยรัฐบาลสหรัฐฯ เปิดเผยว่าจะแนะนำแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายจราจรที่มีอยู่แล้วเพื่อรองรับเทคโนโลยีดังกล่าว แต่การที่จะทำให้รถยนต์ไร้คนขับสามารถนำออกมาวิ่งบนท้องถนนได้จริง ก็จำเป็นต้องได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ขับขี่ด้วย โดยเฉพาะด้านความปลอดภัย

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

ส่วนทางด้านญี่ปุ่น อีกหนึ่งประเทศแนวหน้าด้านเทคโนโลยี บริษัท โตโยตา เปิดเผยว่า กำลังวางแผนที่จะสร้างเมืองแห่งอนาคตในพื้นที่ตอนกลางของญี่ปุ่น ที่จะเน้นไปที่การใช้รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยเมืองแห่งใหม่ที่ว่านี้จะมีการสร้างบ้านเรือนและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เชื่อมโยงเข้ากับรถยนต์ที่ติดตั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

นอกจากนี้ยังต้องการที่จะสร้างถนนหนทางที่รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจะสามารถวิ่งได้ในทุกสภาพอากาศ อีกทั้งยังจะใช้รถยนต์เหล่านั้นในการให้บริการรับส่งผู้คน และบริการส่งสินค้าด้วย โดยกำหนดการการสร้างเมืองแห่งอนาคตเสร็จสมบูรณ์ถูกวางไว้ที่ช่วงปีค.ศ. 2025 จนถึง 2030

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ได้เผยร่างข้อเสนอสำหรับการปรับเปลี่ยนกฎหมายจราจรในประเทศ เพื่อให้รองรับการใช้งานรถยนต์ไร้คนขับในอนาคต โดยร่างข้อเสนอดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มุ่งหวังจะทำให้มีการใช้งานรถยนต์ไร้คนขับบนทางหลวงได้จริงภายในปี 2020 อย่างไรก็ตาม สำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่นมีแผนจะทำการศึกษาร่างข้อเสนอนี้เพิ่มเติมอีก ก่อนที่จะดำเนินการในขั้นต่อไปในปีนี้

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

และหากคิดว่ารถขับเคลื่อนอัตโนมัติที่กำลังเข้าใกล้ความจริงเรื่อยๆ นั้นน่าทึ่งแล้ว ความก้าวหน้าในการพัฒนารถยนต์บินได้ให้สามารถใช้ได้ในชีวิตจริงยิ่งน่าทึ่งกว่า เพราะตอนนี้กลุ่มคนจากทั้งอุตสาหกรรมเครื่องบินและบริษัทด้านไอทีของญี่ปุ่นได้รวมทีมกันเพื่อพัฒนารถยนต์บินได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นที่กำลังสร้างความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ อย่าง โบอิ้งและแอร์บัส รวมถึงบริษัทใหญ่ๆของญี่ปุ่น อย่าง ออลนิปปอน แอร์เวย์ส, เจแปน แอร์ไลน์, เอ็นอีซี และกลุ่มโครงการ คาร์ทิเวเตอร์ ที่มีบริษัทโตโยต้าให้การสนับสนุน

ตัวแทนของ คาร์ทิเวเตอร์ เปิดเผยหวังว่าจะสามารถเปิดตัวรถบินได้รุ่นต้นแบบในช่วงสิ้นปี 2019 เพื่อที่จะสามารถใช้จุดไฟโอลิมปิกในปี 2020 ที่กรุงโตเกียวจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันได้และคาดว่าจะเริ่มขายจริงในอีก 4 ปีหลังจากนั้น นอกจากนี้คณะทำงานยังมีแผนที่จะหารือกันเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของการใช้รถบินได้ รวมถึงบทบาทของรัฐบาลในการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวด้วย

https://www.youtube.com/watch?v=5HNbvXN5H-E

CARTIVATOR / FLYING CAR PROJECT

การพัฒนารถที่สามารถวิ่งได้บนถนนและบินได้บนอากาศเป็นเป้าหมายที่ทั่วโลกกำลังมุ่งหน้าที่จะลงมือทำให้สำเร็จ เพื่อหวังที่จะลดปัญหาการจราจรแออัดบนท้องถนน และทำให้การขนส่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในตอนนี้ทั้งยุโรป, อเมริกา, จีน และอีกหลายๆแห่งต่างก็ไปถึงขั้นตอนการทดสอบตัวต้นแบบของรถยนต์บินได้แล้ว

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

นอกจากนี้ การที่จะทำให้เทคโนโลยีรถยนต์บินได้ประสบความสำเร็จ โครงสร้างภายในของเมืองและอะไรอีกหลายๆ อย่างในเมืองก็จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้รองรับกับการใช้งานรถบินได้ด้วย รวมถึงการออกมาตรการความปลอดภัยต่างๆ ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

 

เทคโนโลยีด้านอวกาศที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

อีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ เทคโนโลยีด้านอวกาศ ที่มนุษยชาติเดินหน้าพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้เราสามารถศึกษาความลับของจักรวาลได้มากขึ้นเรื่อยๆ และในปี 2018 องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ นาซา ก็สามารถส่งยานสำรวจ อินไซต์ ไปลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารได้สำเร็จแล้ว ในภารกิจสำรวจอวกาศเพื่อศึกษาโครงสร้างภายในของดาวอังคารโดยเฉพาะ สร้างความดีใจและปลื้มปิติให้แก่ทางหน่วยงานเป็นอย่างมาก ซึ่งทางนาซาเองก็มีการถ่ายทอดสดเหตุการณ์นี้ทางออนไลน์ด้วย

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

ยานสำรวจอินไซต์ลงจอดบนที่ราบ เอลิเซียม แพลนนิเทีย ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรดาวอังคาร ซึ่งหลังจากที่ อินไซต์ ลงจอดอย่างปลอดภัยไม่นานก็ส่งภาพถ่ายพื้นที่บริเวณจุดลงจอดภาพแรกกลับมายังโลก โดยก่อนหน้านี้ทีมนักวิทยาศาสตร์และทีมนักวิศสกรของนาซาต่างลุ้นว่าภารกิจลงจอดจำเร็จหรือไม่ เพราะมีความยากลำบากหลายประการ ทั้งสภาพอากาศที่เอาแน่เอานอนไม่ได้บนดาวอังคารและปัญหาทางเทคนิคอื่นๆ

สำหรับภารกิจของยานสำรวจ อินไซต์ ก็คือ ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งมากับยานศึกษาโครงสร้างภายในของดาวอังคาร และศึกษากระบวนการก่อตัวและวิวัฒนาการของดาวอังคาร

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

ส่วนจีนก็ได้ส่งจรวด ลอง มาร์ช 3 บี พายานสำรวจอวกาศ ฉางเอ๋อ 4 ขึ้นสู่อวกาศไปสำรวจด้านมืดบนดวงจันทร์ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของภารกิจการพัฒนาด้านอวกาศของจีน โดยฉางเอ๋อ 4 จะลงจอดบนด้านมืดของดวงจันทร์ในเดือนนี้ที่ถือว่าเป็นเป็นครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ยานสำรวจลำอื่นๆ เคยเห็นแค่ด้านมืดของดวงจันทร์ แต่ยังไม่มียานใดลงจอดในพื้นที่ดังกล่าว

จับตาเทคโนโลยีโลก ก้าวล้ำสู่อนาคต

ฉางเอ๋อ 4 มีภารกิจเก็บตัวอย่างวัตถุและดินบนดวงจันทร์ รวมทั้งสำรวจองค์ประกอบของแร่ธาตุ การวัดการแผ่รังสีจากนิวตรอน และโครงสร้างอะตอม เพื่อนำมาศึกษาสภาพแวดล้อมของด้านมืดของดวงจันทร์ต่อไป

ปี 2019 นี้จึงน่าสนใจว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกพัฒนาไปถึงขั้นไหน และดูเหมือนว่าชีวิตโลกอนาคตแบบที่เราเคยเห็นในหนังก็ใกล้ความจริงเข้ามาเรื่อยๆ แล้ว

related