svasdssvasds

Chinese hunger!! จีนฮิตกิน “ทุเรียน” หวั่นทำลายผืนป่ามาเลย์ [คลิป]

Chinese hunger!! จีนฮิตกิน “ทุเรียน” หวั่นทำลายผืนป่ามาเลย์ [คลิป]

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่กำลังได้รับความนิยมสูงในจีน ทำให้เกิดความกังวลในมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ว่า ความนิยมทุเรียนจะทำให้เกิดปัญหาการทำลายป่าไม้ ส่งผลกระทบต่อผืนป่า เพื่อแผ้วถางเป็นสวนทุเรียนมากขึ้น

ทุเรียน หรือ ราชาแห่งผลไม้ เป็นผลไม้ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยรสชาติเนื้อครีมแน่นและกลิ่นแรง แม้กลิ่นจะไม่เป็นที่พึงประสงค์สำหรับหลายคน แต่กลับเป็นที่นิยมมากในจีน และจีนกลายเป็นตลาดนำเข้าทุเรียนรายใหญ่ที่หลายประเทศต้องการเข้าไปครองตลาด

 

มาเลเซียคือหนึ่งในนั้นบรรดาชาวสวนทุเรียนของมาเลเซียต่างพากันขยายสวนเล็กๆของตนให้เป็นฟาร์มทุเรียนระดับอุตสาหกรรมซึ่งทำให้บรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกังวลว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อพื้นที่ป่าฝนที่ตอนนี้เผชิญปัญหาจากการทำสวนปาล์มน้ำมันและการไม้ทำลายป่าอยู่แล้ว

เช่นที่เขตราอุบ ทางตอนกลางของมาเลเซีย ป่าฝนจำนวนมากถูกแผ้วถางเพื่อทำเป็นสวนทุเรียน พร้อมตาข่ายป้องกันอย่างดี พื้นที่นี้อยู่ติดกับป่าฝนเขตอนุรักษ์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ตั้งแต่ลิง ไปจนนกหายากด้วย

 

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ขณะที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงปักกิ่ง มีร้านที่ชื่อว่า "Little Fruit Captain" ซึ่งขายทุเรียนมาเลเซีย ผู้จัดการของร้านบอกว่า ลูกค้าตกหลุมรักทุเรียนจากมาเลเซีย เพราะมันมีรสหวานมากกว่าทุเรียนจากประเทศคู่แข่งอย่างไทย

 

หลิวเจอหลุนลูกค้าที่หาซื้อทุเรียนบอกว่าตนผมคิดว่าทุเรียนไทยมีกลิ่นแรงกว่าแม้จะหวานกว่าของมาเลเซียก็ตามแต่ก็รู้สึกเลี่ยนๆถ้าต้องกินมากเกินไปแต่สำหรับทุเรียนจากมาเลเซียที่ซื้อที่นี่ไม่ได้ทำให้รู้สึกเช่นนั้น

 

ทุเรียนสายพันธ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ Musang King ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นทุเรียนพันธ์ดีที่สุดของมาเลเซีย สนนราคาอยู่ที่ 800 หยวนต่อลูก หรือ เกือบสี่พันบาทเลยทีเดียว เป็นราคาที่สูงกว่าในมาเลเซียหลายเท่า

 

รัฐบาลมาเลเซียเองก็สนับสนุนอุตสาหกรรมทุเรียนเช่นกัน โดยกระทรวงเกษตรของมาเลเซียเผยว่า ปริมาณการส่งออกทุเรียนไปจีนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2018 มีมูลค่าราว 7.4 ล้านริงกิต หรือประมาณ 57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าสองเท่า นอกจากนี้รัฐบาลมาเลเซียยังคาดหวังว่า ข้อตกลงที่บรรลุในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว จะทำให้การส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปจีนเพิ่มขึ้นด้วย รวมถึงเพิ่มกำลังการผลิตทุเรียนในมาเลเซียให้ได้ราว 443,000 ตันภายในปี 2030

อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรของมาเลเซียย้ำว่าการขยายอุตสาหกรรมทุเรียนนั้นจะเป็นไปอย่างช้าๆรัฐบาลต้องการให้เกษตรกรใช้สวนที่มีอยู่แล้วและปลูกทุเรียนแทนที่พืชผลที่ไม่สามารถสร้างผลกำไรทางเศรษฐกิจได้ฉะนั้นจึงไม่สนับสนุนการทำลายป่าไม้เพื่อทำสวนทุเรียนในพื้นที่ใหม่

ทั้งนี้ ในปีที่ ชนเผ่าพื้นเมืองทางตอนเหนือของรัฐกลันตัน ได้ยับยั้งบริษัทเอกชนรายหนึ่งที่พยายามแปรพื้นที่ของพวกเขาให้เป็นเป็นสวนทุเรียน Musang King จนรัฐบาลมาเลเซียต้องเข้ามาแก้ปัญหาและสั่งฟ้องรัฐบาลของรัฐกลันตันที่ล้มเหลวในการปกป้องสิทธิบนผืนดินของชนพื้นเมือง

แม้รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงข้อพิพาทนี้แต่นักสิ่งแวดล้อมยังกังวลสถานการณ์ในภาพรวมเพราะยังมีแนวโน้มของการทำลายป่าไม้และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้นเพื่อทำสวนทุเรียนอยู่

 

โซฟีน ตัน นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พูดว่า “เราควรต้องมีสมดุลระหว่างเราจะผลิตเท่าไหร่ และจะดูแลมากเท่าไหร่ ธรรมชาติต้องคงอยู่เพื่อให้เรามีชีวิตรอด ไม่เช่นนั้นพวกเราก็คงจะไม่มีน้ำ และไม่มีอะไรเลย”

related