svasdssvasds

ความคาดหวังกับการประชุมสุดยอด "ทรัมป์-คิม" ครั้งที่ 2

การประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือ กำลังจะมีขึ้นสัปดาห์หน้านี้แล้ว ยิ่งใกล้ถึงวันความคาดหวังจากหลายฝ่ายก็ยิ่งสูงขึ้น ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ จะสามารถจูงใจ คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือให้ปลดอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่ และอาจต้องแลกกับการประกาศสันติภาพ และยุติสงครามเกาหลี

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เส้นรุ้ง หรือที่เรียกว่าเส้นขนานที่ 38 ได้กลายเป็นเส้นแบ่งเขตแดนเกาหลีเหนือ-ใต้ โดยสหรัฐฯเป็นกำลังสำคัญสนับสนุนฝั่งใต้ ขณะที่ฝั่งเหนือหนุนโดยสหภาพโซเวียต แต่แบ่งเขตแดนไม่ถึง 5 ปี ก็เกิดสงครามเกาหลีขึ้น และแม้ว่าจะมีการหยุดยิงในปี 1953 ลงนามโดยเกาหลีเหนือ จีน และ อีก 17 ชาตินำโดยสหรัฐฯ แต่ก็ไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ และทั้งสองฝ่ายยิ่งเหมือนตกอยู่ในภาวะสงครามเย็นลึกขึ้นไปอีก ความขัดแย้งบนคาบสมุทรเกาหลีนับเป็นสงครามที่ยาวนานที่สุดของสหรัฐฯ

ความคาดหวังกับการประชุมสุดยอด "ทรัมป์-คิม" ครั้งที่ 2

บทวิเคราะห์ของสำนักข่าวเอพี คาดการณ์ว่า ผู้นำเกาหลีเหนือตั้งแต่ยุค คิม อิลซอง ต้องการสนธิสัญญาสันติภาพ เพราะข้อตกลงนี้จะนับเป็นการได้รับการยอมรับจากนานาชาติ อาจนำไปสู่การผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร และอาจช่วยลดจำนวนทหารสหรัฐฯในเขตปลอดทหาร DMZ

ความคาดหวังกับการประชุมสุดยอด "ทรัมป์-คิม" ครั้งที่ 2

ถ้าสนธิสัญญาสันติภาพเกิดขึ้นได้จากการประชุมครั้งที่ 2 นี้ ก็จะช่วยผลักดันชื่อเสียง คิม จองอึน ทั้งในบ้านตัวเอง และในประชาคมโลก และจะกลายเป็นที่มาของความสงบสุขบนคาบสมุทร เพราะเกาหลีเหนือเคยระบุว่าต้องการเปลี่ยนใช้ทรัพยากรที่มจำกัดจากการป้องกันประเทศ ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร และพัฒนาเศรษฐกิจให้ทันสมัยแทน

ความคาดหวังกับการประชุมสุดยอด "ทรัมป์-คิม" ครั้งที่ 2

สหรัฐฯก็มีส่วนได้จากสนธิสัญญาสันติภาพเช่นกัน ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ เคยกล่าวว่าเขายินดีต้อนรับเกาหลีเหนือที่ให้ความสนใจไปที่การค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ความคาดหวังกับการประชุมสุดยอด "ทรัมป์-คิม" ครั้งที่ 2

แม้ว่าที่ผ่านมา ทรัมป์ไม่ค่อยได้ตอกย้ำเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่การผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร น่าจะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้เกาหลีเหนือสามารถผ่อนคลายความเข้มงวดในการควบคุมอิสรภาพของบุคคลประชาชนและอิสรภาพทางการเมือง

ความคาดหวังกับการประชุมสุดยอด "ทรัมป์-คิม" ครั้งที่ 2

แต่จากการพบกันครั้งที่สองนี้ สิ่งที่ คิม จองอึน จะเรียกได้ว่าเป็นชัยชนะ คือการประกาศสันติภาพขณะที่ปลดอาวุธนิวเคลียร์ไปด้วยอย่างเงียบๆ หรือยินยอมที่จะจำกัดการผลิต แต่ไม่ได้กำจัดอาวุธนิวเคลียร์ การจัดการประชุมสุดยอดโดยที่ไม่มีพันธสัญญาอย่างแน่ชัดว่าจะปลดอาวุธนิวเคลียร์ เป้นข้อต่อรองได้อย่างดีที่จะทำให้ คิม จองอึน ได้เป็นผู้นำรัฐนิวเคลียร์ แล้วการพบกันครั้งนี้จะเป็นแค่การเจรจาหรือจะกลายเป็นสนธิสัญญา ถ้าประธานาธิบดีทรัมป์เลือกที่จะทำ เขาสามารถประกาศยุติสงครามเกาหลีได้เลย บทความของเอพีระบุว่า จะกลายเป็นข่าวใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความถึงอะไรมากนัก ทรัมป์คนเดียวไม่สามารถตัดสินใจเรื่องสนธิสัญญาสันติภาพได้ จีนต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และวุฒิสภาสหรัฐฯต้องให้สัตยาบัณกับข้อตกลงก่อน

ความคาดหวังกับการประชุมสุดยอด "ทรัมป์-คิม" ครั้งที่ 2

ในปี 1993 นยุคของประธานาธิบดี บิล คลินตัน สหรัฐฯและเกาหลีเหนือเคยเจรจาถึงขั้นประกาศว่าจะทำให้เกิดคาบสมุทรเกาหลีที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ ใ แต่เพียงไม่กี่ปีหลังจากนั้น ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็กลับมาเรียกเกาหลีเหนือว่าเป็น Axis of Evil หรือ “แกนแห่งความชั่วร้าย” จนเกาหลีเหนือเริ่มทดสอบนิวเคลียร์ครั้งแรกในปี 2006 สุดท้าย บทความของเอพีสรุปว่า บทเรียนที่ได้คือ การสร้างสันติภาพที่แท้จริงนั้นจะต้องมีอะไรมากกว่าการแถลงการณ์ที่ยิ่งใหญ่จากการประชุมสุดยอดทรัมป์-คิมอีกครั้ง

ความคาดหวังกับการประชุมสุดยอด "ทรัมป์-คิม" ครั้งที่ 2

related