svasdssvasds

วิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาภายในโครงการสายแถบและเส้นทาง

นับเป็นโครงการที่ตอนนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ขณะเดียวกัน ก็มีการตั้งคำถามถึงปัญหาของโครงการ ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจีนก็มองว่า สุนทรพจน์ของผู้นำประเทศที่มีขึ้นในระหว่างการเปิดการประชุม สะท้อนให้เห็นแล้วว่า จีนตั้งใจทำโครงการดังกล่าวขึ้นมาเพื่อให้เป็นโครงการของทุกประเทศ ไม่ใช่ของจีนเพียงชาติเดียว

ความริเริ่มสายแถบและเส้นทางคือโครงการใหญ่ที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้ประกาศเอาไว้เมื่อปี 2013 มันคือโครงการขนาดใหญ่ที่จะเชื่อมโยงนานาประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน โดยนับจนถึงขณะนี้ มี 126 ประเทศ และ 29 องค์กรระหว่างประเทศที่ร่วมลงนามในข้อตกลงกับจีนในความริเริ่มดังกล่าวแล้ว สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของจีน

วิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาภายในโครงการสายแถบและเส้นทาง

วิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาภายในโครงการสายแถบและเส้นทาง

แผนการใหญ่ที่จะเกิดขึ้นก็คือรถไฟ ต้องยอมรับว่ารถไฟสายด่วนจีน-ยุโรปประสบความสำเร็จด้วยการเชื่อมต่อ 62 เมืองขนาดใหญ่ของจีน เข้ากับ 51 เมืองใหญ่ในยุโรป ใน 15 ประเทศ โดยนับตั้งแต่ทางรถไฟสายนี้เปิดทำการในปี 2011 มีรถไฟออกวิ่งแล้วทั้งหมด 14691 ขบวน และตัวเลขการขนส่งสินค้าไปมาระหว่างกันสร้างมูลค่ามากถึง 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 ขณะที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนก็จะเชื่อมโยงเข้ากับลาว และสินค้าจากมณฑลยูนนานก็จะสามารถส่งมาขายตลาดอาเซียนได้สะดวกมากขึ้น

วิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาภายในโครงการสายแถบและเส้นทาง

วิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาภายในโครงการสายแถบและเส้นทาง

วิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาภายในโครงการสายแถบและเส้นทาง

ส่วนสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงในช่วงการเปิดงานประชุม เน้นย้ำถึงความร่วมมือระหว่างประเทศอยู่หลายครั้งด้วยกัน ซึ่ง ผศ.ดร. หลี่ เหรินเหลียง คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ระบุว่า ประธานาธิบดีสีได้ตอกย้ำว่า ความริเริ่มดังกล่าวไม่ใช่ของจีนเพียงชาติเดียว จีนแค่เป็นฝ่ายเสนอ และทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน

วิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาภายในโครงการสายแถบและเส้นทาง

เช่นเดียวกันกับ สุมิท ฟาน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไทย-จีน มองว่านี่คือการแบ่งปัน และสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีก็เป็นเหมือนการตอบคำถามที่คนทั้งโลกสงสัยกันเกี่ยวกับตัวโครงการ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม

วิเคราะห์ความก้าวหน้าและปัญหาภายในโครงการสายแถบและเส้นทาง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศต่างๆจะร่วมมือและลงนามในความริเริ่มสายแถบและเส้นทางกับจีน แต่นักวิชาการก็ออกมาเตือนถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะวาทะกรรม “กับดักหนี้สิน” ที่ทำให้ประเทศที่จีนเข้าไปลงทุนกลายเป็นหนี้อย่างเสียไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร. หลี่ เหรินเหลียง มองว่า นี่ก็เป็นเพียงแค่วาทะกรรมเท่านั้น เพราะถ้าหากจะยกตัวอย่างประเทศศรีลังกา หนี้สินที่เกิดจากจีนนั้นคิดเป็นเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของหนี้สินประเทศศรีลังกาเท่านั้น

related