svasdssvasds

เกรตากับโลกร้อน “กล้าดีอย่างไร ที่บอกว่าทำเพียงพอแล้ว”

เกรตากับโลกร้อน “กล้าดีอย่างไร ที่บอกว่าทำเพียงพอแล้ว”

เกรตา ทุนเบิร์ก ตัวแทนเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ผู้นำโลกแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง กล่าวต่อหน้าการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ว่าพวกเธอจะไม่มีวันให้อภัย หากผู้ใหญ่ล้มเหลวกับการแก้ปัญหา

เกรตากล่าวอย่างไม่เกรงใจว่าเธออยู่ต่อหน้ากลุ่มผู้นำประเทศมหาอำนาจ “ฉันไม่ควรต้องขึ้นมาพูด ฉันควรกลับไปเรียนที่อีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทร แต่พวกคุณเข้ามาหาเรา หาเด็กๆเพื่อ “ความหวัง” กล้าดีอย่างไร พวกคุณขโมยความฝันของฉัน ชีวิตวัยเด็กของฉัน คำพูดที่ว่างเปล่าของคุณ แล้วนี่ ฉันคือหนึ่งในคนที่โชคดีแล้ว ผู้คนกำลังทนทุกข์ คนกำลังตาย ระบบนิเวศน์ทั้งระบบกำลังล้มเหลว เรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการสูญสิ้นครั้งใหญ่ แต่สิ่งที่พวกคุณเอาแต่พูดถึงคือเรื่องเงิน และนิทานเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจชั่วนิรันดร์ กล้าดีอย่างไร”

[caption id="attachment_548754" align="alignnone" width="840"] เกรตากับโลกร้อน “กล้าดีอย่างไร ที่บอกว่าทำเพียงพอแล้ว” สิ่งที่เกรตาต้องการสื่อสารกับผู้นำโลกนั้นชัดเจนเหมือนกับทุกครั้งที่ผ่านมา เธอกล่าวหาว่าผู้นำทั้งหลายไม่ทำอะไรมากพอที่จะบรรเทาภาวะโลกร้อน “กว่า 30 ปี วิทยาศาสตร์ชัดเจนอย่างมาก กล้าดีอย่างไรที่คุณเบือนหน้าไปทางอื่น แล้วมาพูดที่นี่ว่าคุณได้ทำเพียงพอแล้ว เมื่อยังไม่เห็นแววการเมืองและมาตรการแก้ปัญหาที่จำเป็นอย่างยิ่ง คุณบอกว่าคุณได้ยินเสียงของเรา และคุณเข้าใจความเร่งด่วน แต่ไม่ว่าฉันจะเศร้าและโกรธขนาดไหน ฉันไม่อยากจะเชื่อ เพราะถ้าคุณเข้าใจสถานการณ์จริงๆ และยังล้มเหลวที่จะทำอะไรอีก นั่นคือคุณเป็นคนชั่วร้าย และนั่นเป็นสิ่งที่ฉันไม่อยากเชื่อ”[/caption]

เรื่องราวของเกรตา ทุนเบิร์กเริ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เมื่อเธอนั่งประท้วงหน้าอาคารรัฐสภาของสวีเดน หยุดเรียนประท้วงรัฐบาล ถือป้ายทำเองที่เขียนว่า “หยุดเรียนประท้วงภาวะโลกร้อน” ไม่กี่เดือนต่อมา การประท้วงอย่างโดดเดี่ยวเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนในกว่าร้อยประเทศทั่วโลกออกมาเดินขบวนเรียกร้องกับกิจกรรม “วันศุกร์เพื่ออนาคต”

[caption id="attachment_548757" align="alignnone" width="840"] เกรตากับโลกร้อน “กล้าดีอย่างไร ที่บอกว่าทำเพียงพอแล้ว” เกรตา ทุนเบิร์ก ที่หน้าอาคารรัฐสภาสวีเดน สิงหาคม 2018[/caption]

การจูงใจให้เกรตามาที่การประชุมครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เธอปฏิเสธที่จะขึ้นเครื่องบินไปงานประชุมเศรษฐกิจโลกที่ดาวอส เพราะปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เธอเลือกที่จะเดินทางด้วยรถไฟ ใช้เวลา 32 ชั่วโมง

การเดินทางมานิวยอร์กเพื่อการประชุมสหประชาชาติครั้งนี้ เกรตาได้รับข้อเสนอให้แล่นเรือยอร์ชข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

ก่อนหน้าการประชุมวานนี้ เกรตาและเยาวชนอีก 15 คน ได้ยื่นเรื่องร้องทุกข์กับสหประชาชาติ ระบุว่าผู้นำเขตเศรษฐกิจของโลก 5 ประเทศได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของพวกเธอ ด้วยการไม่แก้ปัญหาหยุดยั้งวิกฤติการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น โดย 5 ประเทศในเอกสารนั้นคือ เยอรมนี ฝรั่งเศส บราซิล อาร์เจนตินา และตุรกี เอกสารอธิบายว่าประเทศเหล่านี้ล้มเหลวในการปฏิบัติตามคำสัญญาที่ให้ไว้ภายใต้ข้อตกลงสิทธิเด็กที่บรรลุเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

เกรตากล่าวในการประชุมที่นิวยอร์กว่า พวกเธอกำลังจับตามองผู้ใหญ่ และถ้าผู้ใหญ่ล้มเหลว พวกเธอ "จะไม่มีวันให้อภัย"

[caption id="attachment_548755" align="alignnone" width="840"] เกรตากับโลกร้อน “กล้าดีอย่างไร ที่บอกว่าทำเพียงพอแล้ว” ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[/caption]

[caption id="attachment_548756" align="alignnone" width="840"] เกรตากับโลกร้อน “กล้าดีอย่างไร ที่บอกว่าทำเพียงพอแล้ว” บิล เกตส์ ที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[/caption]

related