svasdssvasds

ถอดบทเรียนมาตรการจากประเทศที่ลด อัตราการเสียชีวิตจากปืน อย่างได้ผล

ถอดบทเรียนมาตรการจากประเทศที่ลด อัตราการเสียชีวิตจากปืน อย่างได้ผล

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่เกิดเหตุการกราดยิงจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในเหตุเดียว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีผู้เสียชีวิตในสถานการณ์แบบนี้ ลองมาดูว่าเราจะเรียนรู้อะไรจากประเทศที่สามารถลด อัตราการเสียชีวิตจากปืน ได้จนเกือบหมด

ออสเตรเลียลด อัตราการเสียชีวิตจากปืน โดยให้ประชาชนขายปืนให้รัฐบาล

ออสเตรเลียเกิดเหตุรุนแรงขึ้นหลายครั้งในช่วงยุค 80 และ 90 จนถึงปี 1996 ที่เกิดเหตุกราดยิงจนมีผู้เสียชีวิต 35 รายจนทำให้รัฐบาลหากลยุทธที่จะควบคุมจำนวนปืน ในที่สุด รัฐบาลออกโครงการซื้อปืนจากประชาชน ใช้งบประมาณไปหลายร้อยล้านดอลลาร์ ซื้อปืนคืนจากประชาชนได้ราว 6 แสนกระบอก ขณะที่อัตราผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนลดลงถึงครึ่งหนึ่งในเงลาไม่กี่ปี รวมถึงยอดเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายด้วยอาวุธปืน

ญี่ปุ่นใช้บททดสอบอย่างเข้มงวดก่อนอนุญาตให้ครอบครองปืน

ญี่ปุ่นมีกฎหมายควบคุมการครอบครองอาวุธปืนที่เข้มงวดมาก มีผู้เสียชีวิตด้วยอาวุธปืนโดยเฉลี่ยไม่ถึงปีละ 10 คน จากจำนวนประชากร 127 ล้านคน ถ้าต้องการเป็นเจ้าของปืน ต้องผ่านการสอบข้อเขียน และสามารถยิงปืนได้แม่นอย่างน้อย 95 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้น ต้องผ่านบททดสอบด้านจิตวิทยาที่โรงพยาบาล ในขณะที่รัฐบาลจะตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และสัมภาษณ์เพื่อนและครอบครัว และเมื่อได้ครอบครองปืนแล้ว ซึ่งจะซื้อได้แค่ปืนลูกซองหรือปืนอัดลมเท่านั้น หลังจากนั้น ต้องมีการเข้าสอบใหม่ทุก 3 ปี

อังกฤษใช้มาตรการหลายขั้นตอน

อังกฤษใช้มาตรการหลายขั้นตอนและหลายด้าน ในช่วงที่ออสเตรเลียเริ่มใช้กฎหมายควบคุมอาวุธปืน รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ผ่านกฎหมายห้ามเอกชนเป็นเจ้าของปืนสั้นในอังกฤษ และห้ามปืนกึ่งอัตโนมัติและปืนปั๊มแอ็คชั่นทั่วราชอาณาจักร และเจ้าของปืนลูกซองต้องชบทะเบียนกับรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีโครงการซื้อปืนจากประชาชน ใช้งบประมาณราว 200 ล้านดอลลาร์ ซื้อปืนคืนได้ 162,000 กระบอก และลูกกระสุนราว 700 ตัน หลังจากนั้น จำนวนสามารถลด อัตราการเสียชีวิตจากปืน ลงเหลือราว 50 ถึง 60 คนต่อปี เทียบประชากร 56 ล้านค

นิวซีแลนด์กำลังเริ่มมาตรการคล้ายคลึงกับของออสเตรเลีย

นิวซีแลนด์ต้องเผชิญกับเหตุกราดยิงครั้งใหญ่เมื่อเดือนมีนาคมปี 2019 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 51 ราย คนร้ายใช้ปืนกึ่งอัตโนมัติก่อเหตุกราดยิงผู้คนในมัสยิด 2 แห่ง ผู้นำนิวซีแลนด์ จซินดา อาร์เดน ระบุว่า “วันที่ 15 มีนาคม ได้เปลี่ยนประวัติศาสตร์ไปตลอดกาล และกฎหมายเราจะเปลี่ยนด้วย” เธอประกาศว่าจะต้องปรับกฎหมายครอบครองอาวุธปืน และทำให้ประเทศปลอดภัยขึ้น

6 วันต่อมา อาร์เดนประกาศแบนปืน ภายในเดือนกันยายน รัฐบาลใช้ประมาณราว 23 ล้านดอลลาร์ ซื้อปืนราว 2 หมื่นกระบอก พร้อมชิ้นส่วนราว 75,000 ชิ้นจากประชาชน จนถึงเดือนพฤศจิกายน รัฐบาลเก็บปืนจากประชาชนได้ราว36,000 กระบอก

related