svasdssvasds

โควิด 19 จะก่อให้เกิด วิกฤติเศรษฐกิจ ที่เร็วที่สุด รุนแรงที่สุด ในประวัติศาสตร์

โควิด 19 จะก่อให้เกิด วิกฤติเศรษฐกิจ ที่เร็วที่สุด รุนแรงที่สุด ในประวัติศาสตร์

วิกฤติเศรษฐกิจ และภาวะความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ทั่วไปแล้ว จะใช้เวลาถึง 3 ปี จนกว่าจะเห็นผลกระทบเต็มๆ แต่วิกฤติจาก โควิด 19 กลับเห็นผลกระทบในเวลาเพียง 3 สัปดาห์ เป็นสัญญาณของวิกฤติความตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่

แรงกระแทกทางเศรษฐกิจจาก โควิด 19 เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่า วิกฤติเศรษฐกิจ การเงินเมื่อปี 2008 มาก และจะหนักยิ่งกว่าภาวะความตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อปีช่วงปี 1929 ถึงปี 1933

วิกฤติเศรษฐกิจ ทั้งสองครั้งที่ว่ามา ตลาดหุ้นตกลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า ตลาดเครดิตถูกแช่แข็ง ตามด้วยการล้มละลายครั้งใหญ่ อัตราว่างงานพุ่ง ขณะที่จีดีพีตกต่ำ แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาราว 3 ถึง 4 ปี แต่วิกฤติที่กำลังเผชิญกันตอนนี้ จะได้ผลกระทบที่รุนแรงไม่แพ้กัน แต่เกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งเดือน

สำนักข่าว เดอะการ์เดียน เผยแพร่บทวิเคราะห์ของ เศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ศาสตราจารย์นูเรียล รูบินี ระบุว่า เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯใช้เวลา 15 วันก่อนตกลงสู่จุดวิกฤติ เป็นการตกลงเร็วที่สุดที่เคยมีมา ตอนนี้ตกลงมาแล้ว 35 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ตลาดเครดิตเริ่มชะลอ

พูดได้ว่า ส่วนประกอบทุกอย่างที่จะนำไปสู่ความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุนด้านเอกชน หรือการส่งออก ต่างอยู่ในช่วงดำดิ่ง

ในระหว่างที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจการเงินปี 2008 หรือภาวะความตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อช่วงปี 1930 กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ได้ถูกปิดพร้อมกันมากขนาดนี้

ความเป็นไปได้ ที่จะเกิดผลกระทบน้อยสุด ก็ยังเป็นผลกระทบที่หนักกว่าวิกฤติการเงินปี 2008 แต่เป็นช่วงเวลาที่สั้นกว่า และหวังว่าอัตราการเติบโตจะเป็นบวกในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ในกรณีนี้ ตลาดจะเริ่มฟื้นตัวเมื่อเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

รูบินี ระบุว่า แต่ผลกระทบจะเกิดน้อยที่สุด มีเงื่อนไขหลายอย่าง เงื่อนไขแรก สหรัฐฯ และอังกฤษ และประเทศอื่นที่เศรษฐกิจกระทบหนักมากๆ ต้องมีมาตรการทดสอบ ติดตาม และการบำบัด ผู้ติดเชื้อ โควิด 19 ในวงกว้าง และมีการกักกันโรคอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งล็อคดาวน์อย่างจริงจังเหมือนที่จีนทำ และเพราะอาจใช้เวลาถึง 18 เดือนกว่าที่วัคซีนจะคิดค้นสำเร็จและผลิตได้จำนวนมาก ต้องมีวิธีการอย่างอื่นที่บำบัดได้ในวงกว้าง

เงื่อนไขที่สอง ผู้กำหนดนโยบานการเงิน ต้องโยนมาตรการที่ผิดแปลกไปจากเดิมเข้าใส่วิกฤติครั้งนี้ อย่างเช่น ดอกเบี้ยเป็นศูนย์หรือถึงขนาดเป็นลบ มีแนะแนวทางที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ การผ่อนคลายเครดิต การผ่อนคลายเชิงปริมาณ ต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดกลางละขนาดย่อมมากขึ้น

เงื่อนไขที่สาม รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ รวมไปถึงการแจกเงินประชาชนด้วย ถ้าดูขนาดของแรกกระแทกทางเศรษฐกิจ การขาดดุลงบประมาณในประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าต้องเพิ่มจีดีพีจาก 2-3 เปอร์เซ็นต์ ไปถึง 10 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และมีธนาคารกลางของแต่ละประเทศเท่านั้นที่มีกำลังพอจะป้องกันไม่ภาคเอกชนพังทลาย

แต่การแทรกแซงการขาดดุลต้องใช้กำลังเงินอย่างเต็มที่ ถ้าเป้นการเงินผ่านหนี้รัฐบาลตามมาตรฐาน ดอกเบี้ยต้องเพิ่มสูงอย่ารวดเร็ว และต้องฟื้นฟูอย่างเหนื่อยหอบภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่ดีที่สุดที่สามารถจะเกิดขึ้น การตอบสนองทางสาธารณสุขของประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าทั้งหลาย กลับไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ และนโยบานการเงินที่กำลังถกกันอยู่ ก็ไม่ใหญ่พอและเร็วพอที่จะสร้างเงื่อนไขให้เกิดการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ความเสี่ยงในการเกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ที่หนักกว่าที่เคยมีมา เพิ่มมากขึ้นทุกวัน

นอกเสียจากว่าการระบาดจะยุติลง เศรษฐกิจและตลาดทั่วโลกก็ยังจะดำดิ่งต่อไป และแม้ว่าสามารถควบคุมการระบาดได้ การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมก็อาจจะไม่กลับมาภายในสิ้นปีนี้ และหลังจากนั้น ก็ถึงฤดูไวรัสอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าจะกลายพันธุ์ การแทรกแซงการรักษาที่หลายประเทศกำลังคาดหวังอาจกลายเป็นมีประสิทธิภาพน้องกว่าที่คาด และเศรษฐกิจก็จะหดตัวอีกครั้ง และตลาดหุ้นจะร่วงลงอย่างรุนแรงอีกครั้ง

รูบินีทิ้งท้ายว่า สิ่งที่ต้องระวังคือ มาตรการทางการเงินที่ใช้ จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดเงินเฟ้อ  โดยเฉพาะในช่วงที่การระบาดของไวรัสกระทบห่วงโซ่อุปทาน จนทำให้อัตราการเติบโตเสียหาย และมีหลายประเทศที่จะไม่มีกำลังพอที่จะใช้มาตรการเหล่านี้ ใครจะนำเงินทุนไปช่วยเหลือรัฐบาล บริษัทต่างๆ ธนาคาร และประชาชนในประเทศกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่

ที่มา The Gaurdian

related