svasdssvasds

การประท้วง เหยียดผิว ครั้งนี้ เผยให้เห็นแผลว่าสหรัฐฯกำลังทำสงครามกับตัวเอง

การประท้วง เหยียดผิว ครั้งนี้ เผยให้เห็นแผลว่าสหรัฐฯกำลังทำสงครามกับตัวเอง

ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์สถานการณ์การประท้วง เหยียดผิว ในสหรัฐฯ ว่าเป็นประเทศที่อยู่ระหว่างสงครามกับตัวเอง ทั้งความเชื่อ อุดมคติ และคำสัญญาที่มีต่อเสรีภาพและความยุติธรรม

ภาพเมืองลุกเป็นไฟในสหรัฐฯ ทำให้หลายๆ คนนึกถึงภาพฉากสงครามกลางเมืองในภาพยนตร์ เป็นภาพที่เผยให้เห็นแผลลึกของปัญหา เหยียดผิว ตัวตน ประวัติศาสตร์ และการเมือง ที่ทำให้สังคมอเมริกันแตกแยก

ผู้สื่อข่าวอาวุโสของสำนักข่าวเอบีซีของออสเตรเลีย สแตน แกรนต์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่าว่า การตายของ จอร์จ ฟลอยด์ เป็นการตอกย้ำความรู้สึกของคนผิวดำในสหรัฐฯ ว่าอเมริกาไม่ใช่ดินแดนแห่งเสรีภาพ

การเมืองสองฝ่ายต่างโต้เถียงกัน และสื่อรายใหญ่ก็เลือกข้าง

นักรัฐศาสตร์ชาวออสเตรเลีย มาร์ก ลิลลา ระบุว่า สหรัฐฯกำลังอยู่ในช่วง “แตกตื่นทางศีลธรรม” การยึดติดกับตัวตนทางการเมืองที่เป็นพื้นฐานของ “ความหายนะต่อการเมืองแบบประชาธิปไตย”

ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย เอมี ชวา ระบุว่าการเมืองแบบแบ่งพรรคแบ่งพวกได้จุดชนวนการปฏิวัติในสหรัฐ “สถานการณ์ใหม่ที่เต็มไปด้วยความอันตราย ที่แทบจะไม่มีใครยืนหยัดขึ้นมาโดยไม่มีตัวตนทางการเมือง”

พายุสองฝั่ง

ทั้งการประท้วงประเด็น เหยียดผิว และการชุมนุมต่อต้านมาตรการล็อกดาวน์ก่อนหน้านี้ เป็นส่วนหนึ่งของพายุที่ทำให้สหรัฐฯกำลังต่อสู้กับจิตวิญญาณของตัวเอง

สหรัฐฯอยู่ใสถานการณ์วิกฤตมาสองทศวรรษแล้ว ตั้งแต่เหตุการณ์เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์เทรด ทำให้สหรัฐฯเริ่มสงครามในอัฟกานิสถาน อิรัก และหลายพื้นที่ในตะวันออกกลาง สงครามที่อาจจะไม่มีวันยุติ ไปจนถึงวิกฤตการเงินในปี 2008 ที่เผยให้เห็นรอยร้าวลึกในสังคมอเมริกันกับความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้น

วิกฤตครั้งนั้น คนจำนวนมากต้องสูญเสียบ้าน สูญเสียอาชีพการงาน บางคนไม่เคยฟื้นตัวได้อีก ความเคืองแค้นทวีคูณ เมื่อสถาบันการเงินกลับได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล

สงครามและความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ ทำให้สหรัฐฯ อ่อนแอ และเป็นเวลาเดียวกับที่ต้องเผชิญความท้าทายจากนอกบ้าน

ความเข้มแข็งขึ้นของประเทศเผด็จการอย่างจีน ที่กำลังท้าทายอิทธิพลสหรัฐฯ และก็ดูเหมือนว่ากำลังอยู่ในเส้นทางที่จะแซงหน้าสหรัฐฯทางขนาดเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ จีนยังทุ่มทุนพัฒนาศักยภาพทางทหาร และขยายอิทธิพลด้วยโครงการสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road) ที่ลงทุนเป็นล้านล้านดอลลาร์ และยังมีโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีศักยภาพจะสร้างระเบียบโลกใหม่

ขณะเดียวกัน รัสเซียก็กำลังเพิ่มอิทธิพลในตะวันออกกลาง ในขณะที่สหรัฐฯกำลังถดถอย

เราเริ่มเห็นความเป็นประชาธิปไตยถดถอย และคนทั่วโลกเริ่มหันมามองผู้นำแบบ Strongman คือผู้นำแบบเด็ดขาด หรือที่เรียกกันว่า บุรุษเหล็กหรือสตรีเหล็ก

และในระหว่างที่โลกมองอเมริกาเป็นต้นแบบแห่งประชาธิปไตยยุคใหม่ แต่อเมริกากลับกำลังเรียกกำลังพลสำรองลงถนนเพื่อรับมือกับประชาชนตัวเอง

ประท้วง สหรัฐฯ

ก่อนเวลาของทรัมป์

กว่าทศวรรษที่แล้ว นักข่าวและผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง ฟารีด ซาคาเรีย ได้เคยเตือนถึง “โลกหลังอเมริกา” ระบุว่า เราอาจถึงจุดนั้นแล้วก็เป็นได้ ไม่ใช่ว่าสหรัฐฯนั้นไม่มีอิทธิพลอีกต่อไป เพียงแต่ว่าอิทธิพลนั้นไม่ได้เด็ดขาดอีกต่อไป

หนังสือชื่อ “How Democracies Die” (ประชาธิปไตยสูญสิ้นอย่างไร) โดยศาสตราจารย์ สตีเฟน เลวิตสกี จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดของสหรัฐฯ ระบุว่า ประชาธิปไตยสูญสิ้นในสงคราม และก็ด้วยมือของผู้นำที่ได้รับเลือกตั้งมา “ที่ล้มล้างกระบวนการทำทำให้ตัวเองขึ้นมามีอำนาจ”

หนังสือเล่มดังกล่าวแสดงความกังวลว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐฯ จะโจมตีสถาบันประชาธิปไตย ศาล และสื่อมวลชน และกลัวว่าสหรัฐฯจะทอดทิ้งบทบาทในฐานะผู้ส่งเสริมประชาธิปไตย

แต่หนังสือก็อธิบายว่า การออกนอกลู่นอกทางประชาธิปไตยนั้น มีมาตั้งแต่ก่อนยุคของทรัมป์ “การปกป้องประชาธิปไตยของอเมริกาได้อ่อนข้อลงมาเป็นสิบปีแล้ว”

บทวิเคราะห์ของสำนักข่าวเอบีซีระบุว่า ผู้คนฝากความหวังกับ บารัก โอบามา เมื่อเขากล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับชัยชนะเลือกตั้งเมื่อปี 2008 ว่าพละกำลังของอเมริกามาจาก “ประชาธิปไตย เสรีภาพ และความหวังที่ไม่ย่อท้อ” แต่เมื่อโอบามาหมดวาระ อเมริกากลับไม่ได้เป็นหนึ่งเดียว กลุ่มคนที่เคยโหวตให้เขา หันหลังให้พรรคเดโมแครต และโอบามาถูกวิจารณ์ว่าไม่ส่งเสียงเรื่องปัญหา เหยียดผิว เพียงพอ และความเคลื่อนไหว “Black Lives Matter” ก็เริ่มขึ้นในยุคของโอบามา

เรื่องการเมืองโลก โอบามาลงจากตำแหน่งทั้งที่ยังมีปัญหารัฐอิสลาม (IS) ค้างคา เกาหลีเหนือที่มีอาวุธนิวเคลียร์ รัสเซียที่บุกยึดไครเมีย และจีนที่พัฒนาด้านทหารจนเข้มแข็งในพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้

สถานะของอเมริกา

แกรนต์ กล่าวว่า หากเราจะตัดสินผู้นำโดยดูที่ว่าใครเป็นคนมารับช่วงต่อ มรดกที่โอบามาทิ้งไว้ให้สหรัฐฯและทิ้งไว้ให้โลก คือ โดนัลด์ ทรัมป์

“โดนัลด์ ทรัมป์ ใช้วาทะกรรมแบ่งแยก” เพื่อชักจูงกลุ่มคะแนนเสียงทางการเมืองสุดโต่งที่ “ต้องการประเทศคืน”

ทรัมป์ไม่ได้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นเอง แต่เขาหาประโยชน์จากสิ่งที่ชนชั้นกรรมสิทธิ์ทางการเมืองสร้างขึ้น คือกลุ่มคนที่รู้สึกแปลกแยกและรู้สึกว่ารัฐบาลหักหลัง และทรัมป์ใช้วาทกรรมว่าจะทำให้อเมริกายิ่งใหญ่อีกครั้ง

แกรนต์สรุปท้ายว่า สถานะของอเมริกาตอนนี้ คือ ความแบ่งแยก ความไม่สงบ และมักมีความรุนแรงระหว่างชนชั้นทางการเมือง ที่ถ้าไม่ดูถูกกัน ก็ตกเป็นเหยื่อของความวิตกกังวล

เหยียดผิวและ ความเหลื่อมล้ำ ในสหรัฐฯ ที่โควิด 19 ทำให้เห็นชัดเจนขึ้นอีก

สถิติพบว่า คนผิวดำในสหรัฐฯติดเชื้อและเสียชีวิตมากกว่าคนผิวขาวหลายเท่า ตอกย้ำปัญหา ความเหลื่อมล้ำ และการตายของจอร์จ ฟลอยด์ ก็ยิ่งย้ำปัญหาเหยียดผิว หลายคืนที่ผ่านมา ...

related