svasdssvasds

ห้ามพลาด 14 -15 ธ.ค. 2ปรากฎการณ์ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน

ห้ามพลาด 14 -15 ธ.ค. 2ปรากฎการณ์ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” และ ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน

2นักดาราศาสตร์ระบุคืนพรุ่งนี้(14 -15 ธ.ค.)  ชม “ฝนดาวตกเจมินิดส์”ปะทะดาวตกสูงสุดหลังเที่ยงคืนวันที่ 14 ถึงรุ่งเช้าวันที่ 15 ธันวาคม 2561 สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วทุกภูมิภาค ในที่มืดสนิท คนภาคตะวันออก-กรุงเทพฯดูได้ที่หอดูดาวหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา  ฟรี!

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติถึงปรากฏการณ์ดาราศาสตร์  กล่าวว่า  “ในค่ำคืนวันที่ 14 ต่อเนื่องถึงรุ่งเช้าวันที่ 15 ธ.ค.61 นี้ จะมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่   ซึ่ง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 4-17 ธันวาคมของทุก ๆ ปี

ในปี 2561 นี้คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดประมาณ 120 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ กลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 20.05 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่มีแสงจันทร์รบกวนในช่วงหัวค่ำ ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 23.30 น. ดังนั้น จะสามารถสังเกตฝนดาวตกได้ชัดเจน   และเริมปะทะดาวตกสูงสุด   ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 14 ไปจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 15 ธันวาคม 2561

“ ผู้สนใจชมปรากฎการณ์ฝนดาวตกควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ฝนดาวตกเจมินิดส์มีจุดเด่นคือมีความเร็วของดาวตกไม่มากนัก ประกอบกับมีอัตราตกค่อนข้างมากจึงสังเกตได้ง่าย สามารถมองเห็นได้รอบทิศ ถือเป็นโอกาสดีในการสังเกตการณ์ฝนดาวตก

 และในปีนี้ สดร. จัดกิจกรรมดาราศาสตร์ ต่อเนื่องด้วยการ ชมฝนดาวตกเจมินิดส์ตลอดทั้งคืน ตั้งแต่ค่ำวันที่ 14 ธันวาคม ถึงรุ่งเช้าวันที่ 15 ธันวาคม 2561 ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา จึงขอเชิญชวนผู้สนใจและประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม

[gallery columns="1" size="full" ids="401590,401591,401592,401593,401594,401595,401596"]

ฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อยจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม (fireball) ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือเป็นดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดเรเดียนท์ (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรือใกล้เคียงกับกลุ่มดาวอะไร ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ หรือ ดาวที่อยู่ใกล้กลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต เป็นต้น”ดร.ศรัณย์  กล่าว

และกล่าวเพิ่มเติม  “นอกจากนี้ยังจะได้ชมของแถม  คือดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน (46/P Wirtanen) ที่จะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 16 ธันวาคม 2561 นี้   โดยในช่วงหัวค่ำวันที่ 14 ธ.ค.นั้นจะสามารถชมได้   ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 11.5 ล้านกิโลเมตร

นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ค่าความสว่างที่ตาคนเราสามารถสังเกตเห็นได้อยู่ที่แมกนิจูด 6 ยิ่งค่าน้อยยิ่งมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้าควรมืดสนิทปราศจากแสงและเมฆรบกวน สำหรับประเทศไทยสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ เวลาประมาณหนึ่งทุ่มถึงตีสี่ บริเวณกลุ่มดาววัว จึงขอเชิญชวนผู้สนใจติดตามปรากฏการณ์ดังกล่าว”

สำหรับการสังเกตการณ์ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน   สามารถสังเกตได้ด้วยกล้องสองตาที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 7-10 เท่าขึ้นไปหรือกล้องโทรทรรศน์ และหากต้องการถ่ายภาพ ควรเลือกช่วงเวลาที่ดาวหางอยู่ในตำแหน่งสูงจากขอบฟ้ามากที่สุด เพื่อหลีกหนีมวลอากาศที่บริเวณขอบฟ้า สิ่งสำคัญคือต้องถ่ายภาพในบริเวณที่มืดสนิท ไม่มีแสงไฟ แสงดวงจันทร์หรือเมฆหมอกรบกวน

ดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน (46P/Wirtanen) เป็นดาวหางคาบสั้นขนาดเล็ก มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณแถบไคเปอร์ ถัดจากวงโคจรของดาวเนปจูน ค้นพบโดย คาร์ล เอ. เวอร์ทาเนน นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 กิโลเมตร จะโคจรมาใกล้โลกประมาณทุก 5 ปี แต่สำหรับปีนี้ นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าจะมีความสว่างมากที่สุด และมีโอกาสสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า จึงเป็นดาวหางที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง”   ดร.ศรัณย์  กล่าว

ขณะที่นายวรวิทย์  ตันวุฒิบัณฑิตย์  ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดาราศาสตร์ไทยกล่าวว่า  “ การเกิดฝนดาวตกเจมินิดส์มาจากดาวคนคู่และดาวเคราะห์น้อยเฟทรอนพีคสูงสุดวันที่ 14 ธ.ค.หลังเที่ยงคืนไปแล้วต่อเนื่องถึงวันที่ 15 ธ.ค.จำนวนดาวตกระหว่าง60-80ดวง/ชม.  น่าติดตามเพราะมาตรงเวลาทุกปี

พร้อมกับสามารถชมดาวหางใกล้โลกอีก 1ดวงในวันดังกล่าวเริ่มจากช่วงหัวค่ำ   โดยหอดูดาวฉะเชิงเทราจะตั้งกล้องให้เห็นดาวหางคือ ดาวหาง46พี เวอร์ทาเนนอย่างชัดเจนพร้อมกล้อง2ตาขนาดยักษ์ให้สัมผัสดาวหาง

โอกาสนี้เป็นโอกาสดี ดังกล่าวนี้   มีโรงเรียน  ที่มาร่วมกิจกรรมชมฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower ) หรือ ฝนดาวตกคนคู่  พร้อมของแถมดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน (46/P Wirtanen)

จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วม   โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ในวันที่ 14 ธ.ค.61   จะได้ชมที่หอดูดาวฉะเชิงเทรานี้ผ่านกล้อง 2 ตาและกล้องดูดาวขนาด 70 ซม.  และ  นอกจากนี้   ยังจะได้ชมดาวหางสเตฟานอีก 1ดวงเป็นของแถมท้าย    พร้อมดาวเคราะห์อื่นหลายอย่างช่วงหัวค่ำ  เช่น  ดาวอังคาร,ดาวเสาร์,ดาวเนปจูนและดวงจันทร์ขึ้น 8 ค่ำที่สวยงาม

มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม หัวค่ำดูท้องฟ้าจำลอง  จากนั้นดูดาว เริ่มจากดูดวงจันทร์ก่อน ,ดาวเคราะห์,ดาวหางคือ 46Pไวทาเนนท์  และ  ฝนดาวตกเจมินิดส์พร้อมกัน”นายวรวิทย์  กล่าว