svasdssvasds

ชวนเที่ยวนิทรรศการแห่งเกียรติและศักดิ์ศรีของ 3 ชาติพันธุ์ ไทย-ไท่หย่า-ไผวัน

ชวนเที่ยวนิทรรศการแห่งเกียรติและศักดิ์ศรีของ 3 ชาติพันธุ์ ไทย-ไท่หย่า-ไผวัน

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

การสักลาย นับเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมประเพณีที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของหลากหลายชาติพันธุ์ การสักในภูมิภาคเอเชียก็เช่นกันที่มีมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของควาเป็นตัวตนของชนเผ่าต่างๆ เป็นศิลปะควรค่าแห่งการอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป

มิวเซียมสยามและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไต้หวัน ร่วมกันจัดนิทรรศการ “สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” บอกเล่าความเป็นมาแห่งรอยสักของ 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ไทย ไท่หย่า และไผวัน

ชวนเที่ยวนิทรรศการแห่งเกียรติและศักดิ์ศรีของ 3 ชาติพันธุ์ ไทย-ไท่หย่า-ไผวัน

ภายในนิทรรศการมีการแบ่งเป็น โซนสีดำกล่าวถึงรอยสักของไทย และ โซนสีแดงเป็นเรื่องราวรอยสักของไต้หวัน

เพดานห้องนิทรรศการ มีการตกแต่งด้วยเชือกสีขาวมากมาย ตรงปลายห้อยตัวอักษร รูปภาพต่างๆ ที่แตกต่างกัน โดยเชือกสีขาวเป็นตัวแทนของท้องฟ้าหรือสวรรค์ ส่วนลวดลายต่างๆ ที่ห้อยบริเวณปลายเชือกนั้นเป็นตัวแทนของรูปรอยสัก

โซนสีดำ บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมารอยสักแห่งเกียรติยศของไทย ที่นิยมสักกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีทั้งสักลาย สักยันต์ สักเลก อย่างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน รวมถึง อักขระศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี อีกด้วยการสักลายของไทยในยุคสมัยก่อนนั้นมักนิยมเรียกตามลักษณะการสัก เช่น ผู้ที่สักตั้งแต่เข่าขึ้นไปไม่สักพุงจะเรียกว่า ลาวพุงขาว ส่วนผู้ที่สักตั้งแต่ช่วงขาขึ้นมาจนถึงพุง เรียกว่า ลาวพุงดำ ซึ่งคำว่า “ลาว” ในที่นี้เป็นการเรียกชื่อคนไทยสมัยก่อนทั้งผู้ที่อยู่ภาคเหนือ ภาคอีสาน รวมไปถึงเวียงจันทน์ และหลวงพระบาง เป็นการเรียกขานกลุ่มคนตามเขตการปกครอง

ชวนเที่ยวนิทรรศการแห่งเกียรติและศักดิ์ศรีของ 3 ชาติพันธุ์ ไทย-ไท่หย่า-ไผวัน

ส่วนชาวล้านนาในยุคนั้นนิยมสักลายสัตว์รูปมอมหรือสิงห์มอม ซึ่งเป็นสัตว์หิมพานต์ รูปร่างคล้ายลูกสิงโต มักนิยมสักช่วงล่างของร่างกายตรงบริเวณขา และนกยูงซึ่งจะปรากฏในรอยหยักรอบเอว นอกจากนี้ยังมีรูปอื่นๆ เช่น ดอกไม้ หนู เมฆหรือลม นกกระจาบ นกแร้ง สิงโต ค้างคาว ชะมด ราชสีห์ นก เสือ ช้าง ลิง รวมถึง หนุมาน โดยน้ำหมึกที่ใช้สักมาจากการนำเขม่าไฟผสมกับดีหมี ดีงูเหลือม หรือดีวัวกระทิงด้านโซนสีแดงของไต้หวัน เป็นการแสดงวัฒนธรรมของชาวไท่หย่าที่มีความเชื่อว่าหากผู้ใดมีรอยสักบนใบหน้า หลังจากเสียชีวิตจะสามารถข้ามสะพานแห่งสายรุ้งเข้าสู่โลกแห่งวิญญาณและได้พบบรรพบุรุษ ซึ่งรอยสักบนใบหน้านี้กว่าจะได้มาไม่ง่ายเลย ผู้ชายต้องเก่งกาจในการล่าสัตว์ และพิสูจน์ความเป็นนักรบโดยการตัดหัวข้าศึกกลับมาให้ได้  ส่วนผู้หญิงวัดที่ความขยันและความสามารถด้านการทอผ้าและเพาะปลูก หลังจากได้รับการยอมรับฝ่ายชายจะได้สักบนใบหน้าบริเวณคางและหน้าผาก ส่วนผู้หญิงจะได้รับการสักบนใบหน้าบริเวณกลางหน้าผาก เป็นเหมือนรูปสายรุ้งบริเวณรอบปากยาวไปแก้มจนถึงใบหูชาวไผวัน จะไม่นิยมสักบนใบหน้า แต่จะสักบนลำตัว หน้าอก หลัง แขน และมือ รอยสักจะบ่งบอกสถานะและชนชั้นทางสังคม ฉะนั้นการจะสักลวดลายใดต้องได้รับการอนุญาตจากทางหัวหน้าเผ่าก่อน ไม่เช่นนั้นจะได้รับการลงโทษและถูกกีดกันจากคนในเผ่า

การสักของชาวไผวันนั้น ผู้หญิงจะสักบนมือ ผู้ชายจะสักช่วงตัวตามไหล่ แขน หลัง ลวดลายที่ใช้จะเป็นลายงู ลายอาณาเขตประเพณี ลายเลข 8 ลายตะขอ(ลายนี้จะอนุญาตให้สักเฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้น) ลายหางแมงป่อง ลายแผ่นดิน ลายพระอาทิตย์ ลายสี่เหลี่ยม และลายคน ห้องนิทรรศการถัดมาจะมี วิดีทัศน์สารคดีสั้นๆ เล่าเรื่องรอยสักจาก 3 กลุ่มชาติพันธุ์ และอุปกรณ์การสัก ซึ่งจะมีวีดีทัศน์แสดงขั้นตอนการสักให้ชมด้วย และมีภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงของชนเผ่าที่ต่อต้านการปกครองของญี่ปุ่นหลังจากถูกกดขี่มายาวนานกว่า 35 ปี

ชวนเที่ยวนิทรรศการแห่งเกียรติและศักดิ์ศรีของ 3 ชาติพันธุ์ ไทย-ไท่หย่า-ไผวัน

นอกจากนี้ยังมีโซนกิจกรรม มีโต๊ะเล่นเกมส์การ์ดศึกแห่งสักสี และโต๊ะปั๊มรอยสักชั่วคราวตามแบบของชาวไผวัน ถือเป็นจุดยอดฮิตก่อนกลับที่ทุกคนมาแล้วต้องเล่น บ้างปั๊มใส่กระดาษ ปั๊มใส่มือ

นิทรรศการ”สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” ที่มิวเซียมสยาม เปิดให้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจนถึงวันที่ 27 ตุลาคมนี้ สามารถเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน(MRT) ปลายทาง”สถานีสนามไชย” เดินมาทางออก 1  ขึ้นมาก็จะเจอมิวเซียมสยามทันที

ชวนเที่ยวนิทรรศการแห่งเกียรติและศักดิ์ศรีของ 3 ชาติพันธุ์ ไทย-ไท่หย่า-ไผวัน