svasdssvasds

8 พฤติกรรม ลดความเสี่ยงป่วย-เสียชีวิต!! "โรคหัวใจ"

8 พฤติกรรม ลดความเสี่ยงป่วย-เสียชีวิต!! "โรคหัวใจ"

โรคหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มทุกปี แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง แนะ 8 พฤติกรรมที่สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยเพื่อป้องกันโรคหัวใจไปตลอดชีวิต

29 กันยายน ของทุกปี เป็นวันหัวใจโลก อีก 1 โรคที่ไม่ควรละเลย หรือมองข้าม เพราะถือเป็นโรคที่ร้ายแรงหากไม่รักษา เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ด้านอายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ระบุ สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และพบได้ในช่วงอายุที่น้อยลงเรื่อย ๆ สาเหตุไลฟ์สไตล์ของเด็กยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป

8 พฤติกรรม ลดความเสี่ยงป่วย-เสียชีวิต!! "โรคหัวใจ"

สถานการณ์ จำนวนผู้ป่วย-ตาย ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ในประเทศไทย

-กลุ่มอายุ น้อยกว่า 15 ปี ผู้ป่วย 1,508 คน ตาย 11 คน

-กลุ่มอายุ 15-39 ปี ผู้ป่วย 9,406 คน ตาย 198 คน

-กลุ่มอายุ 40-49 ปี  ผู้ป่วย 24,591 คน ตาย 562 คน

-กลุ่มอายุ 50-59 ปี ผู้ป่วย 73,756 คน ตาย1,878 คน

-กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป  ผู้ป่วย 306,035 คน ตาย 18,598 คน

(ข้อมูล..กระทรวงสาธารณสุข)

นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการอาวุโส โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวถึง นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 – 2014 คนไทยป่วยและเสียชีวิตจากโรคหัวใจ (ischemic heart disease IHD) และหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 24 และร้อยละ 41.3 ตามลำดับ เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปัจจัยเสี่ยงได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เกิดจากหากมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกาะที่ผนังหลอดเลือด จะทำให้เกิดการอักเสบและภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เมื่อการสะสมเพิ่มมากขึ้นหลอดเลือดแดงในร่างกายส่วนต่างๆจะมีการตีบหรืออุดตัน เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายทำให้เสียชีวิต รวมทั้งอัมพฤกษ์อัมพาต โดยค่าปกติของคอเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. และระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 150 มก./ดล. ทั้งนี้ภาวะไขมันในเลือดสูง มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบผิด ๆ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในเส้นเลือดและนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด

[caption id="attachment_351167" align="alignnone" width="1477"] 8 พฤติกรรม ลดความเสี่ยงป่วย-เสียชีวิต!! "โรคหัวใจ" นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการอาวุโส โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ[/caption]

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่สามารถควบคุมป้องกันได้

1.มีภาวะความดันโลหิตสูง

2.มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

3.ภาวะอ้วนลงพุง

4.การสูบบุหรี่

5.ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

6.การเป็นโรคเบาหวาน

7.การไม่ออกกำลังกาย

8.การไม่กินผักและผลไม้

9.ความเครียด

อีกหนึ่งปัจจัยคือ เกิดจากพันธุกรรม ที่ป้องกันและแก้ไขไม่ได้

สำหรับปี 2561 นี้ สมาพันธ์หัวใจโลก ได้กำหนดคำขวัญในการรณรงค์ว่า “My Heart, Your Heart : ใจเขา ใจเรา” ซึ่งเป็นการทำสัญญากับตัวเอง โดยประเด็นในการสัญญา 3 ข้อ คือ

1.สัญญา...ว่าจะดื่มกินอย่างชาญฉลาด ด้วยการลดบริโภคเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลและน้ำผลไม้ที่มีรสหวาน เปลี่ยนจากการกินขนมหวานมากินผลไม้สดแทน งดดื่มแอลกอฮอล์

2.สัญญา...ว่าจะกระฉับกระเฉงมากขึ้น ด้วยการตั้งเป้าอย่างน้อย 30 นาที กับการออกกำลังกายในระดับเข้มข้น 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์

3.สัญญา...ว่าจะโบกมือลาบุหรี่ ด้วยการเลิกบุหรี่

8 พฤติกรรม ลดความเสี่ยงป่วย-เสียชีวิต!! "โรคหัวใจ"

[gallery size="large" columns="2" ids="351173,351172"]

ดูแลป้องกันหัวใจให้ห่างไกลโรคกับพฤติกรรม 8 อย่าง สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย เพื่อป้องกันโรคหัวใจไปตลอดชีวิต

1.เลี่ยงอาหารอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ - ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ เพราะไขมันทรานส์เป็นการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืชให้คงสภาพกึ่งแข็งกึ่งเหลว ถูกนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น เบเกอรี่ โดนัท คุกกี้ ครีมเทียม เนยเทียม และอาหารประเภทจังส์ฟู้ด

2.จัดการความเครียดให้อยู่หมัด หลายคนเลือก เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ เป็นต้น

3.ควรนอนให้ได้ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน - หากเรานอนกรนหรือตื่นมาแล้วไม่สดชื่นควรตรวจเช็กสุขภาพการนอนกับแพทย์ โดยเฉพาะอาชีพที่เข้างานเป็นกะหรือเป็นช่วงที่นอนน้อยติดต่อกันหลายวัน ควรต้องมีช่วงพักผ่อน (Vacation time) ให้ยาวขึ้นเป็นการชดเชย

4. การออกกำลังกายช่วยหัวใจแข็งแรงในระยะยาว - การออกกำลังกายแบบ Fat-burn เป็นการออกกำลังกายในช่วงอัตราการเต้นของหัวใจเหมาะสม และมีสัดส่วนการเผาผลาญไขมันมากที่สุด ที่ 70% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดในแต่ละช่วงอายุ โดยมีสูตร 0.7 x (220 – อายุ) จะเท่ากับอัตราเต้นของหัวใจที่เหมาะสม การออกกำลังกายในระดับปานกลางใช้ระยะเวลาประมาณครั้งละ 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ ช่วยรักษาอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม หรือการเดินออกกำลังกายตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ว่า เดินให้ได้ 10,000 ก้าวต่อวัน จะช่วยบริหารหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง

[gallery columns="2" size="large" ids="351176,351175"]

5.ระวังเบาหวาน ไขมัน ปัจจัยเร่งหลอดเลือดให้เสื่อมไว - ระดับน้ำตาลควรอยู่ที่ประมาณ 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เพราะหากค่าสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน ควบคุมระดับความดันเลือดให้เป็นปกติที่ความดันตัวบน 120 ความดันตัวล่างที่ 80 ในคนที่ตรวจพบตะกรันคราบหินปูน ณ จุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย เช่น หลอดเลือดคอ หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่

6.ควรควบคุมระดับไขมันในร่างกาย - ออกกำลังกายเป็นประจำ งดการสูบบุหรี่ และรักษาระดับของ HDL ไขมันดีให้มากกว่า 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร บุหรี่ตัวการใหญ่หลอดเลือดหัวใจไม่แข็งแรง การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะสูบมากหรือสูบน้อยส่งผลต่อความเสี่ยงโรคหัวใจเท่ากัน เนื่องจากสารนิโคตินและก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่และสารอื่นๆ ในบุหรี่ มีผลทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ผนังเส้นเลือดหนา เกิดคราบหินปูนเกาะบริเวณหลอดเลือด เส้นเลือดเกิดความอ่อนแอเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ หัวใจเกิดการทำงานผิดปกติ ขาดออกซิเจนและหัวใจวายเฉียบพลันได้

7.วิตามินธรรมชาติบำรุงหัวใจ - การเลือกรับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอาหารบำรุงหัวใจ ได้แก่ อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 มีมากในปลาทะเล ปลาน้ำจืด เช่น ปลาทู ปลาช่อน ปลาแซลมอล

8.การสร้างสัมพันธ์ที่ดีทางสังคม - ยุคปัจจุบันที่ Social Media เข้ามามีอิทธิพลกับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ การพูดคุยสื่อสารกันผ่านแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ยังไม่อาจช่วยให้รู้สึกดีได้เท่ากับการเห็นหน้าพูดคุยกัน บางครั้งการใช้โซเชียลมากเกินไป กลับยิ่งทำให้เกิดความเครียดจากการเปรียบเทียบชีวิตตนเองกับชีวิตผู้อื่น เพิ่มขึ้นอีกด้วย