svasdssvasds

สังเกต 2 อาการ กับ 5 วิธีป้องกัน ฟันผุในเด็ก!!

สังเกต 2 อาการ กับ 5 วิธีป้องกัน ฟันผุในเด็ก!!

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรเอาใจใส่ดูแล "โรคฟันผุ" ภัยใกล้ตัวอีกหนึ่งโรคที่ไม่ควรมองข้าม หลังมีการโพสต์ เตือนฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน-ติดเชื้อ

เด็กไทย กับ "โรคฟันผุ" หลังมีการโพสต์ เตือนฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน-ติดเชื้อ

เป็นอีกโพสต์อุทาหรณ์ ที่ชาวโซเชียลแห่แชร์เตือนใจ เมื่อเฟซบุ๊ก Pitayarat Sitkongkhajorn ได้โพสต์เรื่องราว เผยว่า อุทาหรณ์ สำหรับพ่อแม่ที่คิดว่าฟันผุแค่เรื่องธรรมดา #เคสนี้เนื่องจากฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน และเกิดการติดเชื้อ จึงต้องถอนฟันและเจาะระบายหนองให้ยาฆ่าเชื้อนอนโรงพยาบาล 1 อาทิตย์ และ ส่งล้างแผลต่อที่รพ.สต.

รักลูกช่วยลูกแปรงฟันทุกวัน รักลูกอย่าเลี้ยงลูกด้วยขนมไปวันๆ ด้วยความปราถนาดีจากเรา

ปล. รูปได้รับอนุญาติจากผู้ปกครองเด็กแล้วนะคะ

....โปรดอย่าใช้คำรุนแรงในการคอมเม้นต์ นะคะ. โพสต์นี้ตั้งใจให้เป็นแค่อุทาหรณ์จริงๆค่ะ

สังเกต 2 อาการ กับ 5 วิธีป้องกัน ฟันผุในเด็ก!!

 

โรคฟันผุ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากร่วมกับเศษอาหารและน้ำลาย สะสมเป็นคราบขี้ฟันหรือคราบแบคทีเรีย ซึ่งมีลักษณะเหนียวเกาะติดแน่นอยู่ตามผิวฟัน ไม่สามารถหลุดออกจากการบ้วนน้ำหรือการเช็ดเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้ แบคทีเรียเหล่านี้สามารถเปลี่ยนน้ำตาลและแป้งให้เป็นกรดที่มีฤทธิ์ทำลายผิวฟันจนเกิดเป็นรูเล็กๆ เมื่อรูเล็กๆ ขยายใหญ่ขึ้น เด็กจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน และปวดฟันได้

อายุการใช้งาน ฟันน้ำนม 

ฟันน้ำนมจะเป็นฟันที่เด็กใช้งานไม่น้อยกว่า 5-10 ปี ก่อนจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ฟันน้ำนมของเด็กนั้นมีโอกาสผุได้ง่ายและลุกลามไวกว่าฟันแท้ เนื่องจากชั้นเคลือบฟันน้ำนมมีความบางกว่าฟันแท้

การสังเกตอาการฟันผุในเด็ก

สังเกตฟันผุ ในระยะเริ่มแรกของเด็กได้จาก

1.รอยสีขาวขุ่นบริเวณคอฟัน

2.มีจุดสีดำหรือสีน้ำตาลเล็กๆ บนผิวฟัน

และเมื่อเมื่อพบรูผุที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเด็กจะมีอาการปวดฟัน หรือเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำเย็น น้ำร้อน หรือของหวาน ควรได้รับการรักษาโดยการอุดฟัน ซึ่งเมื่อฟันผุลุกลามจนเกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน เด็กจะปวดฟันมากจนนอนไม่หลับ ต่อมาจะเกิดหนอง ถึงขั้นนี้ก็คงจะต้องทำการรักษารากฟันหรือถอนฟัน

สังเกต 2 อาการ กับ 5 วิธีป้องกัน ฟันผุในเด็ก!!

ในเด็กที่มีฟันผุลุกลามมาก สามารถพบการติดเชื้อและเป็นหนองลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น แก้ม ดวงตา และสมอง หรืออาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ฟันผุ ป้องกันได้ 

การป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่ทำให้ฟันผุได้ด้วยหลายวิธีทั้ง

-การเลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสมกับเด็ก

-การเลือกยาสีฟัน

-การปลูกฝังให้เด็กแปรงฟันอย่างถูกวิธี

-ไปพบทันตแพทย์หรือทันตบุคลการเพื่อตรวจฟันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

-เมื่อตรวจพบรอยผุขนาดเล็ก ก็จะทำการรักษาได้ไม่ยุ่งยาก หากรอจนฟันผุลุกลามหรือเด็กมีอาการปวดฟันแล้วจึงค่อยไปพบทันตแพทย์ ก็อาจสายเกินไปที่จะรักษาฟันซี่นั้นไว้ได้

 

ขอบคุณข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข