svasdssvasds

6 อาการบ่งชี้ "โรค 4S" โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

6 อาการบ่งชี้ "โรค 4S" โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

เรามาทำความรู้จักโรคนี้กัน โรค 4S โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารก และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี รวมถึงมีโอกาสเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีโรคไตด้วย

หลังจากคุณแม่ท่านหนึ่งโพสต์ เล่าเรื่องราวเตือนภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยของตนวัยเพียง 5 เดือน เกี่ยวกับ “โรค SSSS” ถือว่าเป็นโรคร้ายแรงมากที่สุด เกี่ยวกับการติดเชื้อทางผิวหนังอย่างรุนแรง ต้องให้ยาปฏิชีวนะ ถ้าไม่ทันอาจติดเชื้อเข้ากระแสเลือดถึงชีวิตได้ โดยโรคนี้จะเป็นเด็กทารก ถึง 5 ขวบ และควรให้ความสำคัญการสัมผัสโดยทางตรงและทางอ้อม ก่อนสัมผัสเด็กเล็กควรล้างมือก่อน”

เรามาทำความรู้จักโรคนี้กัน โรค 4S โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ฟังแล้วอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไรนัก แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ

โรค 4S โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

โรคนี้เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Staphylococcus aureus โดยเชื้อแบคทีเรียจะปล่อยท็อกซิน ออกมาทำให้ชั้นผิวหนังกำพร้ามีการหลุดลอกแบบตื้นๆ

อาการของโรค 4S

1.เด็กจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ตัวแดง งอแง เจ็บบริเวณผิวหนัง

2. อาจมีน้ำมูกไหล มีหนอง เยื่อบุตาอักเสบ ติดเชื้อแบคทีเรียที่สะดือ หูน้ำหนวก หากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เชื้อกระจายมากขึ้นหรือได้รับเชื้อโรคจากผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อดังกล่าวได้

3.โรคผิวหนังชนิดหนึ่งมีอาการผิวหนังเริ่มด้วยอาการหลุดลอกมีจุดเล็กๆ สีเหลือง หนังที่แดงเริ่มปริออกเหมือนคนถูกน้ำร้อนลวก

4.ผิวหนังแดงที่เบ้าตา 2 ข้าง รอบปาก ก้น ซอกพับ

5.ผื่น สามารถกระจายไปทั่วตัวอย่างรวดเร็ว 1-2 วัน

6.จากนั้นจะสังเกตเห็นการลอกของผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการแยกตัวของหนังกำพร้าชั้นตื้น มีแผลถลอกตื้นๆ หรือเป็นแผ่นและสะเก็ด ลักษณะจำเพาะ คือ สะเก็ดลอกจะเรียงเป็นเส้นๆ ในแนวรัศมี รอบปาก และดวงตา

ลักษณะจำเพาะ คือ สะเก็ดลอกจะเรียงเป็นเส้นๆ ในแนวรัศมี รอบปาก และดวงตา การวินิจฉัยแยกโรค ต้องแยกกับอาการแพ้ยา โรคคาวาซากิ ผิวไหม้จากแดด

จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารก และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี รวมถึงมีโอกาสเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีโรคไตด้วย เนื่องจากไม่มีภูมิต้านทานต่อท็อกซินและไตไม่สามารถทำงานได้ดีในการขับท็อกซินออกไปจากร่างกาย

การรักษา

โรคนี้รักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ เพื่อกำจัดเชื้อที่สร้างท็อกซิน ให้สารน้ำให้เพียงพอเนื่องจากผู้ป่วยมีการสูญเสียน้ำทางผิวหนังมากกว่าปกติ

สำหรับการรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้และแก้ปวด ร่วมกับการดูแลแผล โดยผิวหนังจะหายเป็นปกติหลังจากผื่นหาย  ในเด็กเล็กหรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ จะต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิด เช่น ภาวะขาดสารน้ำ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต