svasdssvasds

มารู้จัก "ทำมัง" ไม้กลิ่นแมงดา!! ประโยชน์เพียบ ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์

มารู้จัก "ทำมัง" ไม้กลิ่นแมงดา!! ประโยชน์เพียบ ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์

ผู้สื่อข่าวสปริงนิวส์ได้ลงพื้นที่ ได้มาพบ "ต้นทำมัง" เกิดขึ้นอยู่บริเวณริมห้วย ขี้เท่อ ตำบลขะเนจื้อ จังหวัดตาก พื้นดินเป็นดินปนทราย พื้นที่โดยรอบ เป็นป่าดิบ

มารู้จัก "ไม้ทำมัง" ก่อนจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ทำมัง เป็นไม้เนื้อแข็ง จัดอยู่ในไม้หวงห้ามประเภท ข เป็นไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์ ถิ่นกำเนิดมักพบกันในภาคใต้ ลำต้น สามารถสูงได้ถึง 30 เมตร มีอายุอยู่ได้ประมาณ 50 ปี

มารู้จัก "ทำมัง" ไม้กลิ่นแมงดา!! ประโยชน์เพียบ ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์

ประโยชน์

-นิยม ใช้ ใบอ่อน นำมาทำเป็นผักจิ้ม

-ใบแก่ เปลือก นิยมนำมาตำกับน้ำพริก

-ให้กลิ่นคล้ายกลิ่นแมงดานา เหมาะสำหรับคนที่รับประทานมังสวิรัติ

-ลำต้น ในอดีตนิยมนำมาทำเป็นไม้กระดาน ซึ่งเนื้อไม้ ปลวกหรือ มอด จะไม่กัดกิน

-นิยมนำไม้มาทำสาก ตำน้ำพริก เนื่องจากให้กลิ่นคล้ายกับกลิ่นแมงดานาตัวผู้

สรรพคุณ

-ใบ เปลือก ผล ใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงเลือด

ผลวิจัย ไม่พบการเป็นพิษ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Litsea Petiolata Hook.f. อยู่ในวงศ์ LAURACEAE บางพื้นที่เรียกว่า ต้นชะมัง และแมงดาต้น มีถิ่นกำเนิด แหลมมาลายู และคาคใต้ของไทย ลำต้นสูงเท่าที่เห็น คือราวๆ 5-10 เมตร ลำต้นตรง กิ่งก้านแตกเป็นทรงพุ่มราว 4-6 ม. ทรงพุ่มรูปกรวยกว้างหรือรูปไข่ ไม่ผลัดใบเปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ผิวเปลือกต้น ค่อนข้างเรียบ แต่บางต้นอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก และมีรอยด่างสีขาวกระจายทั่วไป เปลือกอ่อนใกล้ยอดสีเขียว

-ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับตามกิ่ง มีก้านใบยาว 1-3 ซม. สีเขียว ใบรูปทรงรี โคนใบมนกลม ปลายใบแหลมมีติ่งเล็กน้อย กว้าง 4-8 ซม.ยาว 6-10 ซม.ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนย่นเป็นลอน ใบอ่อนสีน้ำตาล อมชมพู ใบสีเขียว ด้านล่างสีจางเล็กน้อย แต่ละใบมีเส้นแขนง 5-9 คู่

-ดอก ออกเป็นช่อกระจุกราว 6-8 ดอก ตามกิ่งแก่ สีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ดอกตูมทรงกลม กลีบรวมเรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ สีเขียวคล้ายช้อน มีเกสรเพศผู้12 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางของดอก 0.ภ4-0.7 ซม. ก้านดอกยาวราว 1 ซม. ออกดอกเดือนประมาณกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปี

-ผล รูปทรง ทรงกลมรีคล้ายรูปไข่ กว้าง 0.5-0.8 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. สีเขียวเข้ม เมื่อสุกสีน้ำเงินเข้ม ปลายแยกเป็น 6 แฉก ด้านในมีเมล็ดสีน้ำตาล

ขณะที่ทาง ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ ได้มาพบ "ต้นทำมัง" เกิดขึ้นอยู่บริเวณริมห้วย ขี้เท่อ ตำบลขะเนจื้อ จังหวัดตาก พื้นดินเป็นดินปนทราย พื้นที่โดยรอบ เป็นป่าดิบ แสดงว่า ต้นทำมังสามารถ นำมาปลูกได้ในหลายภูมิภาคของประเทศไทย

[gallery columns="2" size="large" ids="388153,388152"]

ที่มา : คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ ,สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข