svasdssvasds

ต้องดูแลตัวเอง "ฝุ่นPM 2.5" อณูเล็กแทรกซึมเข้าสู่รูขุมขนได้ มีผลกับทุกอวัยวะในร่างกาย

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

สถานการณ์มลพิษหมอกควันในหลายพื้นกำลังเป็นปัญหาวิฤต กระทบต่อสุขภาพของประชาชน  นายแพทย์อภินันท์ ตันติวุฒิ อายุรแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลลานนา ระบุว่า มลพิษหมอกควันปีนี้มีสถานการณ์ค่อนข้างรุนแรง นัยยะสำคัญสอดคล้องกับสภาพอากาศที่มีความแห้งแล้งสูง จากการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมและเขตป่า รวมทั้งมลพิษจากปัจจัยอื่นๆ ทำให้ฝุ่นที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ พีเอ็ม 2.5 เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมามาก แต่ชาวเชียงใหม่ตระหนักและตื่นตัวกับ พีเอ็ม 2.5 ค่อนข้างน้อย จึงไม่ค่อยเห็นใครใส่หน้ากาก เอ็น 95 ป้องกันพีเอ็ม 2.5 มากเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับประชากรในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังใช้หน้ากากธรรมดาซึ่งกันฝุ่น พีเอ็ม 2.5 ไม่ได้ แต่หากจำเป็นก็ควรใช้หน้ากากแบบธรรมดาซ้อนกัน 2 ชั้น

ต้องดูแลตัวเอง "ฝุ่นPM 2.5"  อณูเล็กแทรกซึมเข้าสู่รูขุมขนได้ มีผลกับทุกอวัยวะในร่างกาย

นายแพทย์อภินันท์ กล่าวอีกว่า พีเอ็ม 2.5 สามารถแทรกซึมเข้าไปในอาคารได้ จึงต้องใส่หน้ากากเอ็น 95 ให้ถูกต้องปิดสนิทกับชับกับใบหน้า เพราะหากใส่ผิดก็ไม่แตกต่างกับการใส่หน้ากากแบบธรรมดา อย่างไรก็ดีการใช้หน้ากากพีเอ็ม 2.5 ระยะยาวจะคุ้มกว่า ขณะที่ปัจจุบันราคาหน้ากากเอ็น 95 ไม่แพงมากและเริ่มถูกลงขึ้นกับแต่ยี่ห้อ ส่วนการใช้ผ้าชุบน้ำมาปิดจมูกไม่แนะนำเพราะไม่สามารถป้องกัน พีเอ็ม 2.5 ได้

อย่างไรก็ตามการหลีกเลี่ยง พีเอ็ม 2.5 ที่ดีที่สุด คืองดทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง เพราะพีเอ็ม 2.5 มีความอันตรายสูงในแง่สามารถทะลุทะลวงหลอดลมเข้าไปสู่ถุงลมข้างในลึกๆได้ จึงสามารถกระตุ้นให้โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพองกำเริบ ขณะเดียวกันสารพิษก็จะเข้าไปสะสมในร่างกาย ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าสารพิษใน พีเอ็ม 2.5 จะสะสมในร่างกายนานแค่ไหน มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตมากน้อยเพียงใด และเป็นตัวก่อมะเร็งด้วยหรือไม่ แต่ในระยะยาวคาดว่าจะมีผลการศึกษาที่แน่ชัดออกมาว่า พีเอ็ม 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพด้านใดบ้าง

ต้องดูแลตัวเอง "ฝุ่นPM 2.5"  อณูเล็กแทรกซึมเข้าสู่รูขุมขนได้ มีผลกับทุกอวัยวะในร่างกาย

ขณะที่ พีเอ็ม 2.5 ยังสามารถดูดซึมเข้าตามชั้นผิวหนังของคนเราได้ เพราะรูขุมขนของคนมีขนาดใหญ่กว่าพีเอ็ม 2.5 จึงกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ ผืนขึ้น และทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบได้ด้วย การสวมใส่เสื้อแขนยาวจึงช่วยป้องกันพีเอ็ม 2.5 ไม่ให้ดูดซึมเข้าผิวหนังได้ในระดับหนึ่ง

นายแพทย์อภินันท์ แนะนำว่า การหลีกเลี่ยงพีเอ็ม 2.5 ที่ดีที่สุด คือ พยายามใช้เวลาอยู่ในที่โล่งแจ้งให้สั้นที่สุด งดเว้นการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง และผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง ซึ่งมักถูกละเลย จึงต้องจัดสภาพแวดล้อมในห้องให้ดี ปิดมิดชิดไม่ให้ฝุ่นเล็กลอดเข้าไป เพราะพีเอ็ม 2.5 มีอณูเล็กมาก หากเข้าไปสู่ถุงลมก็สามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ และหากรับเข้าไปในปริมาณมาก เชื่อว่าจะกระทบต่อระบบการเผาผลาญ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา มีการตอบสนองที่ผิดปกติ และอาจจะมีความเสี่ยงต่อโรคบางโรคเพิ่มขึ้น เพราะพีเอ็ม 2.5 มีผลกับทุกอวัยวะในร่างกาย

ขณะเดียวกันแพทย์ในกลุ่มที่มีความเชื่อด้านพิษวิทยาค่อนข้างสุดโต่ง มองว่า อาจจะกระทบกับภาวะที่ทำให้อายุไขเฉลี่ยของมนุษย์ลดลง แต่หลักฐานทางการแพทย์ยังไม่ชัดเจน ต้องรอผลการศึกษาหลังจากนี้ 10 ปียืนยัน แต่เชื่อว่า พีเอ็ม 2.5 น่าจะมีผลกระทบต่ออายุไขของคนในชุมชน