svasdssvasds

ละครจบแล้ว แต่น้องสกายยังต้องสู้ต่อ กับ”มะเร็งต่อมน้ำเหลือง”

ละครจบแล้ว แต่น้องสกายยังต้องสู้ต่อ กับ”มะเร็งต่อมน้ำเหลือง”

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

อาการของน้องสกาย ยังมีไข้สูงถึง 40 องศาฯ ท้องบวม หายใจเร็วเกล็ดเลือดต่ำ มีความเสี่ยงต่อการช็อกต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ละครจบแล้ว แต่น้องสกายยังต้องสู้ต่อ กับ”มะเร็งต่อมน้ำเหลือง”

น้อง "สกาย" เด็กชายธฤตธาน ดาราเด็กจากละครดังเรื่องเพลิงบุญ ที่เข้ารับการรักษาตัวโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 4 โดยก่อนหน้านี้มีการรักษาด้วยการให้คีโม แต่อาการยังไม่ดีขึ้น ต้องเฝ้าระวังอย่างไกล้ชิด

ล่าสุด คุณแม่ของน้องสกายอัพเดทข่าวอาการของลูกชายผ่านอินสตาแกรม ข้อความว่า อัพเดตอาการน้องนะคะ วันนี้น้องมีอาการน่าเป็นห่วงกว่าวันที่ผ่านๆ มา คือมีไข้สูง 40 องศาฯ อาเจียนหลายรอบ ท้องบวม ซึม หายใจเร็ว ผลซีทีสแกนสมอง หมอไม่พบสิ่งผิดปกติ ต้องรอทำ MRI ในอาทิตย์หน้า อาการท้องบวมและอาเจียน หมอคาดว่าเกิดจากแผลในระบบทางเดินอาหาร เกล็ดเลือดยังคงต่ำอยู่ จากให้วันละถุงตอนนี้ให้วันละ 3 ถุง ยาฆ่าเชื้อต่างๆ และสารน้ำยังคงให้ตามปกติ หมอบอกว่าอาหารยังต้องเฝ้าระวังอย่างไกล้ชิด มีความเสี่ยงต่อการช็อคได้ ทางเราก็ได้แต่กลับมาบ้านด้วยความเป็นห่วง แล้วรอเวลาไปเยี่ยมในวันรุ่งขึ้น ขอขอบพระคุณทุกกำลังใจ และทุกๆ คำแนะนำที่ดีนะคะ ขอพระบารมีในหลวงราชกาลที่ 9 ช่วยเปิดทางให้คุณหมอเห็นทางรักษาน้องสกายขอให้ช่วยเปิดทางให้รักษาให้หายขาดจากทุกโรคทุกอาการด้วยเทอญ

ละครจบแล้ว แต่น้องสกายยังต้องสู้ต่อ กับ”มะเร็งต่อมน้ำเหลือง”

ขอบคุณภาพ จาก FB คุณ Tarit Thunsom Sky

ละครจบแล้ว แต่น้องสกายยังต้องสู้ต่อ กับ”มะเร็งต่อมน้ำเหลือง”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อธิบายถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) ว่า จัดเป็นโรคมะเร็งของระบบโลหิตวิทยา หรือระบบโรคเลือด เป็นมะเร็งที่เกิดกับเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขน ข้อพับขา ในช่องอก และในช่องท้อง และนอกจากในต่อมน้ำเหลืองแล้ว เซลล์ต่อมน้ำเหลืองยังมีอยู่ทั่วไปในอวัยวะทุกๆอวัยวะทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ทั้งสิ้น เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของสมอง ของกระเพาะอาหาร ของลำไส้เล็ก ของลำไส้ใหญ่ ของผิวหนัง ของโพรงจมูก และของไซนัส ซึ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งของต่อมน้ำเหลืองเอง และของเนื้อเยื่อต่างๆ มีสาเหตุ อาการ วิธีวินิจฉัย ระยะโรค แนวทางการรักษา และความรุนแรงโรคคล้ายคลึงกัน

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีได้หลากหลายชนิดของเซลล์มะเร็ง ซึ่งแต่ละชนิดของเซลล์มะเร็งจะมีความรุนแรงโรคต่างกัน อย่างไรก็ตาม มะเร็งต่อมน้ำ เหลืองแบ่งได้เป็นสองชนิดหลัก คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s disease เรียกย่อว่า HD/เอชดี หรือ มีอีกชื่อว่า Hodgkin’s lymphoma เรียกย่อว่า HL/เอชแอล) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กิ้น (Non-Hodgkin’s lympho ma หรือ เรียกย่อว่า NHL/เอ็นเอชแอล)

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นโรคมะเร็งพบบ่อยทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงเล็กน้อย

 

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดได้อย่างไร

  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส เอชไอวี (HIV) ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (AIDS)
  • การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น ชนิดทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ ( pylori/เอชไพโลริ/เอชไพโลไร)

พันธุกรรม

  • โรคภูมิแพ้ตนเอง (ภูมิต้านตนเอง) บางชนิด เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ ชนิดไม่ติดเชื้อ
  • มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำจากสาเหตุต่างๆ เช่น กินยากดภูมิคุ้มกันต้าน ทานในการรักษาโรคโดยการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ปลูกถ่ายไต
  • อาจจากสิ่งแวดล้อม เพราะพบโรคได้สูงกว่าในคนมีอาชีพเกษตรกรรม

ละครจบแล้ว แต่น้องสกายยังต้องสู้ต่อ กับ”มะเร็งต่อมน้ำเหลือง”

อาการ

ไม่มีอาการเฉพาะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่เป็นอาการเหมือนโรคทั่วไป ที่พบได้บ่อยในโรคระยะต้นๆ คือมีต่อมน้ำเหลืองตำแหน่งใดก็ได้โต มักพบที่ลำคอ คลำได้ ไม่เจ็บ แต่เมื่อโรคลุกลาม นอกจากต่อมน้ำเหลืองโตแล้ว อาจมีอ่อนเพลีย ซีด หรือเมื่อเกิดกับอวัยวะอื่นๆที่ไม่ใช่ต่อมน้ำเหลือง จะมีอาการเหมือนอวัยวะนั้นๆอักเสบ เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน แขน/ขาอ่อนแรง เมื่อเกิดกับสมอง หรือ ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเรื้อรัง เมื่อเกิดกับกระเพาะอาหาร

นอกจากนั้น ยังมีอาการที่เป็นตัวบอกว่าโรครุนแรง เรียกว่า อาการ บี (B symptoms) ซึ่งทุกอาการเกิดโดยยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัด ได้แก่ มีไข้สูงเป็นๆหายๆ เหงื่อออกชุ่มตัวในตอนกลางคืน และน้ำหนักลดมากกว่า 10% ใน 6 เดือน แต่เมื่อไม่มีอาการเหล่านี้ เรียกว่า อาการ เอ (A symptoms) ซึ่งโรครุนแรงน้อยกว่า

 

"โดยทั่วไปอัตรารอดที่ 5 ปี ของโรคระยะที่ 1 และ 2 ประมาณ 70-80% ระยะที่ 3 ประมาณ 50-70% และระยะที่ 4 ประมาณ 0-50% ขึ้นกับว่าโรคแพร่ กระจายสู่อวัยวะใด ซึ่งถ้ากระจายเข้าไขกระดูก อัตรารอดที่ห้าปี สูงกว่าการแพร่ กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะสู่สมอง"

ละครจบแล้ว แต่น้องสกายยังต้องสู้ต่อ กับ”มะเร็งต่อมน้ำเหลือง”

 

การรักษาหลักของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • ยาเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำเองว่า ต้องให้ยาเคมีบำบัดอย่างไร และกี่ครั้ง ทั้งนี้เพราะต้องนำความรุนแรงของโรคซึ่งแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคนเข้ามาประเมินในการรักษาด้วย
  • การรักษาวิธีการอื่นๆ เช่น รังสีรักษา มักใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดเมื่อโรคมีความรุนแรงสูง หรือเมื่อผู้ป่วยบางรายให้ยาเคมีบำบัดไม่ได้ เช่น จากมีปัญหาโรคไตเรื้อรัง การรักษาจะเป็นรังสีรักษาวิธีการเดียว เพราะยาเคมีบำบัดส่วนตกค้างต้องกำจัดออกทางไต เมื่อไตเสีย จึงมียาเคมีบำบัดคั่งในร่างกายมาก ก่อภาวะติดเชื้อได้รุนแรง จนอัตราเสียชีวิตสูง เกินกว่าจะนำมารักษาผู้ป่วยได้ เป็นต้น
  • การผ่าตัด มักไม่ใช้การผ่าตัดในโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาได้ผลดีด้วยยาเคมีบำบัด จึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดอวัยวะที่เกิดโรคมะเร็ง
  • ยารักษาตรงเป้า มีโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดที่ตอบสนองได้ดีต่อยาเคมีบำบัด ร่วมกับยารักษาตรงเป้า แพทย์มักแนะนำรักษาในโรคที่มีความรุนแรงสูง หรือ โรคย้อนกลับเป็นซ้ำ หรือ โรคดื้อต่อยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตาม ยายังมีราคาแพงมหาศาลจนผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงยาได้ทุกคน
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก ใช้รักษาได้ผลในเซลล์มะเร็งบางชนิดเมื่อมีโรคที่รุนแรง หรือ ดื้อต่อยาเคมีบำบัด หรือ ย้อนกลับเป็นซ้ำ และเช่นเดียวกับยารักษาตรงเป้า ที่ค่าใช้จ่ายในการรักษายังสูงมาก

 

อย่างไรก็ตาม การป้องกันมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยังไม่มีวิธีที่แน่นอน เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดออกมาพิสูจน์ถึงสาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่แน่ชัด อีกทั้งบุคคลที่ไม่เข้าข่ายมีปัจจัยเสี่ยง ก็อาจเป็นมะเร็งได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่ายกาย และรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อพบความผิดปกติ เนื่องจากการรับการรักษาตั้งแต่มะเร็งยังอยู่ในระยะต้น ๆ จะส่งผลให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาเมื่อมะเร็งเริ่มลุกลาม

 

ขอบคุณข้อมูล จาก http://haamor.com

ขอบคุณภาพ จาก medthai.com

คอลัมน์ Young ทัน by อรรธจิตฐา วิทยาภรณ์

 

related