svasdssvasds

รับมือฝน! ประชุม 5 จังหวัดปริมณฑล

รับมือฝน! ประชุม 5 จังหวัดปริมณฑล

กทม.ได้จัดประชุมความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำระหว่างกรุงเทพมหานคร 5 จังหวัดปริมณฑล เตรียมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ในช่วงฤดูฝนปี 2561 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

รับมือฝน! ประชุม 5 จังหวัดปริมณฑล

(5 มิ.ย. 61) ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า) : พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำระหว่างกรุงเทพมหานคร 5 จังหวัดปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยจังหวัดนครปฐม จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า ขณะนี้ได้ประชุมเพื่อเตรียมพร้อมระบบระบายน้ำ

1. ทําความสะอาดท่อระบายน้ำในถนน ตรอก ซอย ความยาวรวม 3,297 กิโลเมตร ดําเนินการ โดยใช้แรงงานของสํานักระบายน้ำและสํานักงานเขต และจ้างเหมาเอกชนดําเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 61

2. เปิดทางน้ำไหล จัดเก็บขยะวัชพืชใน คู คลอง ยาว 1,341 กิโลเมตร ขุดลอกคู คลอง 80 คลอง ยาว 100 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน มิ.ย. 61

3. เตรียมความพร้อมของสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ และบ่อสูบน้ำ จํานวน 698 แห่ง กําลังสูบรวม 2,229 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยสถานีสูบน้ำมีขีดความสามารถในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ 903 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

4. ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมในพื้นที่เฝ้าระวังมีขีดความสามารถในการระบายน้ำท่วมขัง 482 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และติดตั้งเรือผลักดันน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลอง จํานวน 60 ลํา

5. เตรียมความพร้อมของอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ขีดความสามารถในการระบายน้ำท่วมขัง 195 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

6. ลดระดับน้ำในคลองและแก้มลิงจํานวน 26 แห่ง เพื่อชะลอน้ำท่วมปริมาณ 13.07 ล้านลูกบาศก์เมตร มาเก็บกักในแก้มลิงเป็นการชั่วคราวก่อนระบายลงสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ

7. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ กรณีฉุกเฉิน และเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยเตรียมกระสอบทราย 2.79 ล้านใบ รวมทั้งรถเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 18 คัน

8. จัดเตรียมหน่วยบริการเร่งด่วน หรือหน่วย BEST รวม 108 หน่วย เจ้าหน้าที่ประจําหน่วยรวม 700 คน เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเร่งด่วน นอกจากนี้ยังจัดหน่วยบริการฉุกเฉินเพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาเนื่องจากน้ำท่วมขังประจําทุกสํานักงานเขต

9. ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน และสื่อมวลชน รับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ปัญหาน้ำท่วมขัง ท่อระบายน้ำชํารุด อุดตัน และ ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมขังตลอด 24 ชั่วโมง โดยประชาสัมพันธ์สถานการณ์สภาพฝนและบริเวณที่เกิดปัญหาน้ำาท่วมขังผ่านสื่อต่างๆ เช่น ป้ายจราจรอัจฉริยะ จ.ส.100 รายการร่วมด้วยช่วยกัน และผ่านทางสื่อออนไลน์ เช่น ทางเว็บไซต์ กรุงเทพมหานคร

http://www.bangkok.go.th เว็บไซต์สํานักการระบายน้ำ http://dds.bangkok.go.th/, e-mail : [email protected], Facebook : @BKK_BEST, Twitter : bkk_best เป็นต้น

รับมือฝน! ประชุม 5 จังหวัดปริมณฑล

แผนปฏิบัติการ 9 ขั้นตอน หากฝนตกหนักและเกิดปัญหาน้ำท่วมขังกรุงเทพมหานคร

1. ติดตามสถานการณ์

2. เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ และติดตั้ง เครื่องสูบน้ำตามจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วม

3. ควบคุมและลดระดับน้ำในคลอง บ่อสูบน้ำและแก้มลิงให้อยู่ในระดับต่ำ

4. แจ้งเตือนสถานการณ์ฝนตกให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม ผ่านระบบวิทยุสื่อสาร Trunked Radio แจ้งเตือนสํานักงานเขตผ่านวิทยุสื่อสารเครือข่าย “อัมรินทร์” แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านกลุ่ม Line “เตือนภัยน้ำท่วม กทม.” (ปภ. ทหาร ตํารวจ สื่อมวลชน)

5. ส่งหน่วยปฏิบัติการเร่งด่วน (BEST) ประจําจุดเสี่ยงและจุดสําคัญ เพื่อเร่งระบายน้ำและแก้ปัญหาด้านการการจราจร

6. หน่วยงานภาคสนาม (ผู้บริหาร สนน./หน.หน่วยฯ) ลงพื้นที่ตามจุดต่างๆ และรายงานสถานการณ์น้ำท่วมให้ศูนย์ป้องกันน้ำท่วมทราบ

7. เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในจุดที่วิกฤติ โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำชนิดเคลื่อนที่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม

8. ประสานงานขอการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตํารวจเพื่อช่วยอํานวยความสะดวกการจราจร การปิดเส้นทางน้ำท่วม / ทหาร ช่วยเหลือประชาชน หากมีระดับน้ำท่วมสูงรถเล็กไม่สามารถใช้เส้นทางผ่านได้ เป็นต้น

9. ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม สรุปสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ผ่านทางโซเชียล

รับมือฝน! ประชุม 5 จังหวัดปริมณฑล

การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รอยต่อจังหวัดปริมณฑล กรุงเทพมหานคร 4 จุดหลัก เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง

จุดที่ 1 ถนนพหลโยธิน บริเวณหน้าเซียร์รังสิตถึงบริเวณแยกลําลูกกา เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานี

จุดที่ 2 ปัญหาน้ำท่วมถนนแจ้งวัฒนะ จากคลองประปาถึงศูนย์ราชการ พื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนนทบุรี

จุดที่ 3 ปัญหาน้ำท่วมถนนงามวงศ์วานบริเวณซอยชินเขต 2 ถึงคลองประปาและหมู่บ้าน ชินเขต พื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนนทบุรี

จุดที่ 4 ปัญหาน้ำท่วมถนนสุขุมวิทบริเวณสถานีรถไฟฟ้าแบริ่ง ซอยลาซาล และซอยแบริ่ง พื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ

 

related