svasdssvasds

ย้อนอดีตช้างตกเหว สังเวยน้ำตกเหวนรก

ย้อนอดีตช้างตกเหว สังเวยน้ำตกเหวนรก มาแล้ว ตั้งแต่ปี 2530 ถึงวันนี้ มากถึง 20 ตัว

ย้อนอดีตช้างตกเหว สังเวยน้ำตกเหวนรก มาแล้ว ตั้งแต่ปี 2530 ถึงวันนี้ มากถึง 20 ตัว

ในอดีตสมัยที่ยังไม่มีการสร้างถนน ช้างป่าได้ใช้เส้นทางบางส่วนของพื้นที่เป็นเส้นทางเดินหากิน หรือที่เรียกว่าด่านช้าง ซึ่งบรรพบุรุษของช้างได้สอนลูกหลานต่อๆกันมาว่านี่คือเส้นทางหากิน แต่อยู่มาวันหนึ่งมีการสร้างถนนขึ้นและบังเอิญไปทับซ้อนกับด่านช้าง ทำให้บางส่วนของถนนนั้นเกิดการใช้ร่วมกันระหว่างช้างและรถยนต์

ขณะเดียวกันช้างป่าเขาใหญ่ในแต่ละฝูงจะมีการตกลูกทุกๆปี หมายความว่าในฝูงมีลูกน้อย การเดินหากินในป่าที่รกทึบ หรือเขาสูงชันของลูกช้างมักมีความยากลำบาก หลายพื้นที่มีลูกช้างป่าพลัดหลงฝูงจากการตกภูเขา ฝูงก็จะห่วงลูกช้างมาก การเดินบนถนนก็เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่ปลอดภัยสำหรับลูกช้าง เป้าหมายของการใช้ถนนของช้างคือ การมุ่งหน้าไปยังพื้นที่แหล่งอาหารต่างๆด้วยความปลอดภัยและรวดเร็ว เช่น แหล่งดินโป่ง หรือแหล่งน้ำ

จากข้อมูล พบว่าช้างป่าในพื้นที่เขาใหญ่มีทั้ังหมอประมาณ 300 ตัว แบ่งออกเป็นฝูงๆ มีจ่าฝูงเป็นผู้นำพาออกหากินตามเส้นทางที่เคยเดินเป็นประจำวนๆไป สำหรับช้างฝูงที่พากันมาตกหน้าผาน้ำตกเหวนรก ก็เข่นกัน เป็นฝูงช้างที่พากันเดินหากินเป็นประจำในเสันทางนี้ ซึ่งปรกติในช่วงเดือนตุลาคม ของทุกปีจะเป็นช่วงปลายฤดูฝน น้ำจะไม่แรงขนาดนี้ แต่ที่ผ่านมาเกิด พายุเข้ามาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ทำให้มีน้ำมากและแรงกว่าที่ผ่านมา และจุดนี้เอง ในช่วงปี พ.ศ.2530 เคยมีช้างตกลงไปจนเสียชีวิต 2 ตัว เจ้าหน้าสที่ต้องทำเสาปูนมากั้น ไม่ให้ช้างผ่าน แต่ช้างก็เลี่ยงไปใช้เส้นทางอีกเส้น ซึ่งก็เกินเหตุขึ้นอีกใน ช่วง วันที่ 2 สิงหาคม 2535 มีช้างต้องสังเวยน้ำตกเหวนรก อีก 8 ตัว และสำหรับโศกนาฎกรรม ที่เกินขึ้นครั้งนี้ แหล่งข่าววิเคราะว่าจ่าฝูงน่าจะพาเดินมาทางสันเขาผ่านน้ำตกชั้นที่ 1 ที่ห่างจากศาลาแปดเหลี่ยมประมาณ 1 กิโลเมตร ที่้มีเสาปูนกันช้างตกอยู่ แต่ช้างสองตัวเกิดพลาดตกลงไป และด้วยช้างที่เป็นสัตวสังคม ไม่ทิ้งกันเลยพยายามลงไปช่วย เลยพากันตกลงไปติดด้านล่าง และเสียชีวิตไปแล้ว ถึง 11 ตัว รวมกับในอดีต เมื่อปี 2530 เท่ากับที่นี่ได้คร่าชีวิตช้างไปแล้ว ถึง 21 ตัว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

Breaking News : สลด! พบซากช้างตกเหวเพิ่มอีก 5 ตัว รวม 11 ตัว สูญเสียมากสุดในประวัติศาสตร์

“เหวนรก” ความงามแห่งขุนเขา สู่สุสานแห่งช้างป่าตกเหว

related