svasdssvasds

หมอธีระวัฒน์ เผยข้อมูลทดสอบผู้ป่วยโควิด ว่าปอดอักเสบหรือไม่ ด้วยวิธีลุกนั่ง

หมอธีระวัฒน์ เผยข้อมูลทดสอบผู้ป่วยโควิด ว่าปอดอักเสบหรือไม่ ด้วยวิธีลุกนั่ง

เมื่อไม่กี่ชั่วโมงมานี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ Facebook : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha มีข้อความเกี่ยวกับวิธีการทดสอบว่า ผู้ป่วยโควิด 19 เกิดปอดอักเสบแล้วหรือยัง โดยวิธีการลุกนั่ง ของ นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ศิริราช มีข้อความว่า

นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฬา

 

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ สำหรับข้อปฏิบัติ 


การทดสอบภาวะออกซิเจนต่ำในเลือดขณะออกกำลังด้วยการลุกนั่งในผู้ป่วยโควิด-19
(sit-to-stand tests for exercise-induced desaturation in COVID-19 patients)
นิธิพัฒน์ เจียรกุล  สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ศิริราช
22 เมษายน 2564


ผู้ป่วยโควิด-19 อาจเกิดปอดอักเสบ (COVID pneumonia) ได้ตลอดการดำเนินโรคช่วง 2 สัปดาห์แรก จึงมีความจะเป็นที่จะต้องตรวจจับให้ได้เร็วสำหรับการวินิจฉัยปอดอักเสบ หรือตรวจจับปอดอักเสบที่ต้องให้การรักษารด้วยยาสเดียรอยด์ร่วมกับยาต้านไวรัส เพื่อลตการลุกลามของโรดไม่ให้เกิดความรุนแรงจน
เกิดภาวะวิกฤต การทดสอบภาวะออกชิเจนต่ำในเลือดขณะออกกำลัง (exercise-induced desaturation, EID) ด้วยการลุกนั่ง (si-to-stand test, STST) ได้มีการทดสอบแล้วว่ามีความสัมพันธ์ดีกับ six-minute walk test ในผู้ป่วย COPD จึงได้นำมาประยุกต์ใช้

ข้อบ่งชี้

1. คัดกรองผู้ป่วยปอดอักเสบโควิดในโรงพยาบาลหลัก ที่ยังไม่มี resting hypoxemia (SpO2 < 96%)
เพื่อให้การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์
2. คัดกรองผู้ป่วยในโรงพยาบาลเฉพาะกิจ (hospitel) หรือโรงพยาบาลสนาม ที่ไม่พบปอดอักเสบโควิด
ในตอนแรก แต่อาจเกิดขึ้นใหม่ในระหว่างการติดตามการดำเนินโรคจนครบ 14 วัน เพื่อทำการ
ประเมินใหม่โดยแพทย์พร้อมการเอ็กซเรย์ปอด

อุปกรณ์

1. สัญญาณชีพไม่คงที่ (BT > 38.5, RR > 22, SBP > 160 or < 100, HR > 120 or < 50)
2. ทรงตัวได้ไม่ดีขณะลุกนั่ง
1. เท้าอี้ที่แข็งแรงชนิดมีพนักพิงหลัง แต่ไม่มีที่เท้าแขน ความสูงจากที่นั่งถึงพื้น 40-50 ชม.
2. เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (pulse oximeter) ควรมีจอแสดงผลให้เห็นค่า SpO2 และ HR ได้
ชัดเจนโดยบุคลากรที่อยู่ด้านนอกโซนผู้ป่วย ทั้งการดูโดยตรงหรือผ่านกล้องถ่ายทอด

วิธีการ 
1. ให้ผู้ป่วยถอดหน้ากากอนามัยออก ยืนเท้าเอวและวางมือสองข้างไว้ที่สะโพก โดยสวมเครื่องวัด
ออกซิเจนปลายนิ้วตลอดการทดสอบ
2. เมื่อผู้ทดสอบพูดว่า "เริ่ม" ให้ผู้ป่วยนั่งเต็มกันลงบนเก้าอี้แล้วลุกขึ้นยืนตรงทันทีโดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้ และกลับไปนั่งเต็มกันอีกครั้ง ทำซ้ำให้เร็วที่สุดเท่าที่ได้ใน 1 นาที (ตวรได้ 20-30 ครั้งใน 1
นาที) โดยผู้ป่วยกำหนดความเร็วที่ปลอดภัยและไม่หักโหมด้วยตนเอง ผู้ทดสอบตรวจสอบให้ผู้ป่วยนั่งให้เต็มกันโดยข้อเข่าทำมุม 90 องศาและลุกขึ้นยืนตรงจนสุดตลอดการทดสอบ
3. ให้สิ้นสุดการทดสอบก่อนครบ 1 นาที ถ้าผู้ป่วยเหนื่อย หรือ HR > 120 หรือ SPO2 ลดลงจากเดิม
3% ขึ้นไป (desaturation) โดยที่ค่านั้นต่ำจริงเมื่อเครื่องวัดและแสดงผลติดกัน 2-3 ครั้ง (เครื่องจะ
วัดและแสดงผลราวทุก 3 วินาที)

4. เมื่อสิ้นสุดการทตสอบหลังครบ 1 นาที ให้วัด ต่อไปอีก 1 นาที ถ้ายังไม่พบ desaturationให้ถือว่าการทดสอบเสร็จสมบูรณ์

 

Cr. FB :ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ท่าบริหารปอดให้แข็งแรง!!! เทคนิคฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโควิด 19