svasdssvasds

กรุงเทพฯ เงินเดือน-ค่าครองชีพสัมพันธ์ ? ใช้จ่ายแพงที่สุดจริงเหรอ ?

กรุงเทพฯ เงินเดือน-ค่าครองชีพสัมพันธ์ ? ใช้จ่ายแพงที่สุดจริงเหรอ ?

จากการสำรวจเมืองหลวงในอาเซียน พบค่าครองชีพกรุงเทพฯ สูงเกินจริง ฐานเงินเดือนเฉลี่ยไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพต่อเดือน แพงที่เป็นอันดับสองในภูมิภาค รองจากสิงคโปร์

ข้อมูลจากเว็บไซต์ numbeo.com เผยประเทศที่มีค่าครองชีพ "ถูก" ที่สุดเฉลี่ยโดยประมาณต่อคนต่อเดือน เก็บข้อมูลจากชาวต่างชาติ (คละสัญชาติ) ที่อาศัยอยู่ ณ เมืองหลวงของประเทศนั้นๆ ทั้งหมด 6 ประเทศหลักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม รวมไปถึงประเทศไทยโดยมีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

กรุงเทพฯ เงินเดือน-ค่าครองชีพสัมพันธ์ ? ใช้จ่ายแพงที่สุดจริงเหรอ ?

สิงคโปร์ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงสุดในภูมิภาค แต่คุณภาพชีวิตก็สูงตามไปด้วย โดยมีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 118,075 บาท ในขณะที่ค่าครองชีพไม่เกินเงินเดือน อยู่ที่ 76,770 บาท ด้วยอัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 46,686 บาท หรือราว 39% ของเงินเดือน

ทางด้านกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองที่มีค่าครองชีพน่าคบหาในภูมิภาคอาเซียน โดยมีเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 34,209 บาท เยอะที่สุดรองจากสิงคโปร์ และค่าครองชีพก็ไม่เกินเงินเดือนอยู่เพียง 24,566 บาท ด้วยค่าเช่าที่พักที่ถูกที่สุดในอาเซียนเพียง 9,044 บาท

iPrice จริงหรือไม่? กรุงเทพฯ เป็นเมืองมีค่าครองชีพแพงที่สุดในภูมิภาค

โฮจิมินห์ ฐานทัพของโลกอีคอมเมิร์ซ และสตาร์ทอัพอย่างแท้จริง ด้วยความไม่เป็นมิตรทั้งด้านค่าครองชีพ และฐานเงินเดือนเฉลี่ย ที่ไม่สอดคล้องกัน แต่โฮจิมินห์มีการแข่งขันด้านอีคอมเมิร์ซ และสตาร์ทอัพกันอย่างดุเดือด

จาการ์ต้า สวรรค์ของชาวมุสลิมที่กำลังมองหาสถานที่ออกไปหาประสบการณ์ เรียกได้ว่าเป็นเบอร์สองรองจากโฮจิมินห์ ในด้านการแข่งขันของอีคอมเมิร์ซ และสตาร์ทอัพ แต่มาในรูปแบบของชาวมุสลิม ด้านฐานเงินเดือนเฉลี่ยที่ค่อนข้างต่ำเพียง 14,922 บาท แต่กลับมีค่าครองชีพสูงถึง 26,305 ต่อเดือนกันเลยทีเดียว

มะนิลา ตัวเลือกสำหรับคนงบน้อยที่อยากก้าวออกไปฝึกภาษาในต่างแดน สำหรับข้าวของเครื่องใช้ที่มีราคาถูก แต่ก็ด้วยเงินเดือนที่น้อยเช่นกัน ซึ่งน้อยที่สุดในอาเซียนเพียง 12,277 บาทเท่านั้น แต่ทางด้านค่าครองชีพกลับไม่ถูก จากการบวกค่าเช่าที่พักเข้าไปซึ่งแพงถึง 14,137 บาท เกินเงินเดือน ทำให้ค่าครองชีพของมะนิลาอยู่ที่ 32,570 บาทกันเลยทีเดียว

ชี้! ชาวกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายเกินรายรับ ในเมื่อเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 26,502 บาท แต่ค่าครองชีพกลับสูงถึง 33,032 บาท ซึ่งไม่สอดคล้องกัน ราคาอาหารก็เพียงที่สุดเป็นอันดับที่สองในอาเซียน บวกกับค่าเช่าที่พักที่แพงที่สุดเป็นอันดับสามของภูมิภาค 12,642 บาท