svasdssvasds

Home Isolation แยกกักรักษาตัวที่บ้าน การจัดการในวันที่เตียงเต็ม

สถานการณ์โควิดเข้าขั้นวิกฤต ไม่รู้จะเห็นใจใครก่อน ระหว่างคุณหมอ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ป่วยโควิด-19 ในวันที่เตียงเต็ม ! ต้องมีมาตรการ Home Isolation การกักตัวดูแลรักษาที่บ้าน

ตอนนี้กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนมาก เตียงสำหรับรองรับรักษาผู้ป่วยไม่เพียงพอ และแม้ว่าจะขยายเตียง จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ หมอ พยาบาล ก็ขาดแคลนอยู่ดี

 

อัตราการครองเตียงของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มจากเดือนที่ผ่านมาถึง 10,000 ราย จากวันที่ 9 มิถุนายน 2564 มีผู้ป่วย 19,629 ราย เพิ่มเป็น 30,631 รายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 โดยเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก หรือกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ร้อยละ 76 อาการปานกลาง หรือกลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง ร้อยละ 20 และอาการหนัก กลุ่มผู้ป่วยสีแดง ร้อยละ 4 

 

ซึ่งผู้ป่วยสีแดงเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 714 ราย เป็น 1,206 ราย ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องรับภาระที่หนักมาก และการเพิ่มบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทำได้ยาก

 

จึงมีมาตรการ Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้าน และ Community Isolation หมายถึงการที่ชุมชนดูแลกันเอง อาจจะใช้สถานที่เป็นวัด หรือโรงเรียนใกล้บ้าน จัดเป็นลักษณะคล้าย โรงพยาบาล ย้ายผู้ป่วยในชุมชนมาอยู่ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาล

 

เพื่อให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย เข้าสู่ระบบการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ได้รับยา ได้รับการรักษาแม้จะไม่ได้อยู่ที่โรงพยาบาล

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

Home Isolation แยกกักรักษาตัวที่บ้าน การจัดการในวันที่เตียงเต็ม

ถ้าเราสงสัยว่า เราติดหรือยัง ให้เราไปหาที่ตรวจคัดกรอง ซึ่งตอนนี้เริ่มมีการเข้าถึงง่ายขึ้นแล้ว หากมีผลการตรวจเป็นบวกหรือติดเชื้อ อย่าตื่นตระหนกตกใจ ถ้าไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ให้ถือว่าตัวเองเป็นกลุ่มสีเขียว ซึ่งกลุ่มสีเขียวจะมีประมาณ 80% ของผู้ป่วยโควิด เมื่ออาการไม่มากก็รักษาตัว home isolation ดูอาการไประหว่างหาเตียงหรือรอเตียง ระหว่างนี้อาจจะอาการดีขึ้นก่อนได้รับเตียงก็เป็นไปได้

 

ส่วนผู้ป่วยสีเหลืองเข้มซึ่งมี 15% สีแดงซึ่งมี 5% กลุ่มนี้ยังไงก็ต้องหาเตียงในโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มโอกาสรอด มาตรการ home isolation เป็นเพียงมาตรการเสริม ใช้ในพื้นที่ที่เตียงเต็ม โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดยังคงมีเตียงว่างเหลืออยู่และยังคงใช้มาตรการหลักคือการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามตามเดิม

Home Isolation แยกกักรักษาตัวที่บ้าน การจัดการในวันที่เตียงเต็ม

รศ. นพ. กรภัทร มยุระสาคร อาจารย์กลุ่มวิจัยสุขภาพประชากรและโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เผยความรู้สึกในสถานการณ์ Covid-19 กับมาตรการ Home Isolation ว่า “ไม่ไหวก็ต้องไหว เราทิ้งคนไข้ไม่ได้” เมื่อหมอและพยาบาลมีจำนวนเท่าเดิม และน้อยลงด้วยเพราะติดเชื้อโควิด-19 จากการปฏิบัติหน้าที่ แต่จำนวนคนไข้กลับมีมากขึ้น 

 

Home Isolation การดูแลรักษาผู้ป่วยจากที่บ้าน แน่นอนเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด ที่ระบบสาธารสุขและบุคลากรทางการแพทย์ต้องเจอ หลายเรื่องไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อคุณหมอต้องรักษาประเมินอาการผู้ป่วย บริหารจัดการส่งอาหาร ส่งยารักษาให้ทันเวลา ให้คำปรึกษาอย่างทันท่วงที มีหลายขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าที่คิด เช่นเดียวกับที่โรงพยาบาลศิริราชต้องเผชิญ กับการปรับสถานการณ์ มาตรการดูแลจัดการของระบบ Siriraj Isolation @Home มีแผนปฏิบัติ กรอบการดูแลผู้ป่วยอย่างไร ที่ต้องประเมินปรับกันแบบวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เท่าที่จะทำได้กับสถานการณ์เช่นนี้

Home Isolation แยกกักรักษาตัวที่บ้าน การจัดการในวันที่เตียงเต็ม

จากนี้หากใครตรวจแล้วพบเชื้อ สามารถไปที่เบอร์ 1330 ต่อ 14 โทรได้ตลอด 24 ชั่วโมง มี 1,600 คู่สาย ถึงแม้ว่าโทรไม่ติด สปสช. บอกว่าจะไม่ทิ้งใคร สุดท้ายเขาก็จะโทรกลับ

 

เมื่อเราโทรหา สปสช. เรียบร้อย เราจะได้รับอุปกรณ์และยา เช่น ฟ้าทะลายโจร เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ได้รับการแนะนำจากแพทย์ผ่านวิดิโอคอล หมอจะคอยดูตลอดถ้าเรามีอาการมากขึ้น เขาจะเร่งให้ยาฟาวิพิราเวียร์ หากที่บ้านแคบไม่เหมาะสมกับการกักรักษาตัวที่บ้าน ก็หาช่องทางออกมาใช้บริการ Community isolation 

 

โควิด 19 เปลี่ยนแปลงเร็ว หลายส่วนที่เกี่ยวข้องต้องทำงานให้เร็ว ทั้ง Home Isolation, Community Isolation ล้วนเป็นการปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ เพื่อควบคุมป้องกันโรคแล้วผ่านวิกฤตนี้ไปได้โดยเร็ว สำคัญในสำคัญคือระหว่าง Home Isolation ต้องสวมแมสก์ตลอดเวลา คลีนทำความสะอาดให้บ่อย เพื่อป้องกันเชื้อแพร่บริเวณบ้าน ในชุมชน และในสถานที่ที่เราอยู่

 

ดูคลิปเต็มที่ลิงค์ด้านล่าง และสามารถติดตามรายการอยากเห็นเมืองไทยดีกว่านี้ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. ทางเนชั่นทีวีช่อง 22 และสปริงออนไลน์

related