svasdssvasds

สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลักบริเวณเจ้าพระยา กรมชลประทาน อัปเดต 4 ต.ค.

สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลักบริเวณเจ้าพระยา กรมชลประทาน อัปเดต 4 ต.ค.

รายงานสถานการณ์น้ำล่าสุด ในเขื่อนหลัก 4 แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ยังรองรับน้ำอีก 6,398 ล้าน ลบ.ม พบ 3 จังหวัดที่ปริมาณฝนมากที่สุด กทม. หนองบัวลำภู และ ยะลา ตามลำดับ

รายงานสถานการณ์น้ำ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ณ เวลา 06.00 น. เมื่อเช้าที่ผ่านมา อ้างอิงจากข้อมูล สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พบว่า ปริมาณฝนตก 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาสูงสุด 3 ลำดับ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (166 มม.) จ.หนองบัวลำภู (103 มม.) และ จ.ยะลา (101 มม.)

สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลักบริเวณเจ้าพระยา กรมชลประทาน อัปเดต 4 ต.ค.
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยได้มีประกาศเฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาที่คาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้น ดังนี้ 

สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลักบริเวณเจ้าพระยา กรมชลประทาน อัปเดต 4 ต.ค.

แม่น้ำป่าสัก 
บริเวณท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ถึงเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.4.-1.00 เมตร

บริเวณท้ายเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา 
ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.4.-0.60 เมตร

จุดบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 
ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.25-0.50 เมตร

แม่น้ำเจ้าพระยา
บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา
จ.ชัยนาท อ.เมืองชัยนาท และ อ.มโนรมย์
จ.อุทัยธานี อ.เมืองอุทัยธานี
ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.30 เมตร

สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ มีดังนี้ 

  • อ่างเก็บน้ำภูมิพล มีปริมาณน้ำ 10,299 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น  77% ของความจุ สามารถรับน้ำได้อีก 3,163 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำ 6,363 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น  67% ของความจุ สามารถรับน้ำได้อีก 3,147 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • อ่างเก็บแควน้อยฯ มีปริมาณน้ำ 870 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น  93% ของความจุ สามารถรับน้ำได้อีก 69 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำ 946 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น  99% ของความจุ สามารถรับน้ำได้อีก 14 ล้านลูกบาศก์เมตร

ความจุรวมกันที่รับน้ำอยู่ในขณะนี้คิดเป็น 74% รวมแล้วทั้ง 4 เขื่อนหลัก ยังสามารถรองรับน้ำได้อีก 6,398 ล้านลูกบาศก์เมตร

ตามรายงานกรมชลประทาน สรุปพื้นที่ประสบอุทกภัย พบว่ามีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบรวม 51 จังหวัด 18 จังหวัดกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ส่วนจังหวัดประสบอุทกภัย 33 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน พะเยา ลำปาง พิจิตร สุโขทัย ตาก เลย กำแพงเพชร อุดรธานี เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว ปราจีนบุรี ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี
สุพรรณบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี

ที่มา

กรมชลประทาน

related