svasdssvasds

"เศรษฐกิจสีเขียว" เปิดตลาดคาร์บอนเครดิต พลิกวิกฤต ลดโลกร้อน

"เศรษฐกิจสีเขียว" เปิดตลาดคาร์บอนเครดิต พลิกวิกฤต ลดโลกร้อน

วราวุธ ศิลปอาชา รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับภาคเอกชน ตั้งบอร์ดซื้อขายคาร์บอนเครดิต และได้มีการทำแพลตฟอร์ม FTIX เพื่อเป็นศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต ตามนโยบาย "เศรษฐกิจสีเขียว"

แม้ไทยเป็นประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนระดับต่ำแค่  0.8 % เท่านั้น แต่กลับเปน 1 ใน 10 ประเทศแรกของโลก ที่จะได้รับผลกระทบจาก Climate Change สูงสุดในอนาคต ซึ่งไทยปรับเป้าหมายลดการปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" ให้ได้ 40% ภายในปี 2030

โดย วราวุธ ศิลปอาชา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า วันนี้ระบบนิเวศทั่วโลก มีความอ่อนไหวและเปราะบาง ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะมีความเสี่ยงมหาศาล สะท้อนจากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกขณะนี้ กระทรวงทรัพยากรฯ จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชน ตั้งบอร์ดซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะเป็นกระดานซื้อขายคาร์บอนฯ กระดานแรกของโลกที่เกิดขึ้น

"เศรษฐกิจสีเขียว" เปิดตลาดคาร์บอนเครดิต พลิกวิกฤต ลดโลกร้อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แพลตฟอร์ม FTIX ศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต

วราวุธกล่าวต่อไปว่า และได้มีการทำแพลตฟอร์ม FTIX เพื่อเป็นศูนย์​ซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอน​เครดิต​ให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และยังมีการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียน 100 % (RE100) การซื้อขายใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ REC โดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โครงการ ERC Sandbox 2 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เปิดกระดานซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตครั้งแรกของประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 21 ก.ย.2565

"เศรษฐกิจสีเขียว" เปิดตลาดคาร์บอนเครดิต พลิกวิกฤต ลดโลกร้อน

ภาคเอกชน เริ่มเห็นความสำคัญของคาร์บอนเครดิต

วราวุธกล่าวอีกว่าหลังจากเปิดตลาดคาร์บอนเครดิต ขณะนี้มีภาคเอกชนแสดงเจตจำนงเพื่อขอเข้าร่วมโครงการเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ป่าจำนวน 6 แสนไร่ ทั้งในส่วนพื้นที่ป่าชายเลนและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เนื่องจากภาคเอกชนเริ่มเห็นแล้วว่าคาร์บอนเครดิตมีความสำคัญ

ทั้งนี้กระทรวงทรัพยากรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าไว้ โดยเงื่อนไขผู้ปลูกหรือภาคเอกชนจะได้คาร์บอนเครดิต 90% และรัฐบาลจะได้คาร์บอนเครดิต 10% ส่วนประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์จากการจ้างงานของภาคเอกชน เพื่อดูแลพื้นที่ป่าเหล่านี้

สุดท้ายนี้ วราวุธกล่าวว่า "เป้าหมายสูงสุดของประเทศไทย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการช่วยสนับสนุนและผลักดัน ทั้งนี้ อยากฝากความหวังไปยังที่ภาคเอกชน ซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีศักยภาพปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่การพัฒนาที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ และ วางแผนเพื่อรับมือกับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

related