svasdssvasds

ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี

ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี

ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีเก่าแก่สิบทอดกันมาแต่โบราณ ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยจัดงานทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยในสมัยก่อน อำเภอบางพลี มีประชาชนอาศัยอยู่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ คนไทย คนลาว และคนรามัญ (ชาวมอญพระประแดง) ประเพณีรับบัว เกิดขึ้นเพราะความมีน้ำใจที่ดีต่อกันระหว่างคนในท้องถื่นกับคนมอญพระประแดงซึ่งทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว ในช่วงออกพรรษาจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง ได้เก็บดอกบัวเพื่อบูชาพระหรือถวายแด่พระสงฆ์และฝากเพื่อนบ้าน ในปีต่อมา ชาวอำเภอเมือง และชาวอำเภอพระประแดง ต่างพร้อมใจกันพายเรือมาเก็บดอกบัวที่อำเภอบางพลีและถือเป็นโอกาสอันดีในการนมัสการองค์หลวงพ่อโต อีกทั้งระยะทางระหว่างที่อำเภอพระประแดงกับอำเภอบางพลีไกลกันมาก เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินเรือแต่ละลำจะร้องรำทำเพลงมาตลอดเส้นทาง สำหรับการแห่หลวงพ่อโตทางน้ำในประเพณีรับบัวที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ สืบเนื่องจาก พ.ศ. 2467 นางจั่นกับพวกชาวบางพลี ได้ร่วมสร้างองค์ปฐมเจดีย์ ณ วัดบางพลีใหญ่ในและจัดงานเฉลิมฉลองโดยแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ และวิวัฒนาการมาเป็นแห่องค์หลวงพ่อโตจำลองอัญเชิญไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนได้นมัสการ ดอกไม้ที่ใช้นมัสการคือ ดอกบัว

ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัว นมัสการหลวงพ่อโตทางน้ำ ประเพณีโบราณของชาวบางพลี