svasdssvasds

เลือกตั้ง 62 : เปิด 4ข้อแตกต่างของ "บิ๊กตู่" ต้องระวังหากขึ้นปราศรัยช่วย "พลังประชารัฐ" [คลิป]

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

โดยประเด็นบิ๊กตู่ขึ้นเวทีปราศรัย คะแนนพลังประชารัฐเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ นั้นแสดงให้เห็นหลายๆอย่างแล้ว เช่น การพูดคนเดี่ยว หรืออาจจะไม่มีใครแทรก หรือ ชง ให้ อาจจะแตกต่างในการ ดีเบตบาง และ การที่ประยุทธ เป็นหัวหน้ารัฐมนตรี ว่าเป็นการครอบนำพรรค์นั้น โดยที่ พรรคขาดอิสระ อาจจะขาดคุณสมบัติต่างๆ โดย ประยุทธ์นั้น การแนวช่วยเหลือในหลายๆอย่าง โดยอาจจะเกี่ยวข้องกับ พลังประชารัฐ หรือเปล่า ไป ฟังการ ในการ สัมภาษณ์ สด จาก เจษฎ์ โทณวณิภ

เลือกตั้ง 62 : เปิด 4ข้อแตกต่างของ "บิ๊กตู่" ต้องระวังหากขึ้นปราศรัยช่วย "พลังประชารัฐ" [คลิป]

รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก เป็นนักวิชาการทางกฎหมาย ให้สัมภาษณ์ผ่าน สปริง 26 ถึงเป็นการหาเสียงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ หัวหน้า คสช. ว่าที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ถนัดการพูดคนเดียวอยู่แล้ว การขึ้นเวทีปราศรัยนั้น จะมีความแตกต่างจากคนอื่นอยู่พอสมควร ถ้าไปนำเอาประเด็นนโยบายของพรรคพลังประชารัฐมาพูดแล้วสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลคสช. แล้วมีการชี้ให้เห็นว่านโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ล้วนมาจากรัฐบาลคสช. แล้วส่อให้เห็นการครอบงำพรรคขาดอิสระ จะเข้าข่ายมาตรา 28 พรรคการเมือง แล้วส่งผลต่อเนื่องไปสู่มาตราการยุบพรรค จึงเป็นสิ่งที่ต้องระวัง ซึ่งการสอดรับนั้นคืออิสระในการกำหนดนโยบายของตัวเอง

 

ส่วนประเด็นการสานต่อนโยบาย นั้นถ้าหากสิ่งนั้นคือความคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ใช่สมาชิกพรรค นั้นคือการชี้นำนั้นเอง ทั้งนี้การปราศรัยนั้นแม้จะหย่อนไปกว่าการดีเบต แต่ก็ใช่ว่าจะพ้นจากการถูกร้องเรียน หรือ จากการถูกจับตามอง เนื่องจากที่ผ่านมา พรรคพลังประชารัฐ นั้นโดนมองตั้งแต่ต้นแล้วว่าคือพรรคของ คสช. จึงเชื่อว่าการพูดของท่านจึงจะต้องโดนจับตามอง แล้วมีคนจ้องร้องเรียนเรียน

 

สำหรับความแตกต่างกับรัฐบาลอื่นๆ  นั้น คือ

1.หลังประกาศพระราชกฤษฎีการเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลชุดอื่นจะการเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์

2.ระบบการเลือกตั้งที่ผ่านมา ไม่เคยมีการเสนอชื่อนายกฯที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคแบบนี้ คนที่ถูกเสนอส่วนใหญ่จะเป็นหัวหน้าพรรค หรือ เบอร์ 1 บัญชีรายชื่อ แต่ก็คือเป็นสมาชิกพรรค

3.เลือกตั้งที่ผ่านมารัฐบาลรักษาการก็เป็นพรรคการเมือง ต่อไปในอนาคตหากได้จัดตั้งรัฐบาลอีกก็ยังเป็นพรรคการเมือง ไม่ได้มีอะไรกระทบ

4.มีกรอบเวลาของรัฐบาลรักษาการเป็นตัวกำหนด จะทำอะไรก็ต้องขออนุญาตกกต. แต่ครั้งนี้ไม่ต้อง แถมยังพ่วงท้ายด้วย มาตรา 44 ของ คสช.

 

ทั้งนี้เนื้อหาที่ พล.อ.ประยุทธ์ ไปพูดหากมีการทำให้คนไทยไม่อยากไปเลือกตั้ง ก็อาจมีความผิดกฎหมายอีกด้วย ก็ต้องระวังไม่ให้คนรู้สึกว่าอยากให้รัฐบาลทหารอยู่ต่อไป

 

การขึ้นเวทีปราศรัยจะมีผลทำให้พรรคพลังประชารัฐมีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น คิดว่าไม่ เพราะจะนำมาซึ่งข้อติติงถ้าพูดไม่ดีและจะมีคนร้องเรียนมาก หากโดนซักถามก็จะมีโอกาสหลุดได้ จึงไม่เชื่อว่าโค้งสุดท้ายแค่ขึ้นปราศรัย จะได้คะแนนมากกว่าการพูดมาตลอด 4-5ปีที่ผ่านมา จะเป็นผลลบมากกว่าบวก ฉะนั้นควรวางตัวในฐานะนายกฯและหัวหน้าคสช. แล้วบริหารราชการแผ่นดิน จนถึงสภาลงมติรับไม้เป็นนายกฯต่อ แต่หากโหวตแล้วไม่ได้ก็ควรยุติบทบาท แบบสวยๆ  ล้างมือในอ่างทองคำแต่มาทำแบบนี้จะปฎิเสธไม่ได้ว่า เกี่ยวข้องพรรคพลังประชารัฐอย่างสูง

ด้านคำถามจากสังคมที่ว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ในทางกฎหมายปกครอง นั้นศาลปกครองได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า นายกฯที่ออกคำสั่งได้ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่รัฐธรรมนูญกำหนดว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นนั้น ไปเทียบกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ และมีกำหนดยกเว้นข้าราชการเมืองไว้ ส่วน คสช.นั้นศาลตีความว่าเป็นคณะบุคคล จึงไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่หัวหน้าคสช.จะเป็นคณะบุคคลด้วยหรือไม่นั้น อันนี้เป็นประเด็นที่ต้องไปคลี่คลาย

related