svasdssvasds

รำลึกคำสั่ง 66/2523 นำไทยรอดจากคอมมิวนิสต์

การอสัญกรรมของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ถือเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ชาติ เพราะท่านได้นำพาประเทศให้รอดพ้นจากการยึดครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ และได้ยุติสงครามระหว่างคนไทยด้วยกันเอง จากคำสั่ง 66 / 2523

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนักเรียนนายร้อยรุ่นที่ 5 และสังกัดเหล่าทหารม้า เคยเข้าสมรภูมิสงครามอินโดจีนระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา และยังเคยร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สองที่เชียงตุงในกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์

รำลึกคำสั่ง 66/2523 นำไทยรอดจากคอมมิวนิสต์ รำลึกคำสั่ง 66/2523 นำไทยรอดจากคอมมิวนิสต์ รำลึกคำสั่ง 66/2523 นำไทยรอดจากคอมมิวนิสต์

หลังสงครามโลก พลเอก เปรม รับราชการอยู่ที่อุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐที่ฟอร์ตน็อกซ์ จากนั้นได้กลับมาคุมกำลังพื้นที่ภาคอีสานหลายปี เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ซึ่งต่อมากองทัพบกจัดตั้งเป็นโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี ก่อนได้เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 และถือว่าคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66 ทับ 2523 ได้กำเนิดแนวทางขึ้นในระหว่างที่พลเอก เปรม ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 นั่นเอง เพราะช่วงเวลานั้น รัฐบาลไทยโดยเฉพาะกองทัพ ต้องเผชิญกับการแทรกซึมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท. ที่กำลังแผ่ขยายอิทธิพล พร้อมๆกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน จนนำไปสู่การปะทะ เข่นฆ่าระหว่างคนไทยด้วยกันเอง

รำลึกคำสั่ง 66/2523 นำไทยรอดจากคอมมิวนิสต์

รำลึกคำสั่ง 66/2523 นำไทยรอดจากคอมมิวนิสต์ รำลึกคำสั่ง 66/2523 นำไทยรอดจากคอมมิวนิสต์

 

เมื่อเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 พลโท เปรม พร้อมคณะทำงาน ประกอบด้วย พลตรี ปฐม เสริมสิน พันเอก หาญ ลีนานนท์ พันเอก เลิศ กนิษฐะนาคะ ตระหนักว่า การจะเอาชนะ พคท.นั้น ไม่สามารถใช้การปราบปรามเพียงอย่างเดียว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวบ้านถูกดึงไปเป็นฐานมวลชน จนไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ จึงต้องใช้วิธีต่อสู้ทางความคิด ดึงเอาประชาชนกลับมาเป็นฐานมวลชนให้ทางการ

กองทัพจึงเริ่มใช้วิธีจัดตั้งชาวบ้านในพื้นที่เป้าหมายเป็นกองกำลังอาสาสมัคร รวมทั้งในพื้นที่กองทัพภาคที่ 4 ที่มี พลโท สัณห์ จิตรปฏิมา เป็นแม่ทัพในขณะนั้น ส่วนในพื้นที่กองทัพภาค 2 พันเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายทหารหนุ่ม และเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนขับเคลื่อนนโยบาย 66 ทับ 2523 ได้เสนอรูปแบบการจัดตั้ง “ทหารพราน” ฝึกมวลชนในพื้นที่ให้เป็นกองกำลังของฝ่ายรัฐ ถือเป็นจุดกำเนิด “ทหารพราน”นับตั้งแต่นั้นมา

รำลึกคำสั่ง 66/2523 นำไทยรอดจากคอมมิวนิสต์

กระทั่งเดือนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 พลเอก เปรม ขยับขึ้นไปเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และในปี 2520 พลเอก เปรม เข้าสู่เวทีการเมืองในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่ามหาดไทยในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ แต่ในด้านการเป็นนายทหารอาชีพ ก็ขยับขึ้นไปเป็นผู้บัญชาการทหารบก ในเดือนตุลาคม 2521 ไม่เพียงเท่านั้น ในเดือนพฤษภาคมปีต่อมา พลเอกเปรม ยังได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย

ระหว่างนั้นกองทัพไทย ยังตัดสินใจส่งพลโท ชวลิต ยงใจยุทธ พันเอก พัฒน์ อัคนิบุตร และพลโท ผิน เกษร ไปพบกับ เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำจีนที่กรุงปักกิ่ง เจรจาให้พรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือ พคจ. ยุติความช่วยเหลือ พคท.ไทย และขอให้จีนยุติการออกอากาศสถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย โดยฝ่ายไทยสัญญาจะสนับสนุนนโยบายของจีนเกี่ยวกับกัมพูชา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2522 สถานีวิทยุที่ออกอากาศจากยูนนานจึงยุติลง พร้อมความช่วยเหลือของจีน ต่อกลุ่ม พคท. ค่อย ๆ ลดลง นำไปสู่ความเสื่อมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

เมื่อพลเอก เกรียงศักดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2523 เดือนมีนาคม ปีเดียวกัน พลเอกเปรม ได้รับแต่งตั้งจากมติสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก

รำลึกคำสั่ง 66/2523 นำไทยรอดจากคอมมิวนิสต์

และในวันที่ 23 เมษายน 2523 พลเอก เปรม ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66 ทับ 2523 เรื่อง “นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์” โดยเน้นการใช้การเมืองนำการทหาร เพื่อยุติสงครามการต่อสู้และแย่งชิงฐานมวลชนกับ พคท. เปิดแนวทางให้ สมาชิก พคท. ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติ และให้เจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติต่ออดีตสมาชิก พคท. อย่างเป็นมิตร เสมือนประชาชนทั่วไป พร้อมๆกับการประกาศนิรโทษกรรมต่อสมาชิก พคท.ที่เข้ามอบตัว คำสั่งที่ 66 ทับ 2523 จึงได้เปลี่ยนสมาชิกและแนวร่วม พคท. มาเป็น ‘ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย’

related