svasdssvasds

กรธ.แจงยิบที่มา ตั้ง กก.สรรหา ส.ว. ชี้ ไม่อยู่ในเจตนารมณ์แต่แรก 

กรธ.แจงยิบที่มา ตั้ง กก.สรรหา ส.ว. ชี้ ไม่อยู่ในเจตนารมณ์แต่แรก 

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

จากกรณีการเปิดรายชื่อคณะกรรมการสรรหา ส.ว. ที่เป็นข่าวไปนั้น ทำให้เกิดคำถามตามมาในสังคมอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องประโยชน์ทับซ้อน จากการที่รายชื่อกรรมการสรรหาฯ บางรายได้เป็น ส.ว. ไปเอง รวมถึง พี่น้อง กรรมการสรรหาบางราย ก็ได้เข้ามาเป็น ส.ว. ด้วยนั้น จนมีคำถามโยงไปถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า การที่มีการตั้งคณะกรรมกรสรรหา ส.ว. ออกมาในลักษณะนี้ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ร่างหรือไม่ ขัดกับเจตนา หรือไม่

ล่าสุด สปริงนิวส์ ได้สอบถามไปยัง ศาสตราจารย์ ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ในฐานะ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดย ศ.ชาติชาย กล่าวว่า แต่แรกเริ่มเดิมที่การร่างรัฐธรรมนูญของกรรมการร่างฯนั้น ไม่มีเร่ืองดังกล่าวรวมอยู่แต่อย่างใด คือไม่มีการกล่าวถึงเรื่องการตั้งคณะกรรมการสรรหา ส.ว. แต่อย่างใดเลย แต่เรื่องเกิดจากคำถามพ่วงที่เปิดโอกาสให้ถามไปตอนทำประชามติ คำถามพ่วงดังกล่าวถามโดย สนช.  เมื่อประชามติกลับมาประชาชนเห็นด้วย กรธ.จึงเขียนเพิ่มเติมไปในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ กรธ.ก็เขียนเพียงแค่ว่า

“ในวาระเริ่มแรก ให้ ส.ว. ประกอบด้วยสมาชิก 250 คน โดยให้ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านต่างๆ เป็นกลางทางการเมือง 9-12 คน ทำหน้าที่สรรหาผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ว. จำนวนไม่เกิน 400 คน เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 194 คน และคัดชื่อสำรองอีก 50 คน”

โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดของการแต่งตั้งคณะกรรมการเอาไว้แต่อย่างใด ซึ่งหากจะถามว่า รายชื่อกรรมการสรรหา ส.ว. ที่ปรากฎออกมานั้นเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ กรธ. หรือไม่ คงตอบได้ว่า คณะกรรมการสรรหาฯ นี้ ไม่ได้มีอยู่ในเจตนารมณ์ของ กรธ. ตั้งแต่แรกแล้ว เพียงแต่เกิดขึ้นมาจาก คำถามพ่วงในการทำประชามติที่ประชาชนเห้นด้วยภายหลังเท่านั้นเอง

คณะที่แหล่งข่าวใน กรธ.อีกท่านหนึ่ง กล่าวในทำนองเดียวกันว่าหลังประชามติออกมา กรธ. ไม่ได้เขียนลงรายละเอียดของการตั้งคณะกรรมการสรรหา ส.ว.ไว้เลย ซึ่งเขียนไปเพียงว่าให้ คสช.ตั้งคณะกรรมการสรรหาที่มีความรู้ประสบการณ์ด้านต่างๆ เป็นกลางทางการเมือง 9-12 คน ทำหน้าที่สรรหา จึงต้องมองเรื่องนี้ให้แยกออกจากกัน ส่วนกรรมการสรรหาฯที่ตั้งมานั้น จะมีความเหมาะสม ถูกต้อง หรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น สังคมน่าจะเห็นได้เองว่าเป็นอย่างไร

related