svasdssvasds

"ดร.สมคิด" นำทีม มอบนโยบาย "ประชารัฐสร้างไทย" นำร่อง 8 จังหวัดภาคเหนือ

"ดร.สมคิด" นำทีม มอบนโยบาย "ประชารัฐสร้างไทย" นำร่อง 8 จังหวัดภาคเหนือ

ดร.สมคิด รองนายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี มอบนโยบายประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน นำร่องส่วนภูมิภาคใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มุ่งหวังยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง สร้างงานสร้างรายได้ให้แต่ละชุมชนให้มีอาชีพอย่างยั่งยืน

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 30 ตุลาคม 2562 ที่อาคารศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานมอบนโยบาย “ประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน” โดยมี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมงานมอบนโยบายในครั้งนี้ โดยมีประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับมอบนโยบายเป็นจำนวนมาก

"ดร.สมคิด" นำทีม มอบนโยบาย "ประชารัฐสร้างไทย" นำร่อง 8 จังหวัดภาคเหนือ

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การมอบนโยบายประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา โดยนำร่องในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อต้องการให้ประชาชนได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มฐานราก โดยมุ่งหวังให้ชุมชนเข้มแข็งมีรายได้เลี้ยงชุมชน รัฐบาลได้ดำเนินการสร้างนโยบายเพื่อยกระดับกลุ่มฐานรากพัฒนาชุมชน

"ดร.สมคิด" นำทีม มอบนโยบาย "ประชารัฐสร้างไทย" นำร่อง 8 จังหวัดภาคเหนือ

สิ่งที่จะต้องดำเนินการคือต้องหาจุดเด่นของชุมชน เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนและต้องการได้รับการพัฒนายกระดับเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มรายได้ หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการสินค้าโอทอป นอกจากนั้นในเรื่องของการท่องเที่ยวชุมชนต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน สิ่งที่จะตามมาหลังจากการท่องเที่ยวคือของฝากของที่ระลึก ซึ่งต้องทำให้เชื่อมโยงกัน เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน

"ดร.สมคิด" นำทีม มอบนโยบาย "ประชารัฐสร้างไทย" นำร่อง 8 จังหวัดภาคเหนือ

เรื่องกองทุนหมูบ้าน ถือเป็นเรื่องหลักของชุมชน สามารถทำได้ง่าย แต่การจะนำเงินของกองทุนออกไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นเรื่องยาก ด้วยนโยบายของภาครัฐประชาชนต้องคิดว่าจะพัฒนาชุมชนของตนเองอย่างไร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพและรายได้ รับบาลพร้อมที่จะสนับสนุน แต่เมื่อได้รับการสนับสนุนแล้วชุมชนจะต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดการท่องเที่ยวจากเดิมที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ ปัจจุบันเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง นักท่องเที่ยวเริ่มให้ความสนใจเดินทางท่องเที่ยวในเมืองรองเพิ่มขึ้น

"ดร.สมคิด" นำทีม มอบนโยบาย "ประชารัฐสร้างไทย" นำร่อง 8 จังหวัดภาคเหนือ

โดยรัฐบาลให้การสนับสนุน เพื่อให้ชุมชนมีรายได้หมุนเวียน อย่างไรก็ตามเมืองหลัก หรือ เมืองรอง ไม่ได้แข่งขันกัน แต่จะช่วยเกื้อหนุนเชื่อมโยงกัน เพื่อให้เกิดความหมุนเวียนของรายได้

นอกจากนั้น รัฐบาลยังช่วยอุดหนุนให้กับผู้มีรายได้น้อย ด้วยการออกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ขณะที่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีรัฐบาลได้ออกนโยบายชิมช็อปใช้ มาเพื่อช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในแต่ละพื้นที่ ชุมชนมีรายได้จากนโยบายดังกล่าว รัฐบาลมีความคาดหวังให้ประชาชนทั่วไปอยู่ดีกินดี ในอนาคตบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอาจจะมีการทำประกันอุบัติเหตุให้กับผู้มีรายได้น้อย

ขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก โดยมุ่งเน้นเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจแบบฐานราก ยกระดับพัฒนาชุมชนระดับฐานราก โดยให้ทุนกับสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้กับชุมชน โดยจะต้องส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนและเกิดรายได้

ด้านนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประชารัฐสร้างไทย ที่รัฐบาลเริ่มดำเนินการในส่วนกลาง โดยในส่วนภูมิภาค เริ่มนำร่องใน 8 จังหวัดภาคเหนือ นโยบายดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ เพื่อทำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยหวังให้ทุกชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมีความยั่งยืน โดยแต่ละชุมชนจะสามารถสร้างรายได้จากอาชีพที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริม โดยภาครัฐและสถาบันการเงินจะเปิดช่องทางให้เกิดการค้าขายได้จริง

โดยมีแหล่งเงินทุน 250,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนสร้างงานสร้างอาชีพ ในรูปแบบประชารัฐสร้างสุขสู่ชุมชน ทั้งในโครงการตลาดนัดประชารัฐสร้างไทย จากการผลิตสู่การค้าขายได้จริง สินเชื่อโฮมสเตย์ สินเชื่อแรงงานและสินเชื่อที่ต้องแก้ไขจากหนี้นอกระบบ มีการสร้างตลาดชุมชนสำหรับประชาชน โดยมีธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเข้าร่วมสนับสนุน

นอจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการค้าออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ เพื่อช่วยร้านค้า เนื่องจากปัจจุบันนักท่องเที่ยวเริ่มไม่พกพาเงินสด กระทรวงการคลัง จึงเห็นความสำคัญกับการใช้จ่ายในรูปแบบอีคอมเมิร์ซ โดยการสร้างเครือข่าย และจะขายออกไปให้ครอบคลุม ซึ่งปัจจุบันร้านค้าขนาดเล็ก เช่น แผงลอย ก็เริ่มมีแล้ว

ขณะเดียวกันกองทุนหมู่บ้านก็เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการประชารัฐ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้เข้ามาเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาสู่การท่องเที่ยว โดยจะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง โดยนำวิถีชีวิตชุมชนมาเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาที่สะสมมานาน โดยเฉพาะในเรื่องความยากจนที่มีความเหลือมล้ำกันในประเทศ จำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยรัฐบาลมีนโยบายที่จะทำประชารัฐสวัสดิการประมาณ 14.6 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่มีภาระค่าใช้จ่าย

สิ่งสำคัญอีกประการคือ ปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบที่ต้องแก้ไข ปัจจุบันทางธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กำลังเตรียมทำโครงการช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ประชาชนไปกู้นอกระบบ โดยประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยการสร้างเครือข่ายธนาคารประชาชนดูแลโดยประชาชนเพื่อชุมชน

ส่วนโครงการชิมช็อปใช้ ออกแบบมาเพื่อช่วยเศรษฐกิจฐานราก ยึดโยงให้การบริโภคไหลเวียน เพื่อร้านค้ามีรายได้จากการใช้จ่าย รอบแรกมีประชาชนใช้ 10 ล้านคน ขณะที่รอบสองมีประชาชนสนใจสมัครเข้าโครงการเป็นจำนวนมาก มีร้านค้า 80,000 ร้านเข้าร่วมโครงการ ซึ่งผลประโยชน์ตกอยู่กับพื้นที่

related