svasdssvasds

"จตุพร" เร่ง "บิ๊กตู่" เยียวยา 5 พัน แนะทุกฝ่ายต้องจับมือร่วมกันสู้ "โควิด19"

"จตุพร" เร่ง "บิ๊กตู่" เยียวยา 5 พัน แนะทุกฝ่ายต้องจับมือร่วมกันสู้ "โควิด19"

"จตุพร" เตือน "บิ๊กตู่" อย่าให้ ประชาชนรอรับเยียวยา 5 พัน นานเกินไป ชี้ถ้าไม่จ่ายเวลาหิว แต่ไปจ่ายตอนอิ่มแล้ว จะทำเสียความรู้สึก ย้ำ ขอทุกฝ่ายวางเรื่องการเมืองไว้ก่อน เพราะมาตรการทางการเมืองไม่สามารถชนะโควิด-19 ได้ ต้องใช้มาตรการทางการแพทย์เท่านั้นจึงจะชนะ

วานนี้ (29มี.ค.63) นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในรายการ ลมหายใจพีซทีวี เวทีทัศน์ โดยย้ำให้ทุกฝ่ายจับมือทำสงครามเอาชนะโควิด-19 ให้ได้ ส่วนการต่อสู้ทางการเมืองควรหยุดพักชั่วคราว เมื่อวิกฤตการแพร่เชื้อไวรัสคลี่คลายหรือยุติลงแล้ว จึงค่อยมาต่อสู้ทางการเมืองกันได้

"เมื่อเราจะเห็นต่างกันอย่างไรในเรื่องโควิด-19 เราต้องรู้จักแยกแยะ เรายังต้องจับมือร่วมกัน เพราะวันนี้ชาติต้องมาก่อน ประชาชนต้องมาก่อน ส่วนร่วมต้องมาก่อน ส่วนความขัดแย้งทางการเมืองเก็บไว้ก่อน ไม่ใช่ว่าวันนี้เห็นด้วยกับรัฐบาลในเรื่องโควิดแล้ว วันหน้าต้องเห็นด้วยอีก แต่วันนี้อำนาจทำสงครามโควิดอยู่ที่รัฐบาล เราจึงต้องสามัคคีเอาชนะโควิด-19 ให้ได้ก่อน จากนั้นจึงมาต่อสู้กัน มารบกันทางการเมืองภายหลัง ซึ่งยังไม่สาย" นายจตุพร เรียกร้อง

"จตุพร" เร่ง "บิ๊กตู่" เยียวยา 5 พัน แนะทุกฝ่ายต้องจับมือร่วมกันสู้ "โควิด19"

นายจตุพร กล่าวถึงการทำสงครามโควิด-19 ว่า รัฐบาลต้องไม่ทำให้คนไทยเสียใจ เพราะจุดเริ่มต้นโควิด-19 จนเป็นต้นเหตุเกิดวิกฤตศรัทธาตามมา คือ เรื่องหน้ากากอนามัยขาดตลาด ซึ่งทำให้ประชาชนเสียใจ แล้วกระทบต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาล เนื่องจากตลาดปกติขาดแคลน หายาก แต่ไปงอกในตลาดมืด สิ่งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คงรู้ว่า มีใครบ้างอยู่ในขบวนการค้าหน้ากากในตลาดมืด และควรจัดการอย่าง

"จตุพร" เร่ง "บิ๊กตู่" เยียวยา 5 พัน แนะทุกฝ่ายต้องจับมือร่วมกันสู้ "โควิด19"

อีกทั้ง ภายหลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุนเฉินฯ แล้ว กลับเกิดสถานการณ์ไข่ขาดตลาดขึ้นมาอีก ทั้งที่การผลิตไข่ทั้งประเทศมีประมาณ 40 ล้านฟองเศษ เพียงพอกับความต้องการ แต่ไข่กลับขาดตลาด แล้วยังขึ้นราคาอีก ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับหน้ากากอนามัยเลย เมื่อเห็นประชาชนต่อแถวซื้อหน้ากากมาแล้ว ยังมาเห็นต่อแถวซื้อไข่กันอีก ด้วยเหตุนี้ กระทรวงพาณิชย์ต้องรับผิดชอบ

"จตุพร" เร่ง "บิ๊กตู่" เยียวยา 5 พัน แนะทุกฝ่ายต้องจับมือร่วมกันสู้ "โควิด19"

"ภายใต้สถานการณ์คนไทยหวาดวิตกกัน และกำลังยากลำบากแล้ว ความผิดพลาดเช่นนี้ควรจะเกิดขึ้นด้วยหรือ? ดังนั้น 2 กรณีทั้งหน้ากากและไข่ ถ้าปล่อยปละละเลยกันอีก ผมว่านายกฯ ต้องพิจารณากระทรวงพาณิชย์กันแล้ว เพราะเรื่องเหล่านี้กระทบกระเทือนจิตใจคนไทย"

ส่วนมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากรัฐบาลที่จะเยียวยาผลกระทบให้คนละ 5 พันบาท นาน 3 เดือน คิดไว้จำนวน 3 ล้านคนนั้น นายจตุพร กล่าวว่า ยอดคนลงทะเบียนวันแรกต่อเนื่องถึงวันที่สองที่ผ่านมา (28 - 29 มี.ค.) พุ่งไปถึง 14 ล้านคน และยังไม่มีทีท่าหยุด ซึ่งอาจทะลุไปถึง 20 ล้านคนก็เป็นไปได้

ถ้าจำนวนคน 14 ล้านคน มีคุณสมบัติครบ และรัฐต้องจ่ายเดือนละ 5 พันบาทแล้ว จะใช้งบประมาณเดือนละ 7 หมื่นล้าน ถ้า 3 เดือน รัฐต้องจ่ายในโครงการนี้เป็นงบประมาณ 2.1 แสนล้าน หรือหากต้องจ่าย 20 ล้านคน เฉลี่ยตกเดือนละประมาณแสนล้าน รวมเป็นเงิน 3 แสนล้าน

ดังนั้น รัฐต้องพักงบการลงทุนสารพัดไว้ก่อน แล้วนำงบกลางจากทุกที่ในปีนี้มาช่วยทำมาตรการเยียวยาประชาชน ส่วนการกู้เงินเอาไว้ทีหลัง อีกทั้งการคัดกรองคุณสมบัติของรัฐนั้น จะใช้เวลากันนานแค่ไหนกว่าจะได้จ่ายเงินให้คนเดือดร้อนได้ ตนคาดว่าจะไม่ทันการณ์กับความเดือดร้อนของประชาชน

"ถ้าเวลาหิวจะตายไม่มีตัง ยังไม่จ่าย (เงินเยียวยา) แต่ไปจ่ายเอาตอนอิ่มแล้ว จะทำให้เสียความรู้สึกกันไปอีก เวลานี้คนตกงานดิ้นรนกลับบ้านต่างจังหวัด เพราะไม่รู้จะใช้ชีวิตในกรุงเทพอย่างไร แต่อยู่บ้านยังมีข้าวกินอยู่"

นายจตุพร กล่าวว่า แม้หลายประเทศรัฐออกมาตรการจ่ายเงินเดือนให้ 75% หรือครึ่งหนึ่ง แต่สำหรับคนไทยแล้ว กำลังจะประสบกับปัญหาเฉพาะหน้าในช่วงใกล้สิ้นเดือน คือ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จะทำอย่างไร คนตกงานจะเอาที่ไหนมาจ่าย

"ผมว่ารัฐบาลควรประกาศมาตรการนี้ให้ชัดเจน โดยทำเป็น 2 ระยะ และระยะละ 3 เดือนตามหลักคิดของรัฐบาล ในระยะแรกแยกพักค่าน้ำ ค่าไฟ รัฐบาลรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพ รวมทั้งค่าเช่าบ้าน รัฐต้องคิดว่าจะออกให้เท่าไร ถ้าเจรจาเอกชนให้พักค่าเช่าได้เป็นเรื่องประเสริฐสุด"

นอกจากนี้ อีกระยะหนึ่งคือ การผ่อนบ้าน ผ่อนรถ รัฐบาลต้องให้พักการชำระหนี้ เพราะประชาชนไม่มีรายได้ ถ้ารัฐรับผิดชอบแบบนี้จะทำให้คนตกงานในสถานการณ์ยากลำบากนี้ได้หายใจคล่องคอกันมากยามต้องเผชิญหน้าวิกฤตโควิด

"ทุกสิ่งทุกอย่างในระยะที่บ้านเมืองเผชิญหน้าวิกฤตแบบนี้ ล้วนเป็นเรื่องเล็กหมด และเงินก็เป็นเรื่องเล็ก แต่ในกรณีตลาดหุ้น ตลาดทุน รัฐหาทางไปอุ้มได้ ต้องใช้งบประมาณมากกว่ามาตรการเยียวยาประชาชนมากมาย เมื่อจ่ายให้ตลาดหุ้นรัฐไม่คิดมาก ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จ่ายให้ประชาชนด้วยตัวเลขคนเดือดร้อน 14 ล้านคน หรือ 20 ล้านคน รัฐอย่าคิดมาก"

นายจตุพร กล่าวว่า นอกจากประชาชนต้องสู้กับโควิด-19 แล้ว ยังสู้กับความหิวโหย ร้ายสะดวกซื้อบางแห่งมีตำรวจเฝ้า สภาพแบบนี้สิ่งสำคัญคือการสร้างความสบายใจให้ประชาชน ส่วนบรรดาเจ้าสัวทั้งหลายไม่ต้องบริจาคเงิน ขอเพียงลดกำไรให้ประชาชนจะเกิดประโยชน์กว่าและไม่ขาดทุนด้วยในช่วง 3 เดือนในความยากลำบากนี้ แล้วประชาชนยังสัมผัสได้อย่างจริงๆ

อีกทั้ง ย้ำว่า ขอทุกฝ่ายวางเรื่องการเมืองไว้ก่อน เพราะมาตรการทางการเมืองไม่สามารถชนะโควิด-19 ได้ ต้องใช้มาตรการทางการแพทย์เท่านั้นจึงจะชนะ โดยตนเสนอเช่นนี้ไม่ได้เข้าข้างรัฐบาล หรือเป็นสมุนรัฐบาล แต่ด้วยสามัญสำนึกว่าการทำสงครามกับโควิดต้องอาศัยมาตรการทางการแพทย์ ต้องเชื่อแพทย์จึงจะชนะ

"เมื่อมาตรการต่างๆที่ประกาศมา ถ้าประชาชนร่วมมือ เราชนะโควิดได้ วันนี้คนไทยควรปรบมือให้แพทย์ พยาบาลอย่างยิ่ง รวมถึงรัฐอย่าให้บุคลากรเหล่านี้ได้มีความเดือดร้อนกับเครื่องมือทางการแพทย์ที่จะป้องกันตัวเอง และอย่าให้แพทย์ พยาบาลได้บ่นเป็นเด็ดขาด" นาย จตุพร กล่าว

เรื่องน่ารู้จาก  COVID-19

แพทย์แนะ มาตรการต้องมีในที่ชุมนุมชน รับมือไวรัสโควิด-19

4 ทริค รับมือ COVID-19 มฤตยูร้ายสายพันธุ์ใหม่ ให้อยู่หมัด

วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

related