svasdssvasds

ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน?

ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน?

ค่าแรงขั้นต่ำ กลายนโยบายหลักที่หลายพรรคการเมืองใช้หาเสียง หวังเรียกคะแนนให้มากที่สุด เมื่อช่วงก่อนเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ วันนี้จะมาย้อนรอยนโยบายนี้กับความหวังของคนใช้แรงใน "วันแรงงาน"

ค่าแรงขั้นต่ำ วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานแห่งชาติของทุกปี แรงงาน-ลูกจ้างหลายประเทศก็จะได้หยุดพักในซึ่งประเทศไทยเอง มีผู้แรงงานกว่า 38 ล้านคน ซึ่งผู้ใช้แรงงานเหล่านี้ ต่างคาดหวังค่าแรง ที่จะปรับให้สูงขึ้น เพื่อใช้ดำรงชีวิต ส่งเสียงเงินหาเลี้ยงครอบครัว

ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน? ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน?

สำหรับค่าแรงขั้นต่ำที่จะปรับขึ้นก็ต้องเป็นการออกกฎจากทางภาครัฐ ซึ่งแต่ละปีก็จะมีการปรับขึ้นบ้างเป็นบางจังหวัด ขณะเดียวกันความหวังของผู้ใช้แรงงาน ก็อยากให้ปรับสูงขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ

ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน?

ปัจจัยอีกอย่างหนึ่ง ที่เป็นความหวังของผู้ใช้แรงงานที่จะได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น นั่นก็คือ นโยบายจากพรรคการเมือง ซึ่งสอดคล้องกับเมื่อช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาที่มีการเลือกตั้ง หลายพรรคการเมืองต่างใช้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำเป็นแรงจูงใจ เพื่อเรียกคะแนนเสียงจากผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ โดยแต่ละพรรคมีนโยบายดังนี้

ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน?

เริ่มที่พรรคพลังประชารัฐ พรรคที่ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยครั้งนั้นนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค ได้ชูนโยบายในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง

โดยมี 5 นโยบายด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในนโยบายนั้น คือ การผลักดันค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาท ,ปริญญาตรีเงินเดือน 20,000 บาท อาชีวะ 18,000 บาท

ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน?

มาต่อกันที่พรรคฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย ก้ได้เสนอนโยบายออกมาก่อนพรรคพลังประชารัฐ ด้วยการจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท การันตีเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี 18,000 บาทต่อเดือน

ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน?

ส่วนพรรคที่มีประวัติการก่อตั้งยาวนาน อย่าง ประชาธิปัตย์ ก็ได้เสนอนโยบายประกันรายได้ของแรงงาน ขั้นต่ำ 120,000 บาท (400 บาทต่อวัน) เช่นกัน

ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน?

นอกจากนี้ ยังมีพรรคขนาดเล็กที่เข้าลงชิงชัยในสนามเลือกตั้ง ก็หยิบยกชูประเด็นค่าแรงขั้นต่ำมาเป็นตัวชูโรง ไม่ว่าจะเป็นพรรคสามัญชน เสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 500 บาทต่อวัน พร้อมเสนอจะแก้กฎหมายให้คนงานแบบเหมาช่วง สามารถเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ และพรรคประชานิยม ที่เสนอค่าแรงขั้นต่ำ 360 บาททั่วประเทศ

หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง และได้มีการจัดตั้งรัฐบาล ล่าสุดต้นปีนี้ คณะกรรมการค่าจ้าง ได้มีมติให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 5-6 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยกระทรวงแรงงานได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารับทราบแล้ว จากนั้นได้มีการประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่นี้ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

สำหรับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 5-6 บาท ทำให้ค่าจ้างแรงงานของแต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็น 10 ระดับ คือ

1. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 336 บาท คือ จังหวัดชลบุรี และภูเก็ต

2. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 335 บาท คือ จังหวัดระยอง

3. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 331 บาท คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

4. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 330 บาท คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา

5. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 325 บาท คือ จังหวัดกระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุบลราชธานี

6. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 324 บาท คือ จังหวัดปราจีนบุรี

7. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 323 บาท คือ จังหวัดกาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนคร และสมุทรสงคราม

8. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 320 บาท มี 21 จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานี และอุตรดิตถ์

9. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 315 บาท มี 22 จังหวัด คือ จังหวัดกำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และอุทัยธานี

10. ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 313 บาท คือ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา

ย้อนรอย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' รวมพรรคช่วงหาเสียงให้แรงงาน เป็นจริงหรือแค่ฝัน?

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำไปแล้ว แต่แรงงานหลายคนยังมองว่ายังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ทำให้ต้องยอมรับว่า สิ่งที่เคยรู้เป็นเพียงฝัน แต่ตอนนี้ต้องอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง

related